อิทธิพลของโซเดียมสตาร์ชไกลโคเลตต่อการละลายของยาเม็ดสองชั้นพาราเซตามอล แบบทยอยออกฤทธิ์

ผู้แต่ง

  • ธวัชชัย ทิพย์ทินกร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
  • พัชรพล ฉาบกังวาล
  • สุธาธิป กิตติธีระกูร

คำสำคัญ:

ยาเม็ดสองชั้น, เมทริกซ์, ปลดปล่อยแบบทยอย, พาราเซตามอล, ไฮดรอกซีโพรพิลเมททิลเซลลูโลสเคสี่เอ็ม, โซเดียมสตาร์ชไกลโคเลต

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้ เพื่อศึกษาอิทธิพลของปริมาณโซเดียมสตาร์ชไกลโคเลต ต่อการละลายของยาเม็ดสองชั้นพาราเซตามอลแบบทยอยออกฤทธิ์ ชั้นปลดปล่อยยาทันทีและชั้นปลดปล่อยแบบทยอยถูกเตรียมโดยวิธีการทำแกรนูลเปียก ใช้ไฮดรอกซี่โพรพิลเมทิลเซลลูโลสเคสี่เอ็ม เป็นสารก่อเมทริกซ์ในความเข้มข้นร้อยละ 1.25 ของน้ำหนักชั้นปลดปล่อยแบบทยอย และโซเดียมสตาร์ชไกลโคเลตเป็นสารช่วยแตกตัวในความเข้มข้นร้อยละ 0, 1, 1.5, 2 และ 2.5 ของน้ำหนักชั้นปลดปล่อยแบบทยอย  การศึกษาการปลดปล่อยของตัวยาใช้วิธีและเปรียบเทียบข้อกำหนดการละลายตาม USP 40  ผลการวิจัย พบว่า อัตราการปลดปล่อยยาจะเพิ่มขึ้นตามปริมาณของโซเดียมสตาร์ชไกลโคเลตที่เพิ่มขึ้น ตำรับที่ใส่โซเดียมสตาร์ชไกลโคเลตร้อยละ 1.5 มีค่าการละลายใกล้เคียงกับยาต้นแบบ ซึ่งทั้งสองตำรับผ่านเกณฑ์การยอมรับระดับ L1 ตาม USP 40  ผลการทดสอบการละลายถูกนำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบกับยาต้นแบบ โดยใช้ค่าความต่าง ( ) และความเหมือน ( ) ซึ่งมีค่าเท่ากับ 4 และ 68 ตามลำดับ จลนศาสตร์การปลดปล่อยยาเป็นไปตามการแพร่แบบฟิก  กลไกการปลดปล่อยยาเป็นการแพร่ การพองตัว และการกร่อนของชั้นเมทริกซ์  งานวิจัยนี้ สูตรตำรับที่เหมาะสมในชั้นปลดปล่อยแบบทยอย คือตำรับที่ใส่ไฮดรอกซี่โพรพิลเมทิลเซลลูโลสเคสี่เอ็มร้อยละ 1.25 เป็นสารก่อเมทริกซ์  และโซเดียมสตาร์ชไกลโคเลตร้อยละ 1.5 เป็นสารช่วยแตกตัว  ดังนั้นยาเม็ดสองชั้นแบบทยอยออกฤทธิ์เป็นรูปแบบยาที่มีศักยภาพในการนำส่งพาราเซตามอล

Downloads

Download data is not yet available.

References

1. Brayfield A. Martindale: the complete drug reference. 38th ed. Italy: Pharmaceutical Press; 2014.
2. Randa H, Laurance LB, Goodman and Gilman’s manual of pharmacology and therapeutics. 2nd ed. China: McGraw-Hill Companies; 2014.
3. Corbett AH, Danna WJ, Fuller MA, Gallagher JC, Golembiewski JA, Gonzales JP, et al. Drug information handbook with international trade name index. 26th ed. NW, Washington: American Pharmacists Association; 2017.
4. Gopinath C, Bindu VH, Nischala M. An overview on bilayered tablet technology. J Glob Trends Pharm Sci. 2013;4(2):1077-85.
5. Banu H, Sahariar MR, Sayeed MSB, Dewan I, Islam A. Formulation development of bi-layer acetaminophen tablets for extended drug release. J Chem Pharm Res. 2011;3(6):348-60.
6. Abdel-Rahman SI, Mahrous GM, El-Badry M. Preparation and comparative evaluation of sustained release metoclopramide hydrochloride matrix tablets. Saudi Pharm J. 2009;7(4):283-8.
7. Rowe RC, Sheskey PJ, Cook WG, Fenton ME. Handbook of pharmaceutical excipients. 7th ed. Spain: Pharmaceutical Press and American Pharmacist Association; 2012.
8. The United States Pharmacopeia, 40th rev., and The National Formulary 35th ed. (USP 40-NF 35) Rockville, MD: The United States Pharmacopeial Convention; 2016.
9. Dash S, Murthy PN, Nath L, Chowdhury P. Kinetic modeling on drug release from controlled drug delivery systems. Acta Pol Pharm. 2010;67(3):217-23.
10. Peppas NA. Analysis of Fickian and non-Fickian drug release from polymers. Pharm Acta Helv. 1985;60(4):110-1.
11. British Pharmacopoeia Commission Office. British Pharmacopoeia 2017. London: Her Majesty’s Stationary Office; 2016.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-26