การสำรวจปัญหาและพฤติกรรมการใช้ยา ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและสมุนไพรของผู้สูงอายุ กรณีศึกษาชุมชนศีรษะจรเข้น้อย จังหวัดสมุทรปราการ

作者

  • ปิยะวัน วงษ์บุญหนัก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
  • ปวีณา ว่องตระกูล คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
  • หรรษา มหามงคล คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
  • วรัญญา เนียมขำ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

关键词:

ผู้สูงอายุ, ยาแผนปัจจุบัน, ยาแผนโบราณ, ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร, สมุนไพร, ทัศนคติ

摘要

วิจัยเชิงสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและพฤติกรรม รวมทั้งทัศนคติของผู้สูงอายุ ในชุมชนศีรษะจรเข้น้อยที่มีต่อยา ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและสมุนไพร โดยมีกลุ่มตัวอย่างคือผู้สูงอายุ ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป อาศัยในตำบลศีรษะจรเข้น้อย โดยการสุ่มแบบตามสะดวกจำนวน 325 ราย เก็บ ข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์โดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยและผู้นำในชุมชนร่วมกันสร้างขึ้น ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ ร้อยละ 75.1 มีโรคประจำตัว โดยร้อยละ 57.4 มีโรค ประจำตัวหนึ่งโรค โรคที่พบบ่อยสามอันดับแรก คือ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และโรคไขมัน ในเลือดสูง ผู้สูงอายุร้อยละ 81.1 ระบุว่าสามารถควบคุมอาการของโรคได้ดี และดูแลการจัดยาด้วย ตนเอง (ร้อยละ 63.1) ผู้สูงอายุ ร้อยละ 22.5 มียาเหลือใช้เมื่อถึงกำหนดพบแพทย์ ทั้งนี้พบปัญหา พฤติกรรมการใช้ยา เช่น การลืมรับประทานยา (ร้อยละ 35.7) การซื้อยาเพิ่มเอง (ร้อยละ 21.2) การปรับ ขนาดยา (ร้อยละ 9.6) และการแบ่งยากันรับประทาน (ร้อยละ 13.2) กลุ่มตัวอย่างใช้ยาแผนโบราณ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารและสมุนไพรเพื่อรักษาโรค จำนวนร้อยละ 19.1 ร้อยละ 14.2 และร้อยละ 62.2 ตามลำดับ โดยผู้แนะนำผู้สูงอายุให้ใช้ยาแผนโบราณและผลิตภัณฑ์ เสริมอาหารเป็นสมาชิกในครอบครัวหรือเพื่อนบ้านและคนรู้จัก ในขณะที่การใช้สมุนไพรเป็นการใช้ตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่อนามัย และพยาบาล ทั้งนี้พบว่า ผู้สูงอายุเพียงร้อยละ 7.7 แจ้งให้แพทย์ ที่ทำการรักษาทราบว่าได้ใช้ยาแผนโบราณ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารหรือสมุนไพรร่วมกับยาแผนปัจจุบัน และยังพบว่า กลุ่มผู้สูงอายุในชุมชนศีรษะจรเข้น้อยมีทัศนคติเชิงบวกต่อผลิตภัณฑ์สุขภาพ โดยเฉพาะ ยาแผนปัจจุบัน

##plugins.generic.usageStats.downloads##

##plugins.generic.usageStats.noStats##

参考

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สำนักส่งเสริมสถาบันครอบครัว สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กลุ่มการวิจัยและสารสนเทศ. (2556) ข้อมูลสถิติน่ารู้ เพื่อการ
วิเคราะห์มิติครอบครัว (2556). กรุงเทพมหานคร : กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.

ชนัตถา พลอยเลื่อมแสง และคณะ. (2554) รายงานวิจัย เรื่องการพัฒนารายการยาเพื่อใช้คัดกรองและลดโอกาสเกิดปัญหาจากการใช้ยาในผู้สูงอายุ. นนทบุรี : สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.

ชื่นจิตร กองแก้ว, อุไรวรรณ ชัยชนะวิโรจน์ และชไมพร กาญจนกิจสกุล. (2557) รายงานวิจัย เรื่องการใช้ยาในผู้สูงอายุไทยเขตภาคเหนือตอนล่างประเทศไทย (Drug Use in Thai Elderly in
Lower Northern Region of Thailand). นนทบุรี : มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

นภาพร ชโยวรรณ, มาลินี วงษ์สิทธิ์ และจันทร์เพ็ญ แสงเทียนฉาย. (2532) รายงานผลการวิจัยโครงการวิจัยผลกระทบทางเศรษฐกิจสังคม และประชากรผู้สูงอายุในประเทศไทย.
กรุงเทพมหานคร : สถาบันประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปัทมา ว่าพัฒนวงศ์, ปราโมทย์ ประสาทกุล และสุรีย์พร พันพึ่ง. (2556) รายงานโครงการ การศึกษาวิเคราะห์ ผลกระทบเชิงนโยบายต่อการพัฒนาประเทศ จากผลการคาดประมาณประชากร
ของประเทศไทย พ.ศ. 2553 – 2583. นครปฐม : สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

วิวัฒน์ ถาวรวัฒนยงค์. (พฤศจิกายน - ธันวาคม 2555) “การสำรวจยาเหลือใช้และปัจจัยที่เป็นสาเหตุกรณีศึกษาผู้ป่วยที่เป็นโรคเรื้อรังตำบลหนองปากโลง อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม” วารสาร
วิชาการสาธารณสุข. 21 (6) หน้า 1140-1147.

สุรเดช ดวงทิพย์สิริกุล และคณะ. (23 เมษายน 2557) โครงการสำรวจสุขภาวะผู้สูงอายุไทย ปี 2556 ภายใต้ แผนงานส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุและผู้พิการ. [ออนไลน์] แหล่งที่มา : http://
www.ucbp.net/wp-content/uploads/2014/09/การสำรวจสุขภาวะผู้สูงอายุไทย.pdf (7 กรกฎาคม 2558)

สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2557ก) การสำรวจพฤติกรรมการดูแลรักษาตนเองด้วยแพทย์แผนไทยและสมุนไพรของครัวเรือน พ.ศ. 2556.
[ออนไลน์] แหล่งที่มา : http://service.nso.go.th/nso/nsopublish/themes/files/herb56.pdf (7 กรกฎาคม 2558)

สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2557ข) รายงานผลเบื้องต้นสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2557. [ออนไลน์] แหล่งที่มา : https://www.msociety.
go.th/article_attach /14494/18145.pdf (15 กุมภาพันธ์ 2559)

อมรา ทองหงส์, กมลชนก เทพสิทธา และภาคภูมิ จงพิริยะอนันต์. (2555) รายงานการเฝ้าระวังโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง พ.ศ. 2555. นนทบุรี : สำนักระบาดวิทยา กองควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.

ศูนย์ข้อมูลประเทศไทย. (2558) “จำนวนประชากรใน ตำบลศรีษะจระเข้น้อย” ตำบลศีรษะจรเข้น้อยกิ่งอำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ. [ออนไลน์] แหล่งที่มา: http://samutprakarn.
kapook.com/กิ่งบางเสาธง/ศรีษะจระเข้น้อย (7 กรกฎาคม 2558)

##submission.downloads##

已出版

2016-12-27