ผลผลิตกรดแลคติกจากกระบวนการหมักเศษผลไม้

ผู้แต่ง

  • ศศิธร นนทา สาขาวิชาการจัดการสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย มหาวิทยาลัยหัวเฉียว เฉลิมพระเกียรติ
  • สมพงศ์ โอทอง คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
  • นุชนาถ แช่มช้อย คณะสาธารณสุขศาสตร์และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยหัวเฉียวพระเกียรติ

คำสำคัญ:

กรดแลคติก, การหมักแบบไร้อากาศ, การหมักเศษผลไม้, แลคโตบาซิลลัส

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปริมาณผลผลิตกรดแลคติกจากการหมักเศษผลไม้แบบ ไร้อากาศภายใต้อุณหภูมิการหมักที่แตกต่างกัน ด้วยแบคทีเรีย Lactobacillus plantarum สายพันธุ์ TISTR 926 ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงทดลอง โดยการศึกษาแบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 ศึกษาปริมาณ ผลผลิตกรดแลคติกจากกระบวนการหมักเศษผลไม้แบบไร้อากาศ โดยใช้เศษผลไม้ 3 ชนิด ได้แก่ เปลือกแตงโม ซังขนุน และแกนสับปะรด ส่วนที่ 2 ศึกษาผลของอุณหภูมิการหมัก ที่มีต่อปริมาณผลผลิต กรดแลคติกที่เกิดขึ้น ผลการทดลอง พบว่า ผลผลิตกรดแลคติกที่ได้จากการหมักเปลือกแตงโม ซังขนุน และ แกนสับปะรด มีค่า 25, 56 และ 54 kg/ton ของน้ำหนักสับสเตรต เมื่อหมักเป็นระยะเวลา 4 วัน ภายใต้อุณหภูมิการหมัก 35°C เช่นเดียวกัน จากผลการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ พบว่า ค่าเฉลี่ยผลผลิต กรดแลคติกที่ได้จากการหมักเศษผลไม้ทั้ง 3 ชนิด มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) หลังจากหมักเป็นระยะเวลา 2 วัน และ 4 วัน และมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติ (p < 0.05) เมื่อหมักภายใต้อุณหภูมิการหมัก 35°C สำหรับการหมักเปลือกแตงโม ในขณะที่ ค่าเฉลี่ยผลผลิตกรดแลคติกที่ได้จากการหมักซังขนุนและแกนสับปะรด มีความแตกต่างกันอย่างมีนัย สำคัญทางสถิติ (p < 0.05) เมื่อหมักภายใต้อุณหภูมิการหมัก 30°C 35°C และ 40°C อย่างไรก็ตาม เมื่อคำนวณค่าผลผลิตจำเพาะสูงสุดของกรดแลคติกที่ได้จากการทดลอง พบว่า มีค่าใกล้เคียงกัน โดยมีค่าเท่ากับ 378.5, 359.5 และ 376.5 kg/ton VS (Volatile solid) ตามลำดับ สำหรับการหมัก เปลือกแตงโม ซังขนุน และแกนสับปะรด ภายใต้อุณหภูมิการหมัก 35°C ซึ่งจากผลการศึกษา ชี้ให้เห็นว่า อุณหภูมิการหมักที่เหมาะสมสำหรับการหมักกรดแลคติกแบบไร้อากาศ คือ อุณหภูมิการหมัก 35°C

Downloads

References

ธัญรัตน์ ประชามอญ, มัลลิกา บุญมี และกรกช ฮามสุโพธิ์. (กรกฎาคม-กันยายน 2551) “การผลิตกรดแลคติกโดยใช้น้ำอ้อยเป็นสารตั้งต้น” วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา) 8 (3) หน้า 1-8.

มหาวิทยาลัยขอนแก่น ศูนย์วิจัยด้านการจัดการสิ่งแวดล้อมและสารอันตราย. (2550) รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการส่งเสริมและสนับสนุนการผลิตผลิตภัณฑ์ชีวเคมีที่ใช้อ้อยเป็นวัตถุดิบต้นน้ำ
[ออนไลน์] แหล่งที่มา : http://agkb.lib.ku.ac.th/ocsb/search_detail/dowload_digital_file/157690/46078 (23 มิถุนายน 2556)

Akerberg, C. et al. (June 1998) “Modelling the influence of pH, temperature, glucose and lactic acid concentrations on the kinetics of lactic acid production by Lactococcus lactis ssp. Lactis ATCC 19435 in whole flour” Appl. Microbiol. Biotechnol. 49 page 682-690.

APHA. (1998) Standard Methods for the Examination of Water and Wastewater. 20th ed. Bultimore : United Book Press.

Gao, C., Ma, C., and Xu, P. (November-December 2011) “Biotechnological routes based on lactic acid production from biomass” Biotechnology Advances. 29 page 930-939.

Idris, A. and Suzana, W. (May 2006) “Effect of sodium alginate concentration, bead diameter, initial pH and temperature on lactic acid production from pineapple
waste using immobilized L. delbrueckii” Process Biochemistry. 41 page 1117-1123.

John, R. P. et al. (March-April 2009) “Direct lactic acid fermentation: Focus on simultaneous saccharification and lactic acid production” Biotechnology Advances. 27 page 145-152.

Nancib, N. et al. (June 2001) “The effect of supplementation by different nitrogen sources on the production of lactic acid from date juice by Lactobacillus casei subsp. rhamnosus” Bioresource Technology. 78 page 149-153.

Panesar, P. S. et al. (March 2007) “Bioutilisation of whey for lactic acid production” Food Chemistry. 105 page 1-14.

Sreenath, H. K. et al. (July 2001) “Lactic acid production by simultaneous saccharification and fermentation of alfalfa fiber” Journal of Bioscience and Bioengineering.
92 (6) page 518-523.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-10-27

How to Cite

1.
นนทา ศ, โอทอง ส, แช่มช้อย น. ผลผลิตกรดแลคติกจากกระบวนการหมักเศษผลไม้. Journal of Health Sciences and Wellness [อินเทอร์เน็ต]. 27 ตุลาคาม 2016 [อ้างถึง 12 เมษายน 2025];20(39):1-14. available at: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/HCUJOURNAL/article/view/149267