การเปลี่ยนผ่านด้านดิจิทัลของธุรกิจการประเมินมูลค่าทรัพย์สินในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ชิษณุพงศ์ ทองพวง สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและเอกชน มหาวิทยาลัยคริสเตียน
  • ปภากร สุวรรณธาดา สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและเอกชน มหาวิทยาลัยคริสเตียน

คำสำคัญ:

การวิเคราะห์องค์ประกอบ, การเปลี่ยนผ่านด้านดิจิทัล, ธุรกิจการประเมินมูลค่าทรัพย์สิน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การเปลี่ยนผ่านด้านดิจิทัลของธุรกิจการประเมินมูลค่าทรัพย์สินในประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่นักประเมินมูลค่าทรัพย์สิน จำนวน 317 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามเป็นแบบมาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามการวิจัยแสดงด้วยค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาคเท่ากับ 0.90 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน  

ผลการวิจัย พบว่า การเปลี่ยนผ่านด้านดิจิทัลของธุรกิจการประเมินมูลค่าทรัพย์สินในประเทศไทย ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ เรียงลำดับความสำคัญดังนี้ 1) ความพร้อมด้านระบบดิจิทัล 2) ด้านภาวะผู้นำดิจิทัล 3) ด้านการปฏิบัติเป็นมาตรฐานการจัดการด้านดิจิทัล 4) ด้านการบริหารการเปลี่ยนแปลงด้านดิจิทัล 5) ด้านการออกแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์ด้วยระบบดิจิทัล และ 6) ด้านการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ซึ่งผลการตรวจเพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโครงสร้างเชิงองค์ประกอบการเปลี่ยนผ่านด้านดิจิทัลของธุรกิจการประเมินมูลค่าทรัพย์สินในประเทศไทยกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พบว่า ค่าวัดระดับความกลมกลืน คือ Chi-square (χ2) = 699.969, df = 0.699, χ2/df (CMIN/DF) = 0.895, RMR = 0.011, RMSEA = 0.000, GFI = 0.929, AGFI = 0.901, TLI= 1.000 และ CFI = 1.000 แสดงว่าโครงสร้างองค์ประกอบการเปลี่ยนผ่านด้านดิจิทัลของธุรกิจการประเมินมูลค่าทรัพย์สินในประเทศไทย เชิงยืนยัน มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ดังนั้นผู้บริหารของธุรกิจการประเมินมูลค่าทรัพย์สินควรให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาสู่การเปลี่ยนผ่านด้านดิจิทัลของธุรกิจการประเมินมูลค่า การปรับเปลี่ยนคุณลักษณะองค์กร เพื่อตอบสนองต่อสิ่งเร้าของบริบทโลกาภิวัตน์ที่มีการเปลี่ยนผ่านด้านดิจิทัลเพื่อตอบสนองความต้องการและความพึงพอใจของลูกค้าเพื่อความอยู่รอด และความสามารถเชิงการแข่งขันขององค์กร

References

กริช แรงสูงเนิน. (2554). การวิเคราะห์ปัจจัยด้วย SPSS และ AMOS เพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

จันทร์จิรา เหลาราช. (2564). ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการปรับเปลี่ยนสู่องค์กรดิจิทัล. วารสารสารสนเทศศาสตร์, 39(4), 1-14.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2560). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. (พิมพ์ครั้งที่ 17). กรุงเทพฯ: บิสซิเนส อาร์แอนด์ดี.

ภานุพงศ์ นิลตะโก. (2561). ความรู้และความสามารถของนักประเมินราคาทรัพย์สินต่อกระบวนการประเมินราคาทรัพย์สิน. วารสารวิจัยรำไพพรรณี, 12(2), 161-166.

ภัทรานิษฐ์ ก้อนจันทร์เทศ. (2564). การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล (Digital Transformation) ต่อความยั่งยืนของธุรกิจร้านอาหาร SME : ในบริบทของการแพร่ระบาดของโรคโควิด – 19. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). สืบค้นจาก https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/4211

รุ่งเกียรติ รัตนบานชื่น. (2565). ทักษะด้านดิจิทัลและระดับการเปลี่ยนผ่านด้านดิจิทัลของผู้ประกอบธุรกิจรายย่อยและขนาดเล็กในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วงศ์ผกา กลอนสุด. (2561). การเปลี่ยนแปลงรูปแบบองค์กรด้วยกระบวนการทางดิจิทัล กรณีศึกษา ธนาคารพาณิชย์แห่งหนึ่ง. (การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์). สืบค้นจาก https://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2018/TU_2018_6023036152_9548_9832.pdf

อภินันท์ จันตะนี และประพันธ์ แสงทองดี. (2565). วัฒนธรรมองค์กรในยุคดิจิทัล. วารสาร มจร. ภาษาและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 12(1), 52-62.

Krejcie, R.V., & D.W. Morgan. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Likert, R.. (1967). The method of constructing and attitude scale. In Reading in Fishbeic, M (Ed.). Attitude theory and measurement (pp. 90-95). New York: Wiley & Son.

Matt, C., Hess, T. & Benlian, A. (2015). Digital transformation strategies. Business and Information Systems Engineering, 57(5), 339-343.

Osmundsen, K., Iden, J., & Bendil B. (2018). Digital transformation: Drivers, success, factors, and implications. The 12th Mediterranean Conference on Information Systems (MCIS), Corfu, Greece (pp. 1-15). Greece: AIS Electronic Library (AISeL).

Reis João, Marlene Amorim, Nuno Melão & Patrícia Matos. (2018). Digital transformation: A literature review and guidelines for future research. Trends and Advances in Information Systems and Technologies, 2(1), 411-421. Retrieved from https://www.researchgate.net/ publication/323994364_Digital_Transformation_A_Literature_Review_and_Guidelines_for_Future_Research

Wang, Y., Kung, L. A., & Byrd. T. A. (2018). Big data analytics: Understanding its capabilities and potential benefits to healthcare organizations. Technology Forecasting and Social Change, 126(1), 3-13.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-03