ความสัมพันธ์ระหว่างระดับน้ำตาลในเลือด ความเครียด กับอาการเหนื่อยล้า ของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง
关键词:
โรคหลอดเลือดสมอง, อาการเหนื่อยล้า, ระดับน้ำตาลในเลือด, ความเครียด摘要
การวิจัยเชิงบรรยายนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระดับน้ำตาลในเลือด ความเครียด กับอาการเหนื่อยล้าของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โดยใช้กรอบแนวคิดของ Lenz et al. ร่วมกับการทบทวนวรรณกรรม กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่ได้รับการวินิจฉัยครั้งแรก ที่มี อาการตั้งแต่ 3 เดือนแต่ไม่เกิน 3 ปี อายุระหว่าง 20-59 ปี จำนวน 120 ราย ที่มารับบริการ ณ หอผู้ป่วยนอก แผนกอายุกรรมและศัลยกรรมระบบประสาท โรงพยาบาลแพร่และโรงพยาบาลลำปาง ระหว่างเดือน กรกฎาคม ถึง เดือนตุลาคม พ.ศ. 2560 กลุ่มตัวอย่างได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ เครื่องตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด (dextrostix; DTX) แบบสอบถาม ความเครียด และแบบสอบถามอาการเหนื่อยล้า ซึ่งผ่านการทดสอบความเที่ยงของเครื่องมือได้ค่า สัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาค (Cronbach’s alpha coefficient) เท่ากับ .83 และ .86 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติสหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson correlation)
ผลการวิจัย พบว่า ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองร้อยละ 37.5 ( = 3.62, SD = 1.17) มีอาการ เหนื่อยล้า ระดับน้ำตาลในเลือดสูงและความเครียดมีความสัมพันธ์ทางบวกกับอาการเหนื่อยล้าของผู้ป่วย โรคหลอดเลือดสมอง (r=.32, p< .05 และ r=.68, p<.05 ตามลำดับ) สรุปผล : ผลการวิจัยนี้แสดงความสัมพันธ์ของปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับอาการเหนื่อยล้าของผู้ป่วยโรค หลอดเลือดสมอง ในอนาคตควรมีการศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเกิดอาการเหนื่อยล้า และพัฒนา โปรแกรมการพยาบาลเพื่อแก้ไขสาเหตุของอาการเหนื่อยล้าของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองต่อไป
##plugins.generic.usageStats.downloads##
##submission.downloads##
已出版
##submission.howToCite##
期
栏目
##submission.license##
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพและสุขภาวะ
ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ และคณาจารย์ท่านอื่นๆในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว