ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเก่า อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี

ผู้แต่ง

  • กาญจนา โม่มาลา 70 moo 2 Banleuk Photharam Ratchaburi

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง, ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนา (descriptive research) ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยเรื้อรังเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ที่มารับบริการที่คลินิกโรคเรื้อรังโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเก่า อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี จำนวน 112 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลพื้นฐานส่วนบุคคล แบบสอบถามการรับรู้ภาวะเสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง การรับรู้ความรุนแรงของโรคหลอดเลือดสมอง  การรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติเพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง และแบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.837  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา การวิเคราะห์ความแปรปรวน (ANOVA) และสถิติสมการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (stepwise multiple regression analysis)  ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ มีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้โอกาสเสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง การรับรู้ความรุนแรงของโรคหลอดเลือดสมองและการรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติเพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในระดับดี (= 2.72, S.D. = 0.31,  = 2.88, S.D. = 0.35 และ =2.85, S.D. = 0.36 ) ตามลำดับ มีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในระดับดี (= 3.22, S.D. = 0.16)  ปัจจัยที่สามารถทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองของกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การรับรู้โอกาสเสี่ยงการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง (β = .866) การรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติเพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง (β = 1.138) การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (β = -1.695) ดัชนีมวลกาย (β = -.061) และระดับการศึกษา (β = -1.125)  โดยปัจจัยดังกล่าว มีความสามารถทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง ได้ร้อยละ 63.4 (R2 = 0.634, p < .05)

จากผลการวิจัยมีข้อเสนอแนะว่า บุคลากรทีมสุขภาพ ควรสร้างเป็นโปรแกรมแบบผสมผสานเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพในผู้ป่วยเรื้อรังกลุ่มเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีภาวะอ้วน และกลุ่มที่ยังดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยเน้นการรับรู้ภาวะเสี่ยงการเกิดโรค และการรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติเพื่อการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง

Downloads

Download data is not yet available.

References

ณัฐธิวรรณ พันธ์มุง, อลิสรา อยู่เลิศลบ, อามีนะห์ เจะปอ. ประเด็นสารรณรงค์วันอัมพาตโลก ปี 2561 [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 12 มีนาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก http://www.thaincd.com/2016/ news/announcement-detail.php?id=13251&gid=16

สมศักดิ์ อรรฆศิลป์.กลุ่มโรค NCDs. ข่าวสร้างสุข สสส. [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ 12 มีนาคม 2562] เข้าถึงได้จาก: https://www.thaihealth.or.th/microsite/categories/5/ncds/2/173/176-

พุทธิวัฒน์ ทองวงศ์, จินตนาภรณ์ วัฒนธร. ความเครียดกับโรคหลอดเลือดสมองที่เกิดจากการอุดตันของหลอดเลือด. วารสารสมาคมประสาทวิทยาศาสตร์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 2561;13(3):45-50.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดราชบุรี. การป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อที่สำคัญ [อินเทอร์เน็ต]. 2561. [เข้าถึงเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2562] เข้าถึงได้จาก https://rbr.hdc.moph.go.th/hdc/main/index.php

สุทัสสา ทิจะยัง. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง. [วิทยานิพนธ์]. นครปฐม: มหาวิทยาลัยคริสเตียน; 2557.

สุริยา หล้าก่ำ, ศิราณีย์ อินธรหนองไผ่. ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความเชื่อด้านสุขภาพและพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงสูง ตำบลเหนือเมือง อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารพยาบาลตำรวจ. 2560;9(2):85-94.

ธีระศักดิ์ มักคุ้น.ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงในพื้นที่ภาคใต้ฝั่งอันดามัน.วารสารควบคุมโรค. 2556;39(1):14-21.

สุพร หุตากร. การรับรู้โอกาสเสี่ยงและความรุนแรงต่อการเกิดโรค และการรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติตน เพื่อป้องกันโรคของผู้ต้องขังทัณฑสถานโรงพยาบาลราชทัณฑ์. [วิทยานิพนธ์]. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; 2549.

นัสรา เกตจินดา, สุวรรณา จันทร์ประเสริฐ, สมสมัย รัตนกรีฑากุล. ปัจจัยทํานายพฤติกรรมการป้องกันโรคเรื้อรังของคนวัยกลางคน. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 2561;26(4):30-39.

พัชรี ศรีแจ่ม, ปริศนา อัครธนพล, พรทิพย์ ลิ้มธีระยศ, กมลทิพย์ ขลังธรรมเนียม. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของชาวไทยมุสลิมที่มีภาวะความดันโลหิตสูง. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม. 2561;(19):56-68

ประภาส ขำมาก, สมรัตน์ ขำมาก, มาลิน แก้วมูณี. ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้. 2558;2(3):74-91.

อมรรัตน์ ลือนาม, นิลาวรรณ งามขำ ดวงหทัย แสงสว่าง, วิภาวรรณ เพ็งพานิช, กมลทิพย์ รัตนสุวรรณาชัย, วชรดล เล็งลา, และคณะ. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรคความดันโลหิตสูง ของประชาชนกลุ่มเสี่ยง. วารสาร มฉก.วิชาการ. 2562;23(1):93-106.

ภารณี วสุเสถียร. พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดสมอง เขตสุขภาพที่ 6. วารสารวิชาการ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. 2561;14(1):42-53.

ภัสราวลัย ศีติสาร, อรุณวรรณ สุวรรณรัตน์, จารุวรรณ ใจลังกา. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยภาวะความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ โรงพยาบาลดอกคำใต้ อำเภอดอกคำใต้ จังหวัดพะเยา. วารสารสาธารณสุขล้านนา. 2555;9(2):120-136.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-12-30