การตรวจวัดระดับเสียงกระแทกบริเวณพื้นที่ชุมชนใกล้โครงการก่อสร้างอุโมงค์ทางเดินลอดถนน กรุงเทพมหานคร

作者

  • Punpaphatpron Bunprom Faculty of Health Science, Siam Technology College
  • Sukon Khawgrib Faculty of Health Science, Siam Technology College
  • Benchamart Thongkhimuk Faculty of Health Science, Siam Technology College
  • Umarat Sirijaroonwong Faculty of Public and Environmental Health, Huachiew Chalermprakiet University

关键词:

เสียงกระแทก, เครื่องจักรก่อสร้าง, การก่อสร้างอุโมงค์ใต้ดิน

摘要

ปัจจุบันในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครมีการก่อสร้างอุโมงค์จำนวนหลายแห่งล้วนเป็นการก่อสร้างที่อยู่ในเขตชุมชนเมืองมีประชาชนอาศัยอยู่หนาแน่น งานวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบถึงระดับเสียงกระแทกจากเครื่องจักรก่อสร้าง กรณีศึกษาโครงการก่อสร้างอุโมงค์ทางเดินลอดถนนแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานครและเปรียบเทียบความแตกต่างระดับเสียงกระแทกของเครื่องจักรก่อสร้างต่อชุมชนใกล้เคียงขณะมีและไม่มีกิจกรรมการก่อสร้าง ได้ดำเนินการตรวจวัดระดับเสียงกระแทก Lc.peak 5 min กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง และเสียงพ.ศ. 2559 ด้วยมาตรวัดระดับเสียงชนิด Integrating Sound Level ในระยะก่อสร้างงานฐานราก เป็นเวลา 8 ชั่วโมง รวม 7 วัน บริเวณพื้นที่ก่อสร้างและชุมชนรวม 4 จุด รวมข้อมูลทั้งหมด 756 ข้อมูลต่อจุด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าต่ำสุด (Min) ค่าสูงสุด (Max) และค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{x}) ใช้สถิติเชิงอนุมาน Independent t-test วิเคราะห์ข้อมูลความแตกต่างระหว่างกลุ่ม
ผลการศึกษาพบว่า ผลการเปรียบเทียบระดับเสียงกระแทก Lcpeak 5 min บริเวณพื้นที่ก่อสร้าง Area A พบว่า ในช่วงที่มีกิจกรรมการก่อสร้างโครงการ มีค่าระดับเสียงกระแทกเฉลี่ยเท่ากับ 99.9 dB(C) บริเวณชุมชนใกล้พื้นที่ก่อสร้าง Area A มีค่าระดับเสียงกระแทกเฉลี่ยเท่ากับ 103. 7 dB(C) และบริเวณชุมชนใกล้พื้นที่ก่อสร้าง ช่วงที่ไม่มีกิจกรรมการก่อสร้าง มีค่าระดับเสียงกระแทกเฉลี่ยเท่ากับ 103.3 dB(C) เมื่อทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ย Lcpeak 5 min บริเวณชุมชนใกล้พื้นที่ก่อสร้าง มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าภายในบริเวณพื้นที่ก่อสร้าง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 (P < .001) และค่าเฉลี่ย Lcpeak 5 min บริเวณชุมชนใกล้พื้นที่ก่อสร้างระหว่างช่วงที่มีและไม่มีกิจกรรมการก่อสร้าง พบว่า ไม่แตกต่างกันเนื่องจากพื้นที่ภายนอกในชุมชนมีรถสัญจรไปมาเป็นครั้งคราวเนื่องจากมีการปิดถนน มีเพียงรถยนต์เจ้าหน้าที่ภายในโครงการ รถจักรยานยนต์ และรถบรรทุกที่เข้าออกภายในโครงการก่อสร้าง AreaB ช่วงที่มีกิจกรรมการก่อสร้าง มีค่า LC.eak สูงสุด 134.6 dB(C ภายในบริเวณพื้นที่ก่อสร้างมีค่าเฉลี่ย Icpeak 5 min สูงกว่าบริเวณชุมชนใกล้พื้นที่ก่อสร้าง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 (P < .001) และค่เฉลี่ย Lc.peak 5 min ในชุมชนระหว่างช่วงที่มีกิจกรรมการก่อสร้าง มีค่าสูงกว่าช่วงที่ไม่มีกิจกรรมการก่อสร้าง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 (P < .001) ดังนั้น ควรมีการเฝ้าระวังหรือทำการออกแบบมาตรการลดเสียงกระแทกที่เกิดจากการตอกเสาเข็ม การขุดเจาะพื้นคอนรีตที่เหมาะสมเพื่อป้องกันเสียงที่เกิดจากการทำงานไมให้มีระดับเสียงเพิ่มมากขึ้น การใช้วัสดุซับแรงกระแทกในหน้างาน และลดเสียงที่ทางผ่านของเสียง โดยใช้กำแพงกันเสียง (Noise barrier) เพื่อให้เสียงจากการทำงานออกสู่ชุมชนภายนอกน้อยลง

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

参考

Nitidetch K. Prioritizing risks of underground tunnel construction with tunnel boring machine using hybrid multiple criteria decision-making approach. J Sci Technol. 2021;23(3):12-24. (in Thai)

Ballesteros MJ, Berlanga MDF, Quintana S, Ballesteros JA, Gonzalez I. Noise emission evolution on construction sites. Measurement for controlling and assessing its impact on the people and on the environment. Build Environ. 2010;45(3):711-17.

Krongsakulsuk U.Ministerial regulations prescribing standards for management and safety related to occupational health, work environment, heat, light, and noise in 2016. In Academic seminar papers. presented at the 32nd National Occupational Safety and Health Fair; 2018 Jun 29; Nonthaburi: Ministry of Labor; 2016.

Pollution Control Department. Method for measuring basic sound levels [internet]. 2022 [cited 2024 May 24].Available from: http://www.pcd.go.th/law/27921. (in Thai)

Lertsuvanpisan P. Research report on the study of noise pollution at regular intervals and time. Urgently affecting listening to traffic police Muang district police station Phitsanulok province. Pibulsongkram Rajabhat University. 2009. (in Thai)

Phetpraphan R. Evaluation of Noise Levels and Noise-Induced Hearing Loss of Workers at a Stone Milling Factory in Nakornsithammarat Province Safety and Health Journal. 2015;8(27):13-23. (in Thai)

Zhang Q, Liu Z, Tan J. Prediction of geological conditions for a tunnel boring machine using big operational data. Automation in Construction [internet]. 2019;100:73-83.

Huo J. Application of a small-timescale fatigue, crack-growth model to the plane stress/strain transition in predicting the lifetime of a tunnel-boring-machine cutter head. Engineering Failure Analysis. 2017;71(1):11-30.

Liu W, Zhao T, Zhou W, Tang J. Safety risk factors of metro tunnel construction in China: An integrated study with EFA and SEM. Safety Science;105(2):98-113.

Ministry of Labor. Ministerial regulations specifying standards for safety administration and management. Occupational health and working environment regarding heat, light and noise 2016 [internet]. 2022 [cited 2022 Mar 7]. Available from: http://cste.sut.ac.th/csteshe/wp-content/lews/Law06.p

MGR. 5 Interesting facts about "Na Phra Lan Tunnel", an underpass connecting tourist attractions Sanam Luang - Wat Phra Kaew - City Pillar Shrine [Internet]. 2023 [cited 2024 Apr 26]. Available from:https://mgronline.com/travel/detail/9660000001721 (in Thai)

Jitchana S. Measurement of indoor sound level in residential building nearby the construction area: a case study of Burapha University, Sakaeo campus. RMUTSB Acad J. 2017;5(2):146-57 (in Thai)

Phromthung C. A study of noise levels. and noise within the area of Naresuan University, province Phitsanulok. [dissertation]Phitsanulok: Naresuan University;2015. (in Thai)

##submission.downloads##

已出版

2024-05-28