ปัจจัยที่สัมพันธ์กับระดับความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางปลา อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ

ผู้แต่ง

  • ปริศนา อัครธนพล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
  • ธมกร อ่วมอ้อ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
  • กมลทิพย์ ขลังธรรมเนียม คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
  • นพนัฐ จำปาเทศ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
  • ดิเรก ภู่แจ้ง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองปรือ สมุทรปราการ

คำสำคัญ:

โรคความดันโลหิตสูง, ความเสี่ยงการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ, เมตาบอลิคซินโดรม

บทคัดย่อ

ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง มีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนในระบบหัวใจและหลอดเลือดสูง การศึกษาวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวางครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับระดับความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่มีความเสี่ยงจะเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป มีค่าความดันโลหิตมากกว่าหรือเท่ากับ 140/90 มิลลิเมตรปรอท อาศัยในเขตพื้นที่การดูแลของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางปลา อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ได้จำนวน 160 คน เก็บข้อมูลจากเวชระเบียนของผู้ป่วย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ทดสอบ Chi-square test วิเคราะห์ถดถอยโลจิสติก Odds ratio และ 95% confidence intervals
ผลการศึกษาพบว่า มีความแตกต่างของความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในระดับเสี่ยงสูงถึงสูงมากเพศหญิง ร้อยละ 2.50 เพศชาย ร้อยละ 8.10 (p<0.00 1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป 65 คนคิดเป็นร้อยละ 40.60 มีค่า ดัชนีมวลกาย ระดับอ้วน ในเพศหญิงร้อยละ 49.40 เพศชายร้อยละ 15.60 (p=0.002) เพศชายมีการสูบบุหรี่ร้อยละ 8.10 (p<0.00 1) ดื่มสุราร้อยละ 17.50 (p<0.00 1) ในผู้หญิงเส้นรอบเอวเกิน 80 เซนติเมตร ร้อยละ 55.60 ชายเส้นรอบเอวเกิน 90 เซนติเมตร ร้อยละ 13.80 (p <0.001) ในเพศหญิงค่าHDL น้อยกว่า 40 mg/d ร้อยละ 24.40 ในเพศชาย HDL น้อยกว่า 50 mg/d ร้อยละ 5.60 (p=0.015) กลุ่มตัวอย่างยังมีภาวะเมตาบอลิคซินโดรมแตกต่างกัน เพศหญิง ร้อยละ 39.40 เพศชายร้อยละ 10.60 (p=0.002) และ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดพบว่า เพศหญิงมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดมากกว่าเพศชาย ร้อยละ 17.65 (OR = 17.65, 95%CI = 2.91-106.95) และกลุ่มตัวอย่างที่สูบบุรี่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดมากกว่ากลุ่มตัวอย่างที่ไม่สูบบุหรี่ ร้อยละ0.09 (OR = 0.09, 95%CI = 0.01-0.79) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การศึกษานี้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการส่งเสริมสุขภาพเพื่อลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด

Downloads

Download data is not yet available.

References

World Health Organization. Hypertension [internet]. 2021 [cited 2020 Oct 19]. Available from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/hypertension

Panmung N, Ketjuna H, Nakkarach B, Teesara K, Supasorn S. Guidelines for management when a person with high blood pressure is identified in a hospital. Nonthaburi: Department of Disease Control; 2022. (in Thai)

Wannasirikul P, Srijaranai S, Thanaphakawat L. Deaths of people in 4th regional health area by Coronary artery disease. Res Dev Health Syst J. 2019;12(1):1-11. (in Thai)

Luenam A, Ngamkham N, Sangsawang D, Pengpanich W, Rattanasuwannachai K, Sengla W, et al. Predictive factors of self-care behavior for prevention of hypertension among population group at risk. HCU J. 2019;23(1):93-106. (in Thai)

Chumpathat N, Chunchai S, Wannaiampikul S, Akaratanapol P, Turongruang S, Phuangprasonka R, et al. Cardiovascular risk in patients with coexisting diabetes mellitus and hypertension in Bang Chalong Health Promotion Hospital, Bang Phli district, Samutprakan province. J Med Health Sci. 2022;29(1):81-94. (in Thai)

Akaratanapol P, Aumaor T, Khungtumneam K, Limteerayos P, Pidet K, Phuangprasonka R, et al. Risk to major complicationsamong diabetic and hypertensive patients in Nong-Prue Health

Promoting hospital, Bangphli, Samutprakan. APHEIT J Nurse Health. 2021;3(2):37-53. (in Thai)

Kamdaeng P. The management of menopausal symptoms. Nurse J. 2020;47(1):478-88. (in Thai)

Rodkaew S, Nontapet O, Petsirsan R. The relationship between body mass index and cardiovascular disease risks in hypertensive patients. J Cardio-Thoracic Nurse. 2021;32(2):120-30. (in Thai)

Hinkle JL, Cheever KH. Brunner and Suddarth's textbook of medical-surgical nursing. Philadelphia: Wolters kluwer 2018.

National Statistical Office. The 2021 health behavior of population survey. Bangkok: Thana Press; 2021. (in Thai)

Jittiporn K, Anusakdikul N, Himaprom P, Sodjumpa T, Vachirasrisirikul S, Wadthaisong M. Effect of smoking on endothelial function and arterial stiffness in Thai subjects. Chula Med J. 2018;62(6):1013-22. (in Thai)

Thitisak S. Tobacco control among nursing students in fundamentals of nursing practicum. Thai J Nurse. 2021;70(1):42-51. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-05-28