ผลของโปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพด้านอาหารและโภชนาการด้วยกลยุทธ์ของกฎบัตรออตตาวาต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหาร และดัชนีมวลกายของผู้สูงอายุในชุมชน

作者

  • Mali Photipim Division of Public Health, Faculty of Public Health, Vongchavalitkul University, Nakhon Ratchasima 30000
  • Wasugree Chavengkun Home Economics Program, Faculty of Science and Technology, Nakhon Ratchasima Rajabhat University 30000
  • Paspisit Pholsripradit Health Promotion Department, Nakhon Ratchasima Provincial Public Health Office, Nakhon Ratchasima 30000
  • Valanchaya Ketbumroong Division of Public Health, Faculty of Public Health, Vongchavalitkul University, Nakhon Ratchasima 30000
  • Jun Norkaew Division of Public Health, Faculty of Public Health, Vongchavalitkul University, Nakhon Ratchasima 30000
  • Wararat Sungwalee Division of Public Health, Faculty of Public Health, Vongchavalitkul University, Nakhon Ratchasima 30000
  • Jiraporn Patumyo Division of Public Health, Faculty of Public Health, Vongchavalitkul University, Nakhon Ratchasima 30000

关键词:

กลยุทธ์ของกฎบัตรออตตาวาชาร์เตอร์, ผู้สูงอายุ, อาหารและโภชนาการ, รูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพ

摘要

              การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพด้านอาหารและโภชนาการด้วยกลยุทธ์ของกฎบัตรออตตาวา ต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหาร และดัชนีมวลกายของผู้สูงอายุตำบลหมื่นไวย อ.เมือง จ.นครราชสีมา กลุ่มตัวอย่างจำนวน 70 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 35 คน กลุ่มทดลองได้เข้าร่วมโปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพด้านอาหารและโภชนาการด้วยกลยุทธ์ของกฎบัตรออตตาวา ระยะเวลา 12 สัปดาห์ กิจกรรมประกอบด้วย การให้ข้อมูลข่าวสาร การให้ความรู้ การสร้างนโยบายในการสร้างเสริมสุขภาพด้านอาหารและโภชนาการของผู้สูงอายุ การสำรวจ และพัฒนา ตำรับอาหารพื้นถิ่นในชุมชน การสนับสนุนการนำเมนูอาหารพื้นถิ่นไปใช้ประกอบอาหารบริโภคในชุมชน การประเมินผลอย่างมีส่วนร่วม กลุ่มควบคุมได้รับบริการสุขศึกษาตามระบบสุขภาพปกติ เก็บข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพด้านอาหารและโภชนาการผู้สูงอายุและแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา Paired t-test และ Independent t-test

              ผลการวิจัย พบว่า  1) หลังได้รับโปรแกรม กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยด้านพฤติกรรมการบริโภคอาหารเพิ่มขึ้นกว่าก่อนการทดลองและมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.05) 2) หลังได้รับโปรแกรม กลุ่มทดลองมีค่าดัชนีมวลกายลดลงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <0.05) จากผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า โปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพด้านอาหารและโภชนาการด้วยกลยุทธ์ของกฎบัตรออตตาวา มีประสิทธิภาพในการพัฒนาพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ถูกต้องเหมาะสม และส่งผลให้ค่าดัชนีมวลกายเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี สามารถนำแนวทางนี้ไปใช้ในการพัฒนาการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชนอื่น ๆ ต่อไป

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

参考

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2562 [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 14 มีนาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://www.dop.go.th/download/knowledge/th1610945020-322_0.pdf

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. บทสรุปสำหรับผู้บริหาร การสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2564 [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 14 มีนาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://www.nso.go.th

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. รายงานสุขภาพคนไทย 2562 “สื่อสังคม สื่อสองคม”. นครปฐม: อัมรินทรพริ้นติ้ง แอนด์พับลิชชิ่ง; 2562.

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. สถิติสาธารณสุข พ.ศ.2562. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2562.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา. ข้อมูลทั่วไปและสถานะสุขภาพ จังหวัดนครราชสีมา [อินเตอร์เน็ต] 2561 [เข้าถึงเมื่อ 10 ธันวาคม 2561]. เข้าถึงได้จาก: http://www.korathealth.com/korathealth/download

กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลหมื่นไวย องค์การบริหารส่วนตำบลหมื่นไวย. แผนสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลหมื่นไวย. นครราชสีมา: องค์การบริหารส่วนตำบลหมื่นไวย; 2561.

WHO. The 1st International conference on health promotion, Ottawa, 1986 [internet]. 2020 [cite 2021 Mar 14]. Available from: https://www.who.int/teams/health-promotion/enhanced-wellbeing/first-global-conference

Hungle P. Nursing research: Principles and methods. 3rd ed. Philadelphia: Lippincott. 1987.

ชนากานต์ ชมภูนุช, ยุวดี เกตสัมพันธ์, สุทธิพล อุดมพนธุรัก, จุฬาภรณ์ พูลเอี่ยม, ปรีชญา พลเทพ, และคนอื่นๆ. ขนาดกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเชิงปริมาณ. เอกสารประกอบการประชุม “ชุมชนนักปฏิบัติ” คณะแพทย์ศาสตร์ ศิริราชพยาบาล กรุงเทพมหานคร: โรงพยาบาลศิริราช; 2554.

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. การส่งเสริมสุขภาพแนวใหม่ [อินเตอร์เน็ต]. 2564 [เข้าถึงเมื่อ 14 มีนาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://advisor.anamai.moph.go.th/main.php?filename=JHealthVol21No3_11

ววรรณวิมล เมฆวิมล. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการรับประทานอาหารของผู้สูงอายุ จังหวัดสมุทรสงคราม[วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา; 2555.

อุมาพร นิ่มตระกูล. การศึกษาวิจัยปัจจัยที่มีผลต่อภาวะโภชนาการในผู้สูงอายุตําบลหนองหาร อําเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม. ว.การส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมล้านนา 2560;7(2):63-70.

ฐนิต วินิจจะกลู, จินต์จุฑา ประสพธรรม, ญาณิศา พุ่มสุทัศน์, ภาสกร สุระผัด. การทบทวนความทางวิชาการเกี่ยวกับโภชนาการและการกำหนดอาหารในผู้สูงอายุ. ว.โภชนาการ 2563;55(1):41-52.

นิธิรัตน์ บุญตานนท์, ศินาท แขนอก, นารีรัตน์ สุรพัฒนชาติ. ประสิทธิผลของการส่งเสริมความรอบรู้ด้านโภชนาการในผู้สูงอายุที่เข้ารับบริการในแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 9 นครราชสีมา. ว.ศูนย์อนามัยที่ 9: ว.ส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม 2562;13(30):1-14.

นันท์พัสพร สุขสานต์, จิราพร เกศพิชญวัฒนา. ผลของโปรแกรมส่งเสริมการกำกับตนเองต่อพฤติกรรมการบริโภคและขนาดรอบเอวของผู้ป่วยสูงอายุโรคเบาหวานที่มีภาวะอ้วน. ว.แพทย์นาวี 2560;4(3):85-102.

กันตพร ยอดใชย, ผาณิกา ทองสง. ผลของโปรแกรมส่งเสริมภาวะโภชนาการต่อพฤติกรรมสุขภาพด้านโภชนาการและภาวะโภชนาการในผู้สูงอายุโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มีภาวะขาดสารอาหาร. ว.พยาบาลสงขลานครินทร์ 2562;39(4):1-15.

ทิพย์สุคนธ์ กิจรุ่งโรจน์, พัชรี คมจักรพันธ์, แสงอรุณ อิสระมาลัย. ผลของโปรแกรมสนับสนุนการเรียนรู้ด้านโภชนาการต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารและระดับความดันโลหิตในสมาชิกชมรมผู้สูงอายุที่ควบคุมภาวะความดันโลหิตสูงไม่ได้. ว.เครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2561;5(1):179-94.

มะลิ โพธิพิมพ์, วลัญช์ชยา เขตบำรุง, จุน หน่อแก้ว, จิรวุฒิ กุจะพันธ์. ประสิทธิผลของโปรแกรมสร้างเสริมสุขภาพชมรมผู้สูงอายุมะค่า ตำบลบ้านโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. ว.มฉก.วิชาการ 2561;22(43-44):86-98.

เรียม นมรักษ์. ผลของโปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพครอบครัวต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารในผู้สูงอายุน้ำหนักเกิน. ว.พยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2560;29(1):25-35.

ผาณิกา ทองสง. ผลของโปรแกรมส่งเสริมภาวะโภชนาการต่อพฤติกรรมสุขภาพด้านโภชนาการและภาวะโภชนาการในผู้สูงอายุโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มีภาวะขาดสารอาหาร [วิทยานิพนธ์]. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2561.

จันทราภรณ์ คำก๋อง, นพวรรณ เปียซื่อ, กมลรัตน์ กิตติพิมพานนท์. ผลของโปรแกรมควบคุมน้ำหนักโดยใช้การสนับสนุนของกลุ่มและชุมชนต่อภาวะโภชนาการและอาการปวดเข่าของผู้สูงอายุน้ำหนักเกินที่มีอาการปวดเข่า. ว.พยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2560;29(3):8-18.

##submission.downloads##

已出版

2022-12-23