การจัดการห่วงโซ่อุปทานสินค้าชุมชนสู่การยกระดับความได้เปรียบทางการแข่งขันสำหรับผู้ประกอบการขนมหวานเมืองเพชรบุรี
คำสำคัญ:
ห่วงโซ่อุปทานสินค้าชุมชน, ความได้เปรียบทางการแข่งขัน, ผู้ประกอบการขนมหวานบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) รูปแบบการจัดการห่วงโซ่อุปทานสินค้าชุมชน ขนมหวานเมืองเพชรบุรี และ 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยกระดับความได้เปรียบทางการแข่งขันของผู้ประกอบการขนมหวานเมืองเพชรบุรี การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม เก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้ประกอบการขนมหวานเมืองเพชรบุรีจำนวน 12 ราย และกลุ่มผู้บริโภคจำนวน 219 ราย ด้วยการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาพบว่า 1) การจัดการห่วงโซ่อุปทานสินค้าชุมชนขนมหวานเมืองเพชรบุรี ประกอบด้วย 6 กลุ่ม ได้แก่ ผู้ขายวัตถุดิบ ผู้ประกอบการ/วิสาหกิจชุมชน ผู้แปรรูปหรือซื้อผลิตต่อ พ่อค้าคนกลาง ผู้ค้าปลีก และผู้บริโภค นำมาสู่แนวทางการพัฒนาห่วงโซ่คุณค่าใหม่ ประกอบด้วย 2 กิจกรรมคือ (1) กิจกรรมหลัก ได้แก่ การผลิต (ลดต้นทุน) และการแปรรูปผลิตภัณฑ์ และ (2) กิจกรรมสนับสนุน ได้แก่ การบริการหลังการขายกับการสร้างความพึงพอใจแก่ผู้บริโภค และ 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยกระดับความได้เปรียบทางการแข่งขัน ได้แก่ ความสัมพันธ์กับลูกค้า (M=4.29) ประสิทธิภาพการบริหารจัดการผลิต (M=4.29) และประสิทธิภาพการบริหารการเงินและบัญชี (M=4.20) มีความสำคัญอยู่ในระดับมากทุกด้าน และทั้ง 3 ปัจจัยดังกล่าวส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้บริโภคโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (M=4.50)
ข้อค้นพบจากงานวิจัยนี้ก่อให้เกิดรูปแบบการจัดการห่วงโซ่อุปทานใหม่สำหรับสินค้าชุมชน กลุ่มผู้ประกอบการขนมหวานและวิสาหกิจชุมชนสามารถนำผลการวิจัยไปเป็นแนวทางพัฒนาห่วงโซ่ผลิตภัณฑ์ชุมชนอื่นได้
References
กัลยา สมมาตย์. (2560, สิงหาคม). การรับรู้ในนวัตกรรมของส่วนประสมทางการตลาดขนมหวานในจังหวัดเพชรบุรี. [Paper presentation]. การประชุมนําเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 13 บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต, ปทุมธานี, ประเทศไทย.
กาญจนา สุระ. (2562). การพัฒนาศักยภาพเพื่อต่อยอดภาคการเกษตรให้เกิดประโยชน์เชิงพาณิชย์และสาธารณะ กรณีศึกษา ชุมชนเกษตรของจังหวัดเชียงใหม่. วารสารบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้, 1(1), 1-11.
กำธร แจ่มจำรัส และ ญาณิศา เผื่อนเพาะ. (2567). การพัฒนาและยกระดับผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวสูงวัยในเมืองมรดกโลกสำหรับนักท่องเที่ยวสูงวัย. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน, 30(1), 31-47.
กุลภา กุลดิลก, อัจฉรา ปทุมนากุล, รวิสสาข์ สุชาโต, ณัฐพล พจนาประเสริฐ, กาญจนรี พงษ์ฉวี, และรัฐภัทร ประดิษฐ์สรรพ. (2563). การวิเคราะห์โซ่อุปทานของปลาช่อนในประเทศไทย (รายงานผลการวิจัย). สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.).
ชมัยพร ชูงาน. (2561). การศึกษาห่วงโซ่คุณค่าเพื่อพัฒนาคลัสเตอร์กุ้ง กรณีศึกษา : สหกรณ์ผู้เลี้ยงกุ้งลุ่มน้ำสามร้อยยอด-ปราณบุรี จำกัด. กองนโยบายและยุทธศาสตร์พัฒนาการประมงกรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
ชัญญพัชร์ จารุวัชรเศรษฐ์ และ กรรณิการ์ มิ่งเมือง. (2566). การจัดการห่วงโซ่อุปทานหนูพุกเชิงพาณิชย์ในจังหวัดอุทัยธานี. วารสารวิชาการ การจัดการภาครัฐและเอกชน, 5(1), 1-12.
พิมพ์ปวีณ์ มะณีวงค์. (2563). การตัดสินใจยอมรับระบบบัญชีต้นทุนประกอบอาชีพกับการยกระดับศักยภาพของเกษตรกรผู้ปลูกมะพร้าวในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน, 26(4), 69-79.
พิมพ์ปวีณ์ มะณีวงค์. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจในการใช้โปรแกรมระบบ EXPRESS ของนักบัญชีในระดับอุดมศึกษา. วารสารสมาคมนักวิจัย, 25(1), 447-464.
ภาวินีย์ ธนาอนวัช. (2563). การบริหารตันทุนการผลิตและการวางแผนกำไรผลิตภัณฑ์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ตำบลบางนางร้า อำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชน. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี, 9(1), 47-56.
ยุทธ ไกยวรรณ์. (2559). การวางแผนการทดลองสำหรับการวิจัย. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วรรณี ชลนภาสถิตย์. (2552). ความยั่งยืนในการดำเนินธุรกิจเอสเอ็มอี: กรณีศึกษาธุรกิจขนมหวานจังหวัดเพชรบุรี. วารสารการจัดการสมัยใหม่, 7(2), 53-68.
ศศิพิมพ์มาศ หงส์สมบัติ. (2565). การจัดการห่วงโซ่อุปทานอ้อยเพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางด้านการแข่งขันในอำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี, 11(1), 53-68.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2565, 1 พฤศจิกายน). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566-2570). https://www.nesdc.go.th/
อภิลักษณ์ ธรรมวิมุตติ และ ธีระวัฒน์ จันทึก. (2560). ทุนมนุษย์เชิงนวัตกรรมและสร้างสรรค์ของวิสาหกิจชุมชนผู้ประกอบการ. Veridian E-Journal มหาวิทยาลัยศิลปากร, 10(1), 1572-1589.
อวัสดา ปกมนตรี และ สุดาวรรณ สมใจ. (2561). การเพิ่มมูลค่า การพัฒนาขีดความสามารถ และปัจจัยอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อการตลาดอย่างยั่งยืนของสินค้าพรีเมียมโอทอปจากผักตบชวา. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี, 7(2), 68-80.
อารยา องค์เอี่ยม และ พงศ์ธารา วิจิตรเวชไพศาล. (2561). การตรวจสอบคุณภาพเครื่องวิจัย. วิสัญญีสาร, 4(1), 36-42.
Aaker, D. A., V. kumar & G.S. Day. (2001). Marketing research. John Wiley and Sons.
Ajzen, I. (1985). From intentions to actions: A theory of planned behavior. In J. Kuhl & J. Beckmann (Eds.), Action control: From cognition to behavior Heidelberg, Springer.
Michael E. Porter. (1986). Changing patterns of international competition. California Management Review, 28(2), 9-40.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยคริสเตียน
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.