การพัฒนาระบบควบคุมคุณภาพการตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (CBC) โดยประยุกต์ใช้ Sigma metric ในห้องปฏิบัติการผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลสมเด็จ พระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา สภากาชาดไทย

ผู้แต่ง

  • พรสวรรค์ หิรัญวงศ์ งานห้องปฏิบัติการผู้ป่วยนอก ฝ่ายเวชศาสตร์ชันสูตร โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา สภากาชาดไทย

คำสำคัญ:

ความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด, ระบบควบคุมคุณภาพ, Sigma metrics

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบควบคุมคุณภาพการตรวจวิเคราะห์ความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (completed blood count; CBC) โดยนำค่า Sigma metric มาประยุกต์ใช้ในงานห้องปฏิบัติการผู้ป่วยนอก ฝ่ายเวชศาสตร์ชันสูตร โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา สภากาชาดไทย เพื่อเป็นการวางแผนการควบคุมคุณภาพอย่างมีประสิทธิภาพ โดยประเมินคุณภาพของรายการการวิเคราะห์ CBC 7 รายการ ได้แก่ การนับจำนวนเม็ดเลือดแดง การนับจำนวนเม็ดเลือดขาว การนับจำนวนเกล็ดเลือด การตรวจความเข้มข้นของฮีโมโกลบิน การตรวจความเข้มข้นของเม็ดเลือดแดง การตรวจปริมาตรของเซลล์เม็ดเลือด และค่าเฉลี่ยน้ำหนักของฮีโมโกลบิน ด้วยเครื่องนับเม็ดเลือดอัตโนมัติ Sysmex รุ่น XN-1000 โดยใช้สารควบคุมคุณภาพ 3 ระดับ เมื่อพิจารณาค่า Sigma metric ของแต่ละรายการการตรวจ และคำนวณเปอร์เซ็นต์ ของค่า Sigma metric พบว่า รายการตรวจที่มีค่า Sigma metric อยู่ในช่วง 5-6 คิดเป็น 14.29%, อยู่ในช่วง 4–5 คิดเป็น 42.86%  และน้อยกว่า 4 คิดเป็น 42.86%  จากนั้น เลือกกฎที่เหมาะสมโดยอาศัยวิธีอย่างง่าย (rule of thumb) รวมทั้งหาสาเหตุและแนวทางแก้ไขรายการตรวจที่ค่า Sigma metric น้อยกว่า 4 ซึ่งพบว่า รายการตรวจที่มีค่า Sigma metric มากกว่า 4 ขึ้นไป เพิ่มขึ้น 28.57% เมื่อทำการศึกษาจำนวนการเกิดนอกการควบคุม (out of control) พบว่า วิธีการควบคุมคุณภาพโดยใช้ Westgard Sigma Rules สามารถลดขั้นตอนการทำการควบคุมคุณภาพภายใน เมื่อเปรียบเทียบกับวิธีการควบคุมคุณภาพโดยใช้ Westgard multirules ดังนั้น การนำค่า Sigma metric มาประยุกต์ใช้ในการควบคุมคุณภาพจะช่วยประเมินคุณภาพของเครื่องตรวจวิเคราะห์ แก้ไขคุณภาพการตรวจวิเคราะห์ได้ดีขึ้น อีกทั้งยังลดภาระงานในการควบคุมคุณภาพภายในได้ ข้อมูลจากการศึกษานี้จึงเป็นประโยชน์ และสามารถใช้เป็นแนวทางสำหรับห้องปฏิบัติการในการวางแผนการควบคุมคุณภาพ เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์

Downloads

Download data is not yet available.

References

Westgard JO. Westgard rules and multirules [Internet]. Wisconsin: Paulo Pereira; 2019; [cited 2020 Jan 20]. Available from: http://www.westgard.com/mltirule.htm

Westgard JO. Internal quality control: planning and implementation strategies. [Internet]. 2003 [cited 2020 Jan 15]; 40(6):593 – 661. Available from: https://journals.sagepub.com/doi/abs/10.1258/000456303770367199

จุฑาพร เพิ่มเขตการณ์. การนำ Six sigma มาใช้เพื่อควบคุมคุณภาพการตรวจวิเคราะห์ในงานเคมีคลินิก สำนักงานชันสูตรสาธารณสุข สำนักอนามัย [อินเทอร์เนต]. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร; 2563 เมษายน [สืบค้นเมื่อ 1 ก.พ. 2563]. จาก http://203.155.220.238/csc/index.php/en/academic-paper/98-hrmanagement/2012-09-03-04-51-63/academic-paper/1-5/193-2012-10-17-09-12-63

Westgard S, Bayat H, Westgard JO. Analytical Sigma metrics: A review of Six Sigma implementation tools for medical laboratories. Biochem Med (Zagreb) [Internet]. 2018 Jun [cited 2020 Feb 1]; 28(2): 1-12. Available from: https://biochemia-medica.com/en/journal/28/2/10.11613/BM.2018.020502

Westgard S, Westgard MS. QC Six Sigma metric analysis for analytical testing processes. Abbot [Internet]. Illinois: Abbot Laboratories; 2016; [cited 2020 Jan 20]; Available from :https://www.corelaboratory.abbott/sal/whitePaper/SixSigma_WP_MAATP_ADD-00058830.pdf

ทัศนีย์ สิริธัญญ์สกุล. การประเมินความสามารถของห้องปฏิบัติการโลหิตวิทยาและ เคมีคลินิกของโรงพยาบาลตรังด้วย Six Sigma Metric. วารสารเทคนิคการแพทย์. 46(1):6349-74

RIQAS evaluation of performance [Internet]. County Antrim, BT29 4QY: Randox Laboratories; 2016 update 2020; [cited 2020 Jan 29]. Available from:http://riqasconnect.randox.com/riqas/documents/en-eval.pdf

Kumar BV, Mohan T. Sigma metrics as a tool for evaluating the performance of internal quality control in clinical chemistry laboratory. J Lab Physicians. 2018 Apr-Jun;10(2):194-199.

Westgard JO., Westgard SA. The quality of laboratory testing today: An assessment of sigma metrics for analytic quality using performance data from proficiency testing surveys and the CLIA critetria for acceptable performance. Am L Clin Pathol. 2006; 125(3):343-54.

CLIA requirements for analytical quality [Internet]. Wisconsin: Paulo Pereira; 2019; [cited 2020 Jan 25]. Available from: https://www.westgard.com/clia.htm

ยุพาพิน อ้นทอง, เบญจวรรณ รุ่งเรือง, พลากร พุทธรักษ์. การประเมินประสิทธิภาพและการวางแผนการควบคุมคุณภาพของเครื่องตรวจวิเคราะห์นับเซลล์เม็ดเลือดโดยใช้ Sigma metric ในห้องปฏิบัติการหน่วยโลหิตวิทยา โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ จังหวัดปทุมธานี. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 2559;24(4):661-72.

กาญจนา กิจบูรณะ. การวางแผนการควบคุมคุณภาพเพื่อประเมินความสามารถของห้องปฏิบัติการเคมีคลินิก กลุ่มงานเทคนิคการแพทย์ โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์. วารสารเทคนิคการแพทย์. 2556;41(2):4578-87.

สุมณฑา สุผล. การวางแผนควบคุมคุณภาพในห้องปฏิบัติการโลหิตวิทยาคลินิกโดยใช้ Sigma metric และ OPSpecs chart. วารสารเทคนิคการแพทย์. 2559;44(2):5610-9.

จิรศักดิ์ กมลอินทร์, ถวัลย์ ฤกษ์งาม. การประเมินการใช้ Sigma metric tool เพื่อควบคุมคุณภาพการทดสอบ FBS และ HbA1c. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 2556;21(3):244-51.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-30