การพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพโดยกระบวนการเรียนรู้ แบบมีส่วนร่วมในผู้ที่เสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด
คำสำคัญ:
ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, พฤติกรรมสุขภาพ, การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม, ผู้ที่เสี่ยงเป็นโรคเบาหวานบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพโดยกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมในผู้ที่เสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด โดยแบ่งเป็น 3 ระยะ ซึ่งระยะที่ 1 เป็นการศึกษาบริบทพื้นที่และสถานการณ์ ระยะที่ 2 เป็นการพัฒนารูปแบบ และระยะที่ 3 ประเมินผลการพัฒนา กลุ่มตัวอย่างคือผู้ที่เสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน จำนวน 217 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงตามเกณฑ์การคัดเข้าศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ เครื่องมือเชิงปริมาณ 2 ชุด และเครื่องมือเชิงคุณภาพ 3 ชุด ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือด้านความตรงเชิงเนื้อหาและโครงสร้างโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 คน แบบสัมภาษณ์ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพผ่านการทดสอบความเชื่อมั่นโดยกองสุขศึกษา ได้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟา(Cronbach’s Alpha) เท่ากับ 0.90 และ 0.62 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติเชิงพรรณนาโดยการเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยของความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพก่อนและหลังดำเนินการใช้สถิติที (Paired t-test) ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) บริบทพื้นที่ตำบลสะอาดสมบูรณ์เป็นสังคมชนบทกึ่งเมือง ประชาชนส่วนใหญ่นิยมรับประทานข้าวเหนียวเป็นหลักและใช้ปลาร้าเป็นส่วนประกอบในการประกอบอาหาร รูปแบบการดูแลผู้ที่เสี่ยงเป็นโรคเบาหวานในชุมชนดำเนินการโดยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) แนะนำการให้ความรู้เป็นครั้งคราวโดยไม่มีระบบการกำกับติดตามและเฝ้าระวังที่ชัดเจน ทำให้มีผู้ป่วยโรคเบาหวานรายใหม่เพิ่มขึ้นทุกปี ข้อมูลด้านสุขภาพของกลุ่มตัวอย่างพบว่า มีค่าดัชนีมวลกายอยู่ในเกณฑ์น้ำหนักเกิน ร้อยละ 61.29 ค่าระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในเกณฑ์เสี่ยงเบาหวานทุกคน มีความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพอยู่ในระดับไม่ดี ร้อยละ 55.29 และร้อยละ 53.46 ตามลำดับ 2) รูปแบบโดยใช้กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการโดยสร้างแรงจูงใจในการตั้งเป้าหมายการลดระดับน้ำตาลในเลือดรายบุคคล 2) การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามกลยุทธ์ของชุมชน 3) จัดระบบการกำกับติดตามโดยการเยี่ยมเสริมพลังแบบมีส่วนร่วม และ 4) การถอดบทเรียนโดยจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้และคืนข้อมูล 3) ผลการพัฒนาพบว่าไม่มีรายงานผู้ป่วยโรคเบาหวานรายใหม่จากผู้เข้าร่วมโครงการ โดยมีค่าดัชนีมวลกายอยู่ในเกณฑ์น้ำหนักเกินลดลงเป็นร้อยละ 36.87 ค่าระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในเกณฑ์เสี่ยงเบาหวานลดลงเป็นร้อยละ 42.86 คะแนนเฉลี่ยความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการวิจัยครั้งนี้บุคลากรสาธารณสุขที่เกี่ยวข้องสามารถนำรูปแบบการพัฒนาไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่โดยการสร้างและพัฒนาเครือข่ายให้มีส่วนร่วมในการเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพสำหรับผู้ที่เสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน ซึ่งจะทำให้จำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวานรายใหม่ลดลง และเป็นรูปแบบที่เหมาะสมในการจัดการปัญหาโรคเบาหวานในชุมชน
References
กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2565). คู่มือการดำเนินงานสุขศึกษา หมู่บ้านปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ. https://skko.moph.go.th/dward/document_file/health_behavior/common_form_upload_file/20230427104744_360301399.pdf
กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2566, 28 กุมภาพันธ์). Annual Report 2022 รายงานประจำปี 2565 กองโรคไม่ติดต่อ. https://ddc.moph.go.th/dncd/forecast_detail.php
จิริสุดา ธานีรัตน์. (2566). ความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพ 3 อ 2 ส ในกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ของบุคลากรโรงพยาบาลปทุมธานี. วารสารโรงพยาบาลสกลนคร, 25(1), 56-70.
ชูศักดิ์ เอกเพชร. (2561). เอกสารประกอบการบรรยายการวิจัยเชิงปฏิบัติการ. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย ราชภัฎสุราษฎร์ธานี. https://graduate.sru.ac.th/wp-content/uploads/2018/11/PAR.pdf
ธัญชนก ขุมทอง วิราภรณ์ โพธิศิริ, และ ขวัญเมือง แก้วดำเกิง. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพของผู้ที่เสี่ยงเป็นโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในจังหวัดอุทัยธานีและจังหวัดอ่างทอง.วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยศิลปากร, 3(6), 67-85.
นงลักษณ์ เทศนา, จมาภรณ์ ใจภักดี, บุญทนากร พรหมภักดี, และ กนกพร พินิจลึก. (2558, พฤศจิกายน 30). การพัฒนารูปแบบการป้องกันการป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในประชาชนกลุ่มเสี่ยง. คลังข้อมูลและความรู้ระบบสุขภาพ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/4264?locale-attribute=th
นภาพร อติวานิชยพงศ์. (2557). คนชนบทอีสานกับการทำมาหากิน: ความเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย.วารสารสังคมวิทยามานุษยวิทยา, 33(2), 103-127.
ประภาส บารมี และ จักรพันธ์ บุญอ่อง. (2566). การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานด้วย 4 ป. กรณศึกษากลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน ตำบลบ้านกลาง อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก. วารสารสหวิชาการเพื่อสุขภาพ, 5(1), 25-37.
ประสพชัย พสุนนท์. (2558). ความเที่ยงตรงของแบบสอบถาม สำหรับงานวิจัยทางสังคมศาสตร์. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 18 (1), 375-396.
ยุรนันท์ ตามกาล. (2561). การพัฒนากระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมตามหลักวิถีชีวิตสีเขียวเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะของครอบครัว. Journal of HR intelligence, 13(1), 20-45.
ระบบคลังข้อมูลสุขภาพ Health Data Center (HDC) กระทรวงสาธารณสุข. (2565). กลุ่มรายงานมาตรฐานการคัดกรอง. https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/page.php?cat_id=6966b0664b89805a484d7ac96c6edc48
ศักดิ์สิทธิ์ คำเกาะ และ รุจิรา ดวงสงค์. (2563). ผลของโปรแกรมพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพโดยการประยุกต์ความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อป้องกัน โรคเบาหวานชนิดที่ 2 ในกลุ่มเสี่ยงที่อยู่ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ตำบลบ้านปานเจริญ อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 13(3), 56-68.
สุปราณี โรจน์สุพร, ลัฆวี ปิยะบัณฑิตกุล, และ อรุณณี ใจเที่ยง (2564). การจัดการอาหารของผู้เป็นโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงในชุมชน. วารสารสุขภาพและการศึกษาพยาบาล, 27(2), 96-111.
อนิวัช แก้วจำนงค์. (2564). แนวคิดเกี่ยวกับการวัด ปัจจัยที่มีผลต่อความคลาดเคลื่อน จากการวัดการตรวจสอบคุณภาพความตรงและความเที่ยงของเครื่องมือวิจัย (เน้นเครื่องมือวัดเชิงปริมาณ).โครงการฝึกอบรม “สร้างนักวิจัยรุ่นใหม่” (ลูกไก ่) มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี รุ่นที่ 8. Google. https://www.ubu.ac.th/web/files_up/00008f2021091022210536.pdf
เอื้อจิต สุขพูล, ชลดา กิ่งมาลา, ภาวิณี แพงสุข,ธวัชชัย ยืนยาว, และ วัชรีวงค์ หวังมั่น. (2563). ผลของโปรแกรมการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพสำหรับประชาชนกลุ่มวัยทำงาน.วารสารวิชาการสาธารณสุข, 29(3), 419-429.
อุดมศักดิ์ มหาวีรวัฒน์, อัศวิน อมรสิน, ศิรินาถ ตงศิริ, วรรณิศา ชาวดร, ชุติมณฑน์ ปัดถามัง, และรักษ์สุดา ขันธพัฒน์. (2559). การเปรียบเทียบผลของปริมาณน้ำตาลในเลือดระหว่างผู้บริโภคแกนตะวันกับข้าวเหนียวพันธุ กข.6. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร มหาวิทยาลัยขอนแกน, 9(1), 15-20.
Bandura, A. (1997). Self-efficacy: The exercise of control. W.H. Freeman and Company.
Edwards M, Wood F, Davies M, & Edwards A. (2012). The development of health literacy in patients with a long-term health condition: The health literacy pathway model. BMC Public Health, 12(130), 1-15.
Krejcie, R.V. & Morgan, D.W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30, 607-610.
Nutbeam D. (2009). Defining and measuring health literacy: What can we learn from literacy studies? Int. J Public Health, 54, 303-305.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยคริสเตียน
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.