โมเดลความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความมั่นคงในการทำงาน ความมุ่งมั่นทุ่มเทในงาน และผลการปฏิบัติงานของผู้แนะนำการลงทุนในประเทศไทย
คำสำคัญ:
การรับรู้ความมั่นคงในการทำงาน, ความมุ่งมั่นทุ่มเทในงาน, ผลการปฏิบัติงาน, การลงทุนบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปริมาณนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโมเดลความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ความมั่นคงในการทำงาน ความมุ่งมั่นทุ่มเทในงาน และผลการปฏิบัติงานของผู้แนะนำการลงทุนในประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้แนะนำการลงทุนในประเทศไทย จำนวน 397 คน และได้มาด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสอบถามการรับรู้ความมั่นคงในการทำงาน ความมุ่งมั่นทุ่มเทในงาน และผลการปฏิบัติงานของผู้แนะนำการลงทุนในประเทศไทย มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าครอนบาคของแบบสอบถามเท่ากับ 0.96 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยายและสถิติการวิเคราะห์เส้นทาง
ผลการวิจัยพบว่า การรับรู้ความมั่นคงในการทำงานมีอิทธิพลทางตรงต่อความมุ่งมั่นทุ่มเทในงาน (β= 0.25, p< 0.05) การรับรู้ความมั่นคงในการทำงานมีอิทธิพลทางตรงต่อผลการปฏิบัติงาน (β= 0.17, p< 0.05) ความมุ่งมั่นทุ่มเทในงานมีอิทธิพลทางตรงต่อผลการปฏิบัติงาน (β= 0.31, p< 0.05) และการรับรู้ความมั่นคงในการทำงานมีอิทธิพลทางอ้อมต่อผลการปฏิบัติงานของผู้แนะนำการลงทุนในประเทศไทยโดยผ่านความมุ่งมั่นทุ่มเทในงาน (β= 0.08, p< 0.05) และการรับรู้ความมั่นคงในการทำงาน ความมุ่งมั่นทุ่มเทในงาน และผลการปฏิบัติงานของผู้แนะนำการลงทุนในประเทศไทยมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (CMIN/DF = 1.32 GFI = 0.96 AGFI = 0.91 RMSEA = 0.05 RMR = 0.01 CFI =.0.97) ดังนั้น หากผู้แนะนำการลงทุนในประเทศไทยมีความมุ่งมั่นทุ่มเทในงานก็จะส่งผลให้ผลการปฏิบัติงานมีประสิทธิผล สร้างความมั่นคงในการทำงานได้อย่างยั่งยืน
References
กริช แรงสูงเนิน. (2554). การวิเคราะห์ปัจจัยด้วย SPSS และ AMOS เพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ:บริษัท ซี.เอ็ดยูเคชั่นจำกัด (มหาชน).
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2560). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. (พิมพ์ครั้งที่ 17). กรุงเทพฯ : บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.
บุญชัย อาทิตย์ตั้ง. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของบุคลากรสายวิชาการ มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, มหาสารคาม.
ปิยฉัตร กุลทัพ. (2550). การสร้างความมั่นคงทางอาชีพในทัศนะของพนักงานธนาคารพัฒนาวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.
พรรณิภา องค์มณีโชติ. (2554). ความมั่นคงในการประกอบอาชีพของพนักงานส่งเอกสาร. (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.
มานัดถ์ บุญปาน. (2560). ความมั่นคงในการทํางานของพนักงานรับเหมาช่วงเครือซีแพคในพื้นที่ภาคตะวันออก. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.
รติรัตน์ ภาสดา. (2559). ความมั่นคงในการทำงานและความจงรักภักดีของพนักงานเงินรายได้สายสนับสนุนวิชาการภายหลังมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ. (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณทิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.
วิกรม อัศวิกุล. (2541). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความรู้สึกมั่นคงในการทำงานและผลความรู้สึกมั่นคงในการทำงานที่มีต่อความทุ่มเทให้กับงานและความตั้งใจที่จะลาออกจากงานของพนักงาน. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.
สายทิพย์ เหล่าทองมีสกุล. (2540). โมเดลสมการโครงสร้างของความมีใจรักงานของครู: การศึกษาเปรียบเทียบความหลากหลายของช่วงวัย. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, กรุงเทพฯ.
สุคนธ์ทิพย์ อินทรกมล, สุมาลี รามนัฏ และธัญนันท์ บุญอยู่. (2565). อิทธิพลของแรงจูงใจในการทำงานและความมุ่งมั่นทุ่มเทในงานที่อยู่ในฐานะตัวแปรคั่นกลางระหว่างความฉลาดทางอารมณ์สู่ผลการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัทอุตสาหกรรมชิ้นส่วนรถยนต์แห่งหนึ่งในจังหวัดระยอง. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 12(1), 60-69.
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์. (2565). สถิตินักวิเคราะห์การลงทุน/ผู้แนะนำการลงทุนที่ได้รับความเห็นชอบ. สืบค้นจาก https://market.sec.or.th/public/orap/IC05.aspx?lang=th
Koopmans, L., Bernaards, C. M., Hildebrandt, V. H., Schaufeli, W. B., Der Vet, H. C. W., & VanDer Beek, A. J. (2011). Conceptual frameworks of Individual work performance a systematic review. Journal of Environmental Medicine, 53(8), 586-866.
The Ken Blanchard Companies. (2009). From engagement to work passion: A deeper understanding of the work passion framework. White paper. Perspectives. Global headquarters. Retrieved from http://www.kenblanchard.com
Vance, R. J. (2006). Employee engagement and commitment. Retrieved from https://docplayer.net/13469989-Employee-engagement-and-commitment.html
Walton, R. E. (1975). Criteria for quality of working life. In Loues E. Davis and Albert B. Cherns (Eds.). The quality of working life. New York: Free Press.
Yamane, Taro. (1973). Statistics: An introductory analysis. New York: Harper & Row.
Zigarmi, D., Houson, D., Witt, D., & Diehl, J. (2011). Employee work passion: Volume 3. Retrieved from http://www.kenblanchard.com/img/pub/Blanchard_Employee_Passion_Vol_3.pdf
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยคริสเตียน
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.