องค์ประกอบองค์กรแห่งนวัตกรรมของโรงพยาบาลเอกชนในประเทศไทย
คำสำคัญ:
การวิเคราะห์องค์ประกอบ, องค์กรแห่งนวัตกรรม, โรงพยาบาลเอกชนในประเทศไทยบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบองค์กรแห่งนวัตกรรมของโรงพยาบาลเอกชนในประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่เจ้าหน้าที่ระดับบริหารโรงพยาบาลเอกชนในประเทศไทย จำนวน 384 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามเป็นแบบมาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามการวิจัยแสดงด้วยค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาคเท่ากับ 0.92 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน
ผลการวิจัย พบว่า องค์ประกอบองค์กรแห่งนวัตกรรมของโรงพยาบาลเอกชนในประเทศไทย ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ เรียงลำดับความสำคัญดังนี้ (1) ด้านภาวะผู้นำ (2) ด้านโครงสร้างองค์กร (3) ด้านวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ (4) ด้านวัฒนธรรมองค์กร (5) ด้านการสื่อสาร และ (6) ด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งผลการตรวจเพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโครงสร้างเชิงองค์ประกอบองค์กรแห่งนวัตกรรมของโรงพยาบาลเอกชนในประเทศไทยกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พบว่า ค่าวัดระดับความกลมกลืน คือ Chi-square (χ2) = 599.060, df = 0.678, χ2/df (CMIN/DF) = 0.875, RMR = 0.011, RMSEA = 0.000, GFI = 0.922, AGFI = 0.902, TLI= 1.000 และ CFI = 1.000 แสดงว่าโครงสร้างองค์ประกอบองค์กรแห่งนวัตกรรมของโรงพยาบาลเอกชนในประเทศไทยเชิงยืนยัน มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ดังนั้นผู้บริหารของโรงพยาบาลเอกชนในประเทศไทยควรให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาสู่องค์กรแห่งนวัตกรรม การปรับเปลี่ยนคุณลักษณะองค์กร เพื่อตอบสนองต่อสิ่งเร้าของบริบทโลกาภิวัตน์ที่มีความรู้และนวัตกรรมเป็นปัจจัยหลักในการเพิ่มคุณค่า พัฒนาการบริการที่ดีให้มีคุณภาพ เพื่อตอบสนองความต้องการและความพึงพอใจของลูกค้าเพื่อความอยู่รอด และความสามารถเชิงการแข่งขันขององค์กร
References
กระทรวงอุตสาหกรรม. (2555). การจัดการทรัพยากรมนุษย์. สืบค้นจาก http://lobrary.dip.go.th/Industrial%20Innovation/www/inno1-07.html
กริช แรงสูงเนิน. (2554). การวิเคราะห์ปัจจัยด้วย SPSS และ AMOS เพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ชิษณุพงศ์ ทองพวง และไพศาล จันทรังษี. (2566). การวิเคราะห์องค์ประกอบองค์การแห่งนวัตกรรมของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 12(2), 76-91.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2560). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. (พิมพ์ครั้งที่ 17). กรุงเทพฯ: บิสซิเนส อาร์แอนด์ดี.
รมิดา ถิรปาลวัฒน์. (2557). ความเป็นองค์กรนวัตกรรมและความสามารถทางนวัตกรรมของพยาบาลวิชาชีพ. วารสารวิทยาลัยพยาบาลกองทัพเรือ, 13(2), 13-17.
รัตนวดี โมรากุล, ดวงใจ ชนะสิทธ, นภาเดช บุญเชิดชู และอรพรรณ ตู้จินดา. (2560). การวิเคราะห์องค์ประกอบองค์การแห่งนวัตกรรมของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. Veridian E-Journal, 10(2), 41-55.
วุฒิพงษ์ ภักดีเหลา. (2554). การศึกษาคุณลักษณะขององค์การนวัตกรรม: กรณีศึกษาองค์การที่ได้รับ รางวัลด้านนวัตกรรม. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต) สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, กรุงเทพฯ.
ศศิประภา ชัยประสิทธิ์. (2553). องค์กรแห่งนวัตกรรม: ทางเลือกของผู้ประกอบการยุคใหม่. วารสารนักบริหาร, 30(2), 60-63.
ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจ ธนาคารออมสิน. (2562). ธุรกิจและเศรษฐกิจฐานราก. สืบค้นจาก https://www.gsbresearch.or.th/wp-content/uploads/2018/12/IN_hospital_12_61_detail.pdf
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2561). ธุรกิจโรงพยาบาลเอกชน ในปี 2564. สืบค้นจาก https://www.kasikornresearch.com/th/analysis/k-econ/business/Pages/z3167-Hospital.aspx
สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ. (2553). นวัตกรรม: ความหมาย ประเภท และความสำคัญ ต่อการเป็นผู้ประกอบการ . สืบค้นจาก http://www.jba.tbs.tu.ac.th/files/Jba128/Article/JBA128Somnuk.pdf
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2560). การสำรวจโรงพยาบาลและสถานพยาบาลเอกชน พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ: กองสถิติเศรษฐกิจ สำนักงานสถิติแห่งชาติ.
Christiansen, James A. (2000). Building the innovative organization: Management systems that encourage innovation. Hampshire: Macmillan Press.
Harvard Business School. (2003). Managing creativity and innovation. Boston: Harvard Business School Press.
Krause, D. (2004). Influence-based leadership as a determinant of the inclination to innovate and of innovation-related behaviors: An empirical investigation. The Leadership Quarterly, 15(1), 79-102.
Likert, R. & Likert, J. (1976). New ways of managing conflict. New York: McGraw – Hill.
Morris, M.H., Kuratko, D.F. & Covin, J.G. (2008). Corporate entrepreneurship & Innovation, entrepreneurial development within organizations. (2nded.). Thomson South-Western: McGraw – Hill.
Porter, Michael E. (1980). Competitive strategic technique for analyzing industrial and competitors. New York: The Five Force Free Press.
Tidd, J., Bessant, J. & Pavitt, K. (2001). Managing innovation integrating technological market and organization change. Chichester: John Willey & Sons.
Wong, S. Y., & Chin, K. S., (2007). Organizational innovation management an organization-wide perspective. Industrial Management & Data Systems, 107(9), 1.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 มหาวิทยาลัยคริสเตียน
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.