ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคชิคุนกุนยาของประชาชนใน ตำบลบางปู อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ

ผู้แต่ง

  • ตวงพร กตัญญุตานนท์ คณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
  • ศิรินภา ภักดี
  • พิมพ์พิมล ปัดสบาน
  • โศภิดา บุญมา
  • ฟัตมี บาเหะ
  • ตติยา แก้วกระจก
  • นันทวัฒน์ ผัดเป้า
  • ชัยวัฒน์ ชื่นชม

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการป้องกันโรค, โรคชิคุนกุนยา, ปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริม

บทคัดย่อ

งานวิจัยเชิงพรรณนาแบบตัดขวางครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการป้องกันโรคชิคุนกุนยา และความสัมพันธ์ระหว่าง ปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริม กับพฤติกรรมการป้องกันโรคชิคุนกุนยา กลุ่มตัวอย่างคือประชาชนในตำบลบางปู อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 306 คน ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม ศึกษาระหว่างเดือนสิงหาคม-ธันวาคม 2562 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติสหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน

ผลการวิจัยพบว่าพฤติกรรมการป้องกันโรคชิคุนกุนยาอยู่ในระดับดี (=3.03, SD=0.54) ปัจจัยนำ ปัจจัยเสริม ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคชิคุนกุนยาทางสถิติ แต่ปัจจัยเอื้อมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการป้องกันโรคชิคุนกุนยาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 (r=0.336, p-value =0.000) ผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะให้จัดหาทรัพยากรในการป้องกันโรคชิกุนคุนยาและพัฒนาทักษะในการใช้ทรัพยากรในการป้องกันโรคชิกุนคุนยาให้กับประชาชน

 

Downloads

Download data is not yet available.

References

ดำรงพันธุ์ ทองวัฒน์. ยุงที่สำคัญทางการแพทย์ของประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. พิษณุโลก : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร; 2560.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กรมควบคุมโรค. แนวทางการจัดการเรียนรู้โรคติดต่อนำโดยยุงภายใต้แนวคิดความรอบรู้ด้านสุขภาพและหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2563.

กระทรวงสาธารณสุข กรมควบคุมโรค. โรคไข้ปวดข้อยุงลาย. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2552.

กรมควบคุมโรค กองโรคติดต่อนำโดยแมลง. รายงานประจำปี 2562 กองโรคติดต่อนำโดยแมลง. นนทบุรี: กองโรคติดต่อนำโดยแมลง; 2562.

กระทรวงสาธารณสุข กรมควบคุมโรค สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง. รายงานประจำปี 2561 สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง. กรุงเทพมหานคร: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2561.

พัชนี นัครา, สุวิช ธรรมปาโล, สุมาศ ลอยเมฆ. ปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อชิคุนกุนยาในหมู่บ้านที่มีการระบาดซ้ำอำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส พ.ศ. 2557 – 2558. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 ขอนแก่น. 2562 ;26(3):48-58.

กระทรวงสาธารณสุข กรมควบคุมโรค กองระบาดวิทยา. โรคที่เกิดในช่วงฤดูฝน พ.ศ.2563. [อินเทอร์เนต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 21 กรกฎาคม 2563]. เข้าถึงจาก: https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/1032320200721092330.pdf

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพส่วนตำบลบางปู. รายงานผู้ป่วยโรคชิกุนคุนยา; 2562.

นรลักขณ์ เอื้อกิจ, ลัดดาวัลย์ เพ็ญศรี. การประยุกต์ใช้แนวคิด PRECEDE MODEL ในการสร้างเสริมสุขภาพ. วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย. 2562;12(1):38-48.

Yamane T. Statistics : an introduction analysis. 3rd ed. New York: Harper and Row Publications; 1988.

Bloom BS, Hastings JT. Handbook on formative and summative evaluation of student learning. New York: McGraw Hill; 1971.

วิเชียร เกตุสิงห์. ค่าเฉลี่ยกับการแปลความหมาย : เรื่องง่ายๆบางครั้งก็พลาดได้. ข่าวสารการวิจัยศึกษา. 2538; 1(3): 8-11.

Hinkle DE, William W, Stephen GJ. Applied statistics for the behaviors sciences. 4thed. NewYork: Houghton Mifflin; 1981.

จิระภา ศิริวัฒนเมธานนท์, สุพัตรา บัวที. ผลของโปรแกรมการป้องกันโรคไข้ปวดข้อยุงลายของนักเรียนชั้นประถมศึกษา. วารสารสมาคมพยาบาลฯ สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 2555;30(1):63-70.

ดลนภา หงษ์ทอง, อรัญญา นามวงศ์, ประดิษฐิ์ ชาลีเครือ, สิริสุดา เตชะวิเศษ, สุรางคณา ไชยรินคำ, พรพิมล อรุณรุ่งโรจน์. ความรู้ การรับรู้ และพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้ปวดข้อยุงลายของนักศึกษาวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีพะเยา. พะเยา: วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีพะเยา สถาบันพระบรมราชชนก; 2552.

ยง ภู่วรวรรณ. การระบาดไข้ปวดข้อยุงลาย ปี 2561 ถึง 2562. วารสารกุมารเวชศาสตร์. 2562;58(2):65-7.

เทศบาลตำบลบางปู จังหวัดสมุทรปราการ. การเตรียมความพร้อมเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก และไข้หวัดใหญ่ ปี 2562. [อินเทอร์เนต]. 2562 [เข้าถึงเมื่อ 20กรกฎาคม 2562]. เข้าถึงจาก: http://www.bangpoocity.com/main/index.php?option=com_content&view=article&id=2880&Itemid=70.

อลงกฎ ดอนละ. ความรู้ ทัศนคติ พฤติกรรมการปฏิบัติตนในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชนอำเภอสระใคร จังหวัดหนองคาย. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10. 2562;17(1):43-55.

หทัยรัตน์ ตัลยารักษ์, จุฑาทิพย์ ช่วยคล้าย. ความรู้ เจตคติ และพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของประชาชนในตำบลเคร็ง อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช. ใน: เอกสารการประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 10 มหาวิทยาลัยหาดใหญ่; วันที่ 12-13 กรกฎาคม 2562. สงขลา : มหาวิทยาลัยหาดใหญ่; 2562. น. 1505-14.

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กองสุขศึกษา. กลยุทธ์การเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ. นนทบุรี: กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ; 2561.

สุรินธร กลัมพากร. การประยุกต์ใช้แนวคิดและทฤษฎีในการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในชุมชน ใน: อาภาพร เหล่าวัฒนา และคณะ. การสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคในชุมชน : การประยุกต์แนวคิดสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: เอ็นเอ็นคอมพิวออฟเซท; 2561. น. 250

บุรฉัตร จันทร์แดง, เสาวลักษณ์ โกศลกิตติอัมพร, สัญญา เคณาภูมิ. ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม.วารสารวิชาการธรรมทรรศน์. 2562;19(4):235-44.

ประภาเพ็ญ สุวรรณ. ทัศนคติ: การวัดการเปลี่ยนแปลงและพฤติกรรมอนามัย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์; 2526.

สุมิตรา ชูแก้ว, ยุพาพิน ศิริโพธ์งาม, วรรณภา ประไพพานิช. ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติตามการรับรู้ของพยาบาลในการช่วยเหลือและสร้างเสริมสุขภาพของญาติในการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง. รามาธิบดีพยาบาลสาร. 2555;18(2):249-58.

ภาคภูมิ อุณหเลขจิตร, เจริญชัย อึ๊งเจริญสุข, เจนจิรา นักฆ้อง, อมิตา เหมาเพ็ชร, ณัฐสุดา ฟักเจริญ, ปวีณา วรวงษ์, และคณะ. พฤติกรรมการป้องกันโรคไข้เลือดออกของประชาชนชุมชนคลองถ้ำตะบัน ตำบลระแหง อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี. ใน: เอกสารการประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 6 และระดับนานาชาติ ครั้งที่ 1 หัวข้อ "การพัฒนาสู่สังคมอัจฉริยะ"มหาวิทยาลัยปทุมธานี; วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2562. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยปทุมธานี; 2562. น. 105-12.

ภานุวัฒน์ พรหมสังคหะ. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของประชาชนในเขตพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่าควาย อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยทักษิณ. 2562; 1(1):23-31.

รัชฎากรณ์ มีคุณ, กรรณิกา สาลีอาจ, ชลการ ทรงศรี. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกของประชาชนบ้านหนองอีเบ้า ตำบลขอนยูง อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี. วารสารการพยาบาล สุขภาพและการศึกษา. 2562;2(2):26-34.

ภาวิณี แพงสุข, เอื้อจิต สุขพูล, ปิยนุช ภิญโย. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงของประชาชนในชุมชน. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์. 2563;40(1):71-83.

อภิญญา ศิริพิทยาคุณกิจ. แรงสนับสนุนทางสังคม: ปัจจัยสำคัญในการดูแลผู้ที่เป็นเบาหวาน. รามาธิบดีพยาบาลสาร. 2553;16(2):309-23.

วัชระ กันทะโย, ณรงค ณ เชียงใหม่, วราภรณ์ ศิริสว่าง. ปจจัยที่มีความสัมพันธ์ตอการปองกันและควบคุมโรคไขเลือดออกของประชาชน ในเขตตำบลทาเดื่อ อำเภอดอยเตา. พิฆเนศวรสาร. 2556;9(2):63-79.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-30