การพัฒนากลไกการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมสำหรับคณะกรรมการประสานงานสาธารณสุขระดับอำเภอและสหวิชาชีพด้านสุขภาพในการจัดการยุทธศาสตร์สุขภาพ อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • วิรงรอง สิงห์ยะบุศย์ กลุ่มงานพัฒนายุทธศาสตร์สาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

การพัฒนา, กลไกการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม, คณะกรรมการประสานงานสาธารณสุขระดับอำเภอ, สหวิชาชีพด้านสุขภาพ, การจัดการยุทธศาสตร์สุขภาพ

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้มุ่งพัฒนากลไกการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมสำหรับคณะกรรมการประสานงานสาธารณสุขระดับอำเภอ (คปสอ.)และสหวิชาชีพด้านสุขภาพในการจัดการยุทธศาสตร์สุขภาพ อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด แบ่งออกเป็น 3 ระยะ โดยระยะที่ 1 เป็นการศึกษาสถานการณ์การจัดการยุทธศาสตร์สุขภาพ ระยะที่ 2 เป็นการพัฒนากลไกการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมสำหรับ คปสอ.ซึ่งเป็นทีมบริหารเครือข่ายบริการสุขภาพและสหวิชาชีพด้านสุขภาพในการจัดการยุทธศาสตร์สุขภาพ ปีงบประมาณ 2564 ระยะที่ 3 เป็นการศึกษาผลการพัฒนาฯ ระยะเวลาในการวิจัยรวม 9 เดือน กลุ่มตัวอย่างคือ คปสอ.และสหวิชาชีพด้านสุขภาพ โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 57 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยระยะที่ 1 เป็นแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล และแบบรายงานสถานการณ์การจัดการยุทธศาสตร์สุขภาพ การวิจัยระยะที่ 2 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย หลักสูตรการฝึกอบรมหลักสูตรนักจัดการยุทธศาสตร์สุขภาพอำเภอเสลภูมิ ซึ่งผู้วิจัยประยุกต์มาจากหลักสูตรการพัฒนาความเชี่ยวชาญด้านนโยบายและยุทธศาสตร์สุขภาพของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข แบบสังเกตกระบวนการฝึกอบรมหลักสูตรนักจัดการยุทธศาสตร์สุขภาพ และ แบบสอบถามการมีส่วนร่วมในการจัดการยุทธศาสตร์สุขภาพ ส่วนการวิจัยระยะที่ 3 ใช้แบบประเมินผลการจัดการยุทธศาสตร์สุขภาพ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 68.4 อายุเฉลี่ย 45.4 ปี จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 82.5 คปสอ.และสหวิชาชีพด้านสุขภาพทุกคนมีประสบการณ์ในการจัดการยุทธศาสตร์สุขภาพมากกว่า 7 ปี จากสถานการณ์การจัดการยุทธศาสตร์สุขภาพที่ผ่านมาพบว่ามีจุดแข็งในการดำเนินงาน 3 ด้าน ได้แก่ 1)ผู้บริหารเป็นผู้รวมพลังในขับเคลื่อนให้เกิดการเปลี่ยนแปลง  2) การนำยุทธศาสตร์ที่กำหนดไว้แปลงเป็นแผนงานหรือโครงการที่ปฏิบัติได้ 3) การเชื่อมโยงและบูรณาการ และมีจุดอ่อนที่สำคัญ คือ ขาดกลไกการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมในการควบคุมกำกับและติดตามผลอย่างเป็นระบบ และพบว่า                   ผลการพัฒนายุทธศาสตร์สุขภาพ ปีงบประมาณ 2560 - 2563 พบว่ามีผลการประเมินภาพรวมร้อยละ 67.61, 69.22, 76.74 และ 84.73 ตามลำดับ ซึ่งจัดเป็นลำดับที่ 11, 13, 12, 14 จาก 20 อำเภอของจังหวัดร้อยเอ็ด ได้แก่ และพบว่ารูปแบบการพัฒนากลไกการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมประกอบด้วย  6 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การคัดเลือก คปสอ.และสหวิชาชีพด้านสุขภาพ 2) การร่างหลักสูตรการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพ คปสอ.และสหวิชาชีพด้านสุขภาพในการจัดการยุทธศาสตร์สุขภาพ 3) การฝึกอบรม             เชิงปฏิบัติการ 4) การวางแผนพัฒนาและการจัดระบบการควบคุมกำกับงาน  5) การดำเนินการพัฒนาตามแผน และ 6) การประเมินผลการพัฒนาหลักการพัฒนา ซึ่งพบว่า คปสอ.และสหวิชาชีพด้านสุขภาพ มีส่วนร่วมในการจัดการยุทธศาสตร์ โดยรวมอยู่ในระดับสูง ค่าเฉลี่ย 1.38 ซึ่งมีส่วนร่วมมากที่สุด คือ ระดับการให้ข้อมูลข่าวสารข้อเท็จจริง ค่าเฉลี่ย 1.43 และมีส่วนร่วมน้อยที่สุดคือระดับการเสริมอำนาจแก่สมาชิกองค์กรให้เป็นผู้ตัดสินใจ ค่าเฉลี่ย 1.27 ส่วนผลการพัฒนายุทธศาสตร์ รอบ 9 เดือน ปีงบประมาณ 2564 พบว่าภาพรวมผ่านเกณฑ์ระดับ 5 คะแนน จำนวน 44 ตัวชี้วัด จากทั้งหมด 50 ตัวชี้วัด คิดเป็นร้อยละ 88.0 โดยยุทธศาสตร์ที่มีคะแนนประเมินสูงสุดคือยุทธศาสตร์บุคลากรเป็นเลิศ ร้อยละ 100 และยุทธศาสตร์ที่มีคะแนนต่ำสุดคือยุทธศาสตร์บริการเป็นเลิศ ร้อยละ 81.3  ดังนั้น คปสอ.และสหวิชาชีพด้านสุขภาพอำเภอเสลภูมิควรเร่งรัดค้นหาส่วนขาดและปัจจัยที่เป็นอุปสรรค                ในการดำเนินงานเพื่อวางแผนพัฒนาการจัดการยุทธศาสตร์สุขภาพแบบมีส่วนร่วมให้บรรลุเป้าหมายระดับสูงสุดต่อไป

Author Biography

วิรงรอง สิงห์ยะบุศย์, กลุ่มงานพัฒนายุทธศาสตร์สาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด

พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ กลุ่มงานพัฒนายุทธศาสตร์สาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด

References

Boonchom, S.(1992). Principles of preliminary research. 3rd edition, Bangkok :
Suwiriyasas.Paitoon.(in Thai)

Department of Mental Health, Ministry of Public Health.(2011). Participatory training manual.
4th edition, Bangkok : Wongkamon Productions Co., Ltd., 2011.(in Thai)

Kalaya, W.(1999). Statistical Analysis: Statistics for Administration and Research. 6th edition.
Bangkok: Chulalongkorn University Printing House.(in Thai)

Nirand,Ch. (2021). Strategies and guidelines for promoting public participation in community
development. Retrieved on January 16, 2021
from http://digi.library.tu.ac.th/thesis/po/1330/03chapter2.pdf.(in Thai)

Office of the Public Sector Development Commission (OPDC).(2018). Participatory
government administration. Retrieved on January 8, 2021 from
https://www.opdc.go.th/content/Mjc4Nw.(in Thai)

Prasert, B.(2016). Factors influencing the implementation of policies and strategies for
health development of District Health Coordinating Committee, Bueng Kan
Province. Research report.(in Thai)

Roi Et Provincial Health Office.(2020).Documents for health government inspection,
1/2020.(in Thai)

Selaphum District Health Office.(2019). Summary of Health Performance, Selaphum
District, Roi Et Province of the year 2019.(in Thai)

Seree, P.(2005). Strategies for Concentrated Community,Civil Socilty.Bangkok: The project of
Life University, Institute of Learning for All.(in Thai)

Somkid, P.(2013). Implementation of the School of Learning Reform to Improve the Quality
of Learners. Bangkok: Office of the National Education Commission Office of the
Prime Minister.(in Thai)

Strategy and Planning Division. Office of Permanent Secretary, Ministry of Public Health
(2018). Strategic Plan, Ministry of Public Health. Fiscal Year 2018.(in Thai)

Supak, P.(2013). Principles of Qualitative Research Writing. Retrieved on February 19, 2021,
from http://www.nur.psu.ac.th/about/Graduate.(in Thai)

Tishsana, K.(2014). A study of educational management guidelines of educational
institutions in the form of administration in a school-based. Bangkok: Research project, support by Office of the National Education Commission, Prime Minister's Office. Research Report.(in Thai)

Uthai, B.(1999). A Study of the Guidelines for Administration and Educational Management
of Educational Institutions in a School-Based Management Model. Bangkok: A
research project sponsored by the Office of the National Education Commission.
Office of Prime Minister. Research Report.(in Thai)

Yannaphat,S.(2014).Secrets of doing research in the classroom. Bangkok. Aksornthai Press
Limitted.(in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-30