ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสมรรถนะการปฏิบัติการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาล ที่ขึ้นฝึกปฏิบัติงานในห้องผ่าตัด

ผู้แต่ง

  • กนกอร พิเดช Chulalongkorn University
  • ธนิตา พึงฉิ่ง วิทยาลัยพยาบาลกองทัพอากาศ
  • ฉันทิพย์ พลอยสุวรรณ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
  • สิทธิศักดิ์ เครือพิมาย คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

คำสำคัญ:

สมรรถนะนักศึกษาพยาบาล, การปฏิบัติการพยาบาล ห้องผ่าตัด

บทคัดย่อ

งานวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสมรรถนะการปฏิบัติการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาลที่ขึ้นฝึกปฏิบัติงานห้องผ่าตัด กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะพยาบาลศาสตร์             มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาปฏิบัติการพยาบาลผู้ใหญ่ 2 และขึ้นฝึกปฏิบัติงานห้องผ่าตัด โรงพยาบาลแห่งหนึ่งสังกัดกรุงเทพมหานคร ในปีการศึกษา 2561 เลือกแบบเจาะจงได้จำนวนรวม      150 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ ชุดของแบบสอบถาม ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสมรรถนะการปฏิบัติการพยาบาล และแบบประเมินสมรรถนะการปฏิบัติการพยาบาลในห้องผ่าตัด ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาของแบบสอบถามปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสมรรถนะการปฏิบัติการพยาบาล และแบบประเมินสมรรถนะการปฏิบัติการพยาบาลในห้องผ่าตัด ได้เท่ากับ 0.85 และ 0.87 ตามลำดับ และทดสอบความเชื่อมั่น ได้สัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค เท่ากับ 0.95 และ 0.70 ตามลำดับ  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติสหสัมพันธ์และสถิติวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ  ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีสมรรถนะการปฏิบัติการพยาบาลในห้องผ่าตัดโดยรวมอยู่ในระดับดี (gif.latex?\bar{x} = 4.03, SD=0.52) ปัจจัยด้านผู้เรียน ผู้สอน ระยะเวลาในการฝึกปฏิบัติการพยาบาล และการรับรู้ต่อสิ่งแวดล้อมในห้องผ่าตัด มีความสัมพันธ์ทางบวกกับสมรรถนะการปฏิบัติการพยาบาลของนักศึกษาในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (r = 0.65, 0.65, 0.36, และ 0.50 ตามลำดับ) ทั้งนี้ปัจจัยด้านผู้เรียน ผู้สอน และการรับรู้ต่อสิ่งแวดล้อมในห้องผ่าตัด สามารถร่วมกันทำนายสมรรถนะการปฏิบัติการพยาบาลของนักศึกษา ได้ร้อยละ 54.30 (R2=.543, p<.05)

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biography

กนกอร พิเดช, Chulalongkorn University

คณะพยาบาลศาสตร์ สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

References

ศรีเวียงแก้ว เต็งตระกูล, เบญจมาภรณ์ บุตรศรีภูมิ. สมรรถนะของนักศึกษาพยาบาลที่ขึ้นฝึกปฏิบัติงานในห้องผ่าตัด. วารสารกองการพยาบาล. 2554;38(2):34-45.

กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา. กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 และแนวทางปฏิบัติ. เอกสารแนบท้ายประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษาเรื่องแนวทางการปฏิบัติตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2552 (เอกสารอัดสำเนา).

ทัศนา บุญทอง. สมรรถนะหลักของพยาบาลวิชาชีพและสมรรถนะหลักของผดุงครรภ์ ชั้นหนึ่ง. ใน: การสัมมนาพยาบาลศาสตร์ศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 3; วันที่ 23-25 กรกฎาคม 2554 ณ โรงแรมดิเอมเมอรัลด์ กรุงเทพมหานคร, 2554.

Bloom BS. Human characteristic and school learning. 2nd ed. New York: McGrow-Hill Book Company; 1982.

Dunn SV, Hansford B. Undergraduate nursing students perceptions of their clinical leaning environment. J Adv Nurs. 1996 May 28;25(6):1299-306.

ปานทิพย์ ปูรณานนท์, ทัศนีย์ เกริกกุลธร, วิภาศิริ นราพงษ์. ผลของการใช้รูปแบบการจัดการเรียนการสอนในคลินิก ที่เน้นการนำผลการวิจัยไปใช้ในการปฏิบัติการพยาบาลต่อความสามารถและทัศนคติในการปฏิบัติการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาล. สระบุรี: วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี; 2549.

Beech, B. Aggression prevention training for student nurses: Differential responses to training and the interaction between theory and practice. Nurse Education in Practce 2008;8:94-102.

Berg CL, Lindseth G. Students’ perspectives of effective and ineffective nursing instructor. J Nurs Educ. 2004 Dec;43(12):565-8.

Cooper K, Bowers B. Demystifying the OR for baccalaureate nursing students. AORN J. 2006 Nov; 84(5):827-36.

Dunn SV, Hansford B. Undergraduate nursing students perceptions of their clinical leaning environment. J Adv Nurs. 1997 Jun; 25(6):1299-306.

ปานทิพย์ ปูรณานนท์, ทัศนีย์ เกริกกุลธร. ปัจจัยทำนายสมรรถนะของนักศึกษาพยาบาลในการปฏิบัติการพยาบาล โดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์. วารสารพยาบาลศาสตร์. 2554;23(2):48-55.

ณัฏฐชา เจียรนิลกุลชัย, ศรีเวียงแก้ว เต็งเกียรติ์ตระกูล. ผลของการสอนฝึกปฏิบัติในห้องผ่าตัดโดยใช้สถานการณ์จำลองในห้องผ่าตัดในสภาพแวดล้อมจริงต่อทักษะพื้นฐานในห้องผ่าตัดของนักศึกษาพยาบาล. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์. 2560;36(1):55-68.

Lachapelle, K. Teaching technical skill using medical simulation: A new frontier. McGill J Med. 2007 Jul; 10(2):149-51.

Paige JT, Garbee DD, Kozmenko V, Yu Q, Kozmenko L, Yang T, Bonannol, Swartz W. Getting a head start: hight-fidelity, simulation-based operating room team training of interprofessional students. J Am Coll Surg. 2014 Jan; 218(1):140-9.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-30