การพัฒนารูปแบบการจัดการความปลอดภัยในการจราจร โดยคณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยทางถนน อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ
คำสำคัญ:
การพัฒนารูปแบบ, การจัดการความปลอดภัยในการจราจร, ความปลอดภัยทางถนนบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการความปลอดภัยในการจราจร โดยคณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยทางถนน อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ โดยประยุกต์ใช้วงจรการจัดการคุณภาพ 4 ขั้นตอน คือ การวางแผน การปฏิบัติ การสังเกตการณ์ และการสะท้อนผล กลุ่มตัวอย่าง คือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานทีมแกนนำระดับอำเภอ (Core team) ได้แก่ ปลัดอำเภอฝ่ายความมั่นคง สาธารณสุขอำเภอ หัวหน้าห้องอุบัติเหตุฉุกเฉิน ผู้รับผิดชอบงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ผู้กำกับการสถานีตำรวจภูธร เจ้าพนักงานป้องกัน และบรรเทาสาธารณภัยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แขวงการทาง บริษัทกลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ กำนันหรือผู้ใหญ่บ้านหรือแกนนำชุมชน และประธานอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในเขตอำเภอเมืองศรีสะเกษ จำนวน 45 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยแบบสอบถามการดําเนินการตามนโยบายป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน ภายใต้ยุทธศาสตร์หลัก 5 ด้าน (5 Es) และ แบบการประเมินการป้องกันการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนนระดับอำเภอ (D-RTI PLUS) ระหว่างเดือน ธันวาคม 2563 ถึง เดือน กรกฎาคม 2564 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนานำเสนอ ด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบน นําข้อมูลที่ได้จากการจดบันทึกการสนทนากลุ่มการสัมภาษณ์ การสังเกตการณ์มีส่วนร่วม การถอดเทป มาจัดหมวดหมู่ และสรุปประเด็นสำคัญแล้วนําเสนอด้วยการอธิบาย บรรยาย และอภิปราย ตามสภาพความเป็นจริง และตามปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นจริง ซึ่งทั้งหมดเป็นการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัย พบว่าการพัฒนารูปแบบการจัดการความปลอดภัยในการจราจรโดยคณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยทางถนน ประกอบด้วย (1) การจัดตั้งคณะกรรมการศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยทางถนนอำเภอ และการกำหนดบทบาทหน้าที่ (2) การวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหา และจุดเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุทางถนน (3) การจัดทำแผนพัฒนาการป้องกันการเสียชีวิตและลดอุบัติเหตุทางถนน (4) การจัดการข้อมูล การเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาด้านการบาดเจ็บ (5) การสร้างเครือข่ายข้อมูลข่าวสารด้านอุบัติเหตุในระดับอำเภอ (6) พัฒนาศักยภาพทีมสอบสวนการบาดเจ็บทางถนนในระดับอำเภอ (7) การจัดการจุดเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุทางถนน (8) การสร้างการรับรู้การป้องกันอุบัติเหตุทางถนน จากการศึกษาครั้งนี้ การนำข้อมูลมาใช้เพื่อบริหารจัดการโดยใช้ข้อมูลจากการวิเคราะห์สาเหตุการเสียชีวิต และข้อมูลเชิงประจักษ์อื่นมาเป็นจุดเชื่อมและ สร้างความมีส่วนร่วมของหน่วยงานนั้น สามารถนำไปสู่การแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุจราจรในจุดเสี่ยงได้ ดังนั้นผู้บริหารจึงควรให้การสนับสนุนและผลักดันให้มีการพัฒนาการใช้ข้อมูลระบบสารสนเทศในการแก้ปัญหาอุบัติเหตุในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง
References
Kemmis, S & McTaggart, R. (1988). The Action Research Planer (3rd ed.). Victoria : Deakin University.
กาญจนา ยังขาว และสุทธิลกัษณ์ หนูรอด. (2547) ประเมินผลมาตรการแก้ไขปัญหาจราจรทางบก.
นนทบุรี : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2547.
ทบวงมหาวิทยาลัย. (2545). เอกสารประกอบการฝึกอบรมโครงการอบรมนิสิตอาสาสมัครรักษา ความ
ปลอดภัยด้านการจราจร (สปจร). กรุงเทพฯ : ทบวงมหาวิทยาลัย
พิทักษ์พงษ์ ครองชนม์. (2546). ทัศนคติและพฤติกรรมการใช้หมวกนิรภัยของผู้ขับขี่รถยนต์ในเขต เทศบาล
เมืองละมุงจังหวัดชลบุรี.วิทยานิพนธปริญญารัฐประศาสนศาสตร มหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยบูรพา.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
1. บทความหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารศาสตร์สาธารณสุขและนวัตกรรม ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
2. บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารศาสตร์สาธารณสุขและนวัตกรรม