คุณสมบัติทางเคมีกายภาพ และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของพิกัดยาตรีสาร

作者

  • Supattra Klangprapun Thai Traditional Medicine Program, Faculty of Thai Traditional and Alternative Medicine, Ubon Ratchathani Rajabhat University, Ubon Ratchathani 34000
  • Sirirak Modteas Thai Traditional Medicine Program, Faculty of Thai Traditional and Alternative Medicine, Ubon Ratchathani Rajabhat University, Ubon Ratchathani 34000
  • Rattana Bunkhun Thai Traditional Medicine Program, Faculty of Thai Traditional and Alternative Medicine, Ubon Ratchathani Rajabhat University, Ubon Ratchathani 34000
  • Saran Chaweerak Thai Traditional Medicine Program, Faculty of Thai Traditional and Alternative Medicine, Ubon Ratchathani Rajabhat University, Ubon Ratchathani 34000

关键词:

พิกัดยาตรีสาร, คุณสมบัติทางกายภาพ – ทางเคมี, ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ

摘要

            พิกัดยาตรีสารประกอบด้วยสมุนไพร 3 ชนิดได้แก่ รากเจตมูลเพลิงแดง (Plumbago indica L.) เถาสะค้าน (Piper wallichi (Miq.) Hand. - Mazz.) และรากช้าพลู (Piper sarmentosum Roxb.) เป็นยาแผนโบราณที่มีรสร้อน ช่วยเพิ่มความอบอุ่นแก่ร่างกาย กระจายเลือดลมและกระตุ้นการไหลเวียนเลือด การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณสมบัติทางเคมีกายภาพของพิกัดยาตรีสารตามวิธีที่ระบุใน Thai Herbal Pharmacopoeia (THP) หาปริมาณสารสำคัญด้วยเทคนิค HPLC และเพื่อทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของพิกัดยาตรีสารด้วยวิธี DPPH, FRAP assay และหาปริมาณฟีนอลรวมด้วยวิธี Folin Ciocaltu ผลการศึกษาคุณสมบัติทางเคมีกายภาพของพิกัดยาตรีสาร พบว่า ปริมาณสารสกัดด้วยน้ำและปริมาณสารสกัดด้วยเอทานอล มีค่าไม่น้อยกว่าร้อยละ 10.98 w/w และ 9.13 w/w ตามลำดับ ปริมาณเถ้ารวม เถ้าที่ไม่ละลายในกรด และปริมาณความชื้น มีค่าไม่มากกว่าร้อยละ 10.23 w/w, 2.15 w/w และ 7.73 w/w ตามลำดับ การวิเคราะห์หาปริมาณสารออกฤทธิ์ที่พบในพิกัดยาตรีสารมีค่าเฉลี่ยของปริมาณสารพลัมบาจินและพิเพอรีน คิดเป็นร้อยละ 0.784 ± 0.036 และ 1.202 ± 0.043 ตามลำดับ ส่วนการทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH พบว่าพิกัดยาตรีสารมีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ โดยแสดงค่า IC50 เท่ากับ 37.99±0.23 µg/mL และการทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี FRAP assay มีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระเท่ากับ 0.27±0.15 mg Trolox/g crude extract ส่วนการหาปริมาณฟีนอลรวมในพิกัดตรีสาร พบปริมาณฟีนอลรวมเท่ากับ 38.14±0.53 mg GAE/g crude extract ผลจากการศึกษาในครั้งนี้สามารถนำไปใช้เป็นข้อกำหนดคุณสมบัติทางเคมีกายภาพของพิกัดยาตรีสาร เพื่อเป็นประโยชน์ในการควบคุมคุณภาพและเพื่อให้ได้ข้อมูลสนับสนุนในการพัฒนาต่อยอดพิกัดยาตรีสารให้เป็นยารักษาโรคหรือเป็นผลิตภัณฑ์ด้านสุขภาพต่อไป

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

参考

ชุติวรรณ ไชยชนะ, ประวิทย์ อัครเสรีนนท์, ทัพพ์เทพ ทิพยเจริญธัม, สุกก์สลิล บูรณะทรัพย์ขจร, ณัชกร ล้ำเลิศกิจ. การศึกษาเปรียบเทียบตามหลักเภสัช 4 ของสมุนไพรธาตุดินในตำราโรคนิทาน ฉบับพระยาธิบดี (กล่อม) กับคัมภีร์โรคนิทาน ในตำราเวชศาสตร์ฉบับหลวงรัชกาลที่ 5. ว. ดำรงวิชาการ 2563;19(1):171–93.

นภาพร พัฒนาเจริญชัย, อรุณพร อิฐรัตน์. ฤทธิ์ต้านการแพ้ของพิกัดยาตรีกฏุก ตรีผลา และตรีสาร. ธรรมศาสตร์เวชสาร 2560;17(4):548–56.

บุหรัน พันธุ์สวรรค์. อนุมลมูลอิสระ สารต้านอนุมูลอิสระ และการวิเคราะห์ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ. ว. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2556;21(3):275–86.

กรวิกา จารุพัฒน์. ความก้าวหน้าในการพัฒนาตำรายาสมุนไพรไทย. ใน: มณฑกา ธีรชัยสกุล, บรรณาธิการ. สารสกัดและการควบคุมคุณภาพสมุนไพร:ความท้าทายของอุตสาหกรรมสมุนไพรไทย. กรุงเทพฯ; 2562. หน้า 48–9.

กุลธิดา อำพันธ์ทอง, ธันย์ชนก ขวัญปัก, พรสถิต มีสถิต. การพัฒนาแหล่งผลิตและผลิตภัณฑ์สุขภาพจากสมุนไพรเขตสุขภาพที่ 9. ว. อาหารและยา. 2561;25(1):40–49.

Andriani Y, Ramli NM, Syamsumir DF, Kassim MN, Jaafar J, Aziz NA, Marlina L, et al. Phytochemical analysis, antioxidant, antibacterial and cytotoxicity properties of keys and cores part of Pandanus tectorius fruits. Arab J Chem 2019;12(8):3555–64.

Ayoola GA, Coker HA, Adesegun SA, Adepoju-Bello AA, Obaweya K, Ezennia EC, et al. Phytochemical screening and antioxidant activities of some selected medicinal plants used for malaria therapy in Southwestern Nigeria. Tropical J Pharm Res 2008;7(3):1019–24.

Samejo MQ, Memon S, Bhanger MI, Khan KM. Comparison of chemical composition of Aerva javanica seed essential oils obtained by different extraction methods. Pak J Pharm Sci 2013;26(4):757–60.

Gowri SS, Vasantha K. Antibacterial and Antioxidant Capacities of Tanjong (Mimusops elengi L.) Leaf Extract. Int J PharmTech Res 2010;2(2):1569–73.

Department of Medical Sciences Ministry of Public Health. Thai herbal pharmacopoeia 2019 Volume I. Bangkok; Department of Medical Sciences Ministry of Public Health, 2019.

Klangprapun S, Buranrat B, Caichompoo W, Nualkaew S. Pharmacognostical and physicochemical studies of Enhalus acoroides (LF) Royle (Rhizome). Pharmacogn J 2018;10(6s):s89–94.

รุจิลักขณ์ รัตตะรมย์, อินทัช ศักดิ์ภักดีเจริญ, เบญญทิพย์ คงสิบ. การศึกษามาตรฐานตำรับยาสมุนไพรเบญจกูลที่จำหน่ายในประเทศไทย. ว. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 2560;36(5):578–88.

Chaweerak S, Padumanonda T, Luecha L. Phytochemical screening and antioxidant activity of “um-ma-ruek-ka-va-tee” herbal formula. Interprof J Heal Sci 2021;19(1):16–24.

อนันทศักดิ์ พิรักษา, ชนัญญู สีกา, เนตรนรินทร์ พันสีทุม, สุกัญญา ปัดถา, ปิยะพงษ์ ชุมศร, และคนอื่นๆ. ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็ง HepG2 ของสารสกัดเอทานอลจากใบและยอดของผักคราดหัวแหวน. ว. วิทยาศาสตร์สุขภาพแห่งประเทศไทย. 2565;4(1):33–43.

ตวงพร เข็มทอง, นวลพรรณ ไพบูลย์ศรีนครา, นันทนา กลิ่นสุนทร. การศึกษาคุณภาพของเมล็ดข่อยแห้ง. ว. กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ 2559;58(1):11–6.

Department of Medical Sciences Ministry of Public Health. Thai herbal pharmacopoeia 2019 Volume II. Bangkok; Department of Medical Sciences Ministry of Public Health, 2019.

นพมาศ สุนทรเจริญนนท์, นงลักษณ์ เรืองวิเศษ. คุณภาพเครื่องยาไทย จากงานวิจัยสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน. พิมพ์ครั้งที่ 1. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ: กรุงเทพฯ; 2551.

นัดตา สุขเกษม, กนกวรรณ จารุกำจร, วรัญญา จตุพรประเสริฐ. การวิเคราะห์ปริมาณของพลัมบาจินในสารสกัดรากเจตมูลเพลิงแดงด้วยเทคนิคโครมาโทกราฟีของเหลวสมรรถนะสูงวัฏภาคย้อนกลับ. ว. เภสัชศาสตร์อีสาน 2559;12(3):52–60.

Pandey A, Tripathi S. Concept of standardization, extraction and pre phytochemical screening strategies for herbal drug. J. of Pharmacognosy and Phytochemistry 2014;2(5):115-9

ศุภชัย ชุ่มชื่น. ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและปริมาณฟีนอลิกรวมของสารสกัดน้ำใบสำลีงาในน้ำมันมะพร้าว. ว. มฉก. วิชาการ 2563;24(2):155–60.

Li Z, Chinnathambi A, Ali Alharbi S, Yin F. Plumbagin protects the myocardial damage by modulating the cardiac biomarkers, antioxidants, and apoptosis signaling in the doxorubicin‐induced cardiotoxicity in rats. Environmental Toxicology 2020;35(12):1374–85.

Haq IU, Imran M, Nadeem M, Tufail T, Gondal TA, Mubarak MS. Piperine: A review of its biological effects. Pharmacological Research 2021;25(2):680–700.

##submission.downloads##

已出版

2022-12-23