การศึกษาภาวะความเครียดของนักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาทันตสาธารณสุข ชั้นปีที่ 3 ตามประสบการณ์ความเครียดที่ผ่านการฝึกปฏิบัติงานรายวิชาคลินิกทันตกรรมผสมผสาน 1 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี

ผู้แต่ง

  • ภัทรา ทวีผล คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี
  • ภาสกร ศรีไทย

คำสำคัญ:

ความเครียด, นักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาทันตสาธารณสุข, รายวิชาคลินิกทันตกรรมผสมผสาน 1

บทคัดย่อ

           การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานวิธี (Mixed Method Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความเครียดและปัจจัยที่ส่งผลต่อความเครียดของนักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาทันตสาธารณสุข ชั้นปีที่ 3 ตามประสบการณ์ความเครียดที่ผ่านการฝึกปฏิบัติงานรายวิชาคลินิกทันตกรรมผสมผสาน 1 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี ปีการศึกษา 2561 จำนวนประชากร 36 คน โดยใช้แบบวัดความเครียดในช่วงก่อน ระหว่าง และหลังการฝึกปฏิบัติงานรายวิชาทันตกรรมคลินิกผสมผสาน 1 และแบบสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสังเคราะห์ผลการสัมภาษณ์เชิงลึก

          ผลการวิจัยปรากฏว่านักศึกษาส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 86.1 อายุเฉลี่ย 21.67 ปี ร้อยละ 50 ค่าใช้จ่ายต่อเดือน 2,500-5,000 บาท ร้อยละ 50 ระดับความเครียดช่วงก่อนการฝึกปฏิบัติงานอยู่ในระดับปานกลาง (µ = 3.50 ± 0.81) ซึ่งความเครียด ระดับความเครียดช่วงระหว่างการฝึกปฏิบัติงานอยู่ในระดับสูง (µ = 4.39 ± 0.59) ระดับความเครียดช่วงหลังการฝึกปฏิบัติงานอยู่ในระดับต่ำ (µ = 1.89 ± 0.74) และจากการสังเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเครียดของนักศึกษา ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคล ด้านวิชาการ ภาระงานที่รับผิดชอบช่วงที่ฝึกปฏิบัติงานคลินิก อาจารย์ผู้ควบคุมการฝึกปฏิบัติงานคลินิก ผู้ป่วย สภาพแวดล้อมในการฝึกปฏิบัติงาน และเพื่อน

References

ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ.2558 (2558, 13 กันยายน). ราชกิจจนุเบกษา. เล่มที่ 132 ตอนพิเศษ 295ง. หน้า 2-11.

รุ่งอรุณ กระมุทกาญจน์. (2551). ปัจจัยที่มีผลต่อความเครียดในการฝึกปฏิบัติงานคลินิกทันตกรรมในวิทยาลัยของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงสาธารณสุขสาสตร์ (ทันตสาธารณสุข) ชั้นปีที่ 2 รุ่นที่ 10 ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2551 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี. รายงานการวิจัย, วิทยาลัยสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี.

วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี. (2559). คู่มือนักศึกษาใหม่วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี. สุพรรณบุรี: วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดสุพรรณบุรี.

อตินุช มาลากุล ณ อยุธยา. (2546). ภาวะวิตกกังวล และซึมเศร้าในนิสิต คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยhttp://cuir.car.chula.ac.th/bitstream/123456789/9427/1/Atinuch.pdf

อภิญญา ยุทธชาวิทย์, & เทพไทย โชติชัย. (2563). ความวิตกกังวลต่อการเรียนวิชา คลินิกผสมผสาน 1 ของนักศึกษา หลักสูตรสาธารณสุขศาสตร บัณฑิต สาขาวิชาทันตสาธารณสุข. Thai Dental Nurse Journal, 31(2), 54-64.

อุกฤษฏ์ นันทพรไพจิตร. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับความเครียดในการฝึกปฏิบัติงานรายวิชาทันตกรรคลินิกผสมผสานและผลการเรียนรายวิชาทันตกรรมคลินิกผสมผสาน นักศึกษาหลักสูตร สาธารณสุขศาสตรบัณฑิต (ทันตสาธารณสุข) วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร. รายงานการวิจัย, วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดตรัง.

Elani, H. W., Allison, P. J., Kumar, R. A., Mancini, L., Lambrou, A., & Bedos, C. (2014). A systematic review of stress in dental students. J Dent Educ, 78(2), 226–242.

Wilson, V.J., Rayner, C.A., Gordon, N.A., Shaikh, A.B., Crombie, K., Yasin-Harnekar, S. (2015). Perceived stress among dental students at the University of the Western Cape. SADJ, 70(6), 255-259.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-07-16