ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มของผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม ในชุมชนวัดสลุด อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ

Factors Related to Fall Prevention Behaviors of Patients with Knee Osteoarthritis in Watsalud Community Bang Phli District, Samut – Prakarn Province

ผู้แต่ง

  • กรวิกรานต์ วิหก Bangkok
  • ทวีศักดิ์ กสิผล
  • นพนัฐ จำปาเทศ

คำสำคัญ:

โรคข้อเข่าเสื่อม, ผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม, ความสามารถในการทรงตัว, ความมั่นใจในการทรงตัว, พฤติกรรมการป้องกันการหกล้ม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มของผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย (descriptive research) เปรียบเทียบพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มของผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมจำแนกตามเพศ อายุ ประวัติการหกล้มภายในรอบ 1 ปี ดัชนีมวลกาย ความสามารถในการทรงตัว ความมั่นใจในการทรงตัว ความสัมพันธ์ระหว่างความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อมกับพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มของผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมในชุมชนวัดสลุด อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมจำนวน 280 ราย เครื่องมือประกอบด้วยแบบสอบถามทั้งหมด 5 ส่วน ซึ่งผ่านการตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน ด้วยการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา และหาค่าความเชื่อมั่นด้วยการทดสอบหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของคอนบาค (Cronbach’s alpha) ได้เท่ากับ 0.73, 0.80, 0.90, 0.98, 0.94 และ 0.77 วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป ความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อม ความสามารถในการทรงตัว ความมั่นใจในการทรงตัว และพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มของผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม ด้วยสถิติเชิงพรรณนา (descriptive statistics) ได้แก่ ค่าความถี่ มัธยฐาน และควอไทล์ (quartiles) ที่
1 – 3  เปรียบเทียบพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มด้วยสถิติ Mann - Withney U และ Kruskal-Wallis test และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อมกับพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มของผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมด้วยสถิติ Spearman’s rho

ผลการวิจัย พบว่า พฤติกรรมการป้องกันการหกล้มอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 94.29 การเปรียบเทียบพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มจำแนกตามเพศ กลุ่มอายุ และประวัติการหกล้ม พบว่า เพศที่ต่างกัน มีค่ากลางพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (Z=-2.39, p<.05) โดยเพศชายมีพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มมากกว่าเพศหญิง และการเปรียบเทียบพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มจำแนกตามระดับดัชนีมวลกาย ความมั่นใจในการทรงตัว และความสามารถในการทรงตัวของผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม พบว่า ระดับความมั่นใจในการทรงตัวที่ต่างกัน มีค่ากลางของพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 (p<.001) ความสัมพันธ์ระหว่างความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อมกับพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มของผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม พบว่า ความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อมมีความสัมพันธ์ทางลบกับพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับที่.05 ( rs = -0.14, p <.05 )

Downloads

Download data is not yet available.

References

กนกวรรณ เมืองศิริ, นิภา มหารัชพงศ์, ยุวดี รอดจากภัย. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุ จังหวัดชลบุรี.วารสารมหาวิทยาลัยนเรศวร.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 25 (4) :หน้า 23-3.

ยุวดี สารบรูณ์, สุภาพ เอื้ออารี, สุจินดา จารุพัฒน์ มารุโอ. (2557). อาการ ความรู้ และการรับรู้ความเจ็บป่วยด้วยโรคข้อเข่าเสื่อมของผู้สูงอายุในชุมชน:การศึกษานำร่อง.วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีกรุงเทพ.30 (2) :หน้า 80-90.

วิญญ์ทัญญู บุญทัน, นพนัฐ จำปาเทศ, รัชนี นามจันทรา, นิภาพร เหล่าชา, สุทธิศรี ตระกูลสิทธิโชค. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างอาการปวด ข้อฝืด ความสามารถในการใช้งานข้อกับการทรงตัวของผู้สูงอายุที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อมในชุมชนเทศบาลตำบลเสาธง อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ.19 (38):หน้า 1-12

ศิริกุล การุณเจริญพาณิชย์. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการทรงตัว ความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน และความสามารถของสมองของผู้สูงอายุในอำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี.วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช.63(5): หน้า20-28

ศิริรัตน์ ปานอุทัย. (2560). การพยาบาลผู้สูงอายุ เล่ม2.คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2558). สถิติสาธารณสุขปี2558. กรุงเทพมหานคร เข้าถึงจาก: https://bps.moph.go.th/new_bps/sites/default/files/health_statistic2558.pdf

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2557). สาระสุขภาพ.8 (24) :15-30 กันยายน 2558

Daniel L Riddle, Gregory J, Golladay.(2016). A longitudinal comparative study of falls in person with knee artroplasty and persons with or at high risk for knee osteoarthritis. Age and Aging 2016;45:794-800.Pubilshed electronically 4July2016

Kanyarat Ubolwan. (2013) . An Exploration of The Relationships And Among Demographics Risk Factors Perceived Self-Efficacy And Fall Prevention Behaviors In Community-Dwelling Thai Older Adult.2013. Wayne State University Dissertations.Paper709.

Ozlem Bilik, Hale Turhan, Ozgu Karayurt.(2017). Fall Behaviors and Risk Factor Among Elderly Patient With Hip Fractures. July. 2017:30(4):420-7

Theano Tsonga, MSc , Maria Michalopoulou, PhD , Paraskevi Malliou, PhD, George Godolias, MD, Stylianos Kapetanakis, MD , Grigorios Gkasdaris, MD , Panagiotis Soucacos, MD. (2015). Analyzing the History of fall in Patients with Severe Knee Osteoarthritis. The Korean Orthopaedic Association. Clinical in Orthopedic Surgery 7: (2015) 449-456

World Health Organization. (2019). Violence and Injury Prevention: Falls. Retrieved From March 1,2019. http://www.who.int/violence_injury_prevention/other_injury/falls/en/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-30