การจัดการเชิงพหุวัฒนธรรมของผู้บริหารการพยาบาลระดับต้นโรงพยาบาลเอกชน : การศึกษาปรากฏการณ์วิทยา

ผู้แต่ง

  • พัชราพร ตาใจ อาจารย์ประจำ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน
  • เนตรชนก ศรีทุมมา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน
  • เพชรน้อย สิงห์ช่างชัย ศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน
  • ทินกร จังหาร อาจารย์ประจำ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน

คำสำคัญ:

การจัดการเชิงพหุวัฒนธรรม, ผู้บริหารการพยาบาล, โรงพยาบาลเอกชน, ปรากฏการณ์วิทยา

บทคัดย่อ

        การวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงคุณภาพแบบปรากฏการณ์วิทยา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อบรรยายความหมายและองค์ประกอบของการจัดการเชิงพหุวัฒนธรรมตามประสบการณ์ของผู้บริหารการพยาบาลระดับต้นโรงพยาบาลเอกชน ผู้ให้ข้อมูลในการวิจัย คือ ผู้บริหารการพยาบาลระดับต้นที่มีประสบการณ์การบริหารงานอย่างน้อย 3 ปี จำนวน 10 ราย โดยคัดเลือกแบบเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาด้วยวิธีการโคไลซี่ และตรวจสอบคุณภาพข้อมูลใช้วิธีการแบบสามเส้าหลาย ๆ วิธี

        ผลการวิจัยพบว่า ความหมายการจัดการเชิงพหุวัฒนธรรม หมายถึง การทำให้คนที่มาจากวัฒนธรรมที่ต่างกันจากหลากหลายพื้นที่สามารถทำงานร่วมกันได้โดยไม่เกิดความขัดแย้ง องค์ประกอบการจัดการเชิงพหุวัฒนธรรม แบ่งเป็น 4 กลุ่ม ประกอบด้วย 1) การปรับทัศนคติของบุคคล 2) การเข้าใจลักษณะของรุ่นอายุ 3) การมอบหมายงานให้สอดคล้องกับบุคคล และ 4) การจัดการความขัดแย้ง ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่าการจัดการเชิงพหุวัฒนธรรมของผู้บริหารการพยาบาลในโรงพยาบาลเอกชน มุ่งเน้นการจัดการความแตกต่างในเรื่องรุ่นอายุ และความแตกต่างทางศาสนา ดังนั้นผู้บริหารการพยาบาลระดับต้นในโรงพยาบาลเอกชนควรได้รับการเตรียมความพร้อมให้มีสมรรถนะการจัดการเชิงพหุวัฒนธรรม โดยเน้นการบริหารบุคคลที่มีความหลากหลายรุ่นอายุและความแตกต่างทางศาสนา เพื่อลดความขัดแย้งและมอบหมายงานอย่างมีประสิทธิภาพ

References

กัญญดา ประจุศิลป. (2561). การจัดการทางการพยาบาลและภาวะผู้นำ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

จารึก สระอิส, โอภาส เกาไศยาภรณ์, อดิศร ศิริ และ ณรงค์ศักดิ์ รอบคอบ. (2566). การพัฒนาตัวบ่งชี้สมรรถนะระหว่างวัฒนธรรมที่พึงประสงค์ของผู้ฝึกสอนกีฬาเทควันโด ในจังหวัดชายแดนใต้. วารสารพุทธจิตวิทยา, 8(1), 82-96.

นิตยา ละอองศรี, ชาลิสา โพธิ์นิ่มแดง และ สุวรี ฤกษ์จารี. (2560). การศึกษาสมรรถนะพหุวัฒนธรรมของนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษาระดับชาติและนานาชาติ (น. 1875-1888). สืบค้นจาก https://gsbooks.gs.kku.ac.th/60/nigrc2017/pdf/HMP40.pdf

บุญฑริกา วงษ์วานิช และ ทิพย์รัตน์ เลาหวิเชียร. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการความขัดแย้งและพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กร ของพนักงานในสวนอุตสาหกรรมโรจนะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิชาการมทร. (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 4(1), 12-22.

พิมลพรรณ เชื้อบางแก้ว. (2554). การบริหารความหลากหลายของบุคลากรในองค์การ: กลยุทธ์การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในยุคเศรษฐกิจสร้างสรรค์. วารสารนักบริหาร มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 31(1), 153-159.

พิมพ์ณดา เลิศปกรณ์ธีรทัต. (2562). ทัศนคติที่มีต่อการทำงานร่วมกับคนต่างวัยของประชากรที่มีงานทำในเขตกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง, กรุงเทพฯ.

เพชรน้อย สิงห์ช่างชัย. (2552). หลักการและการใช้วิจัยเชิงคุณภาพสำหรับทางการพยาบาลและสุขภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 3). สงขลา: ชานเมืองการพิมพ์.

วรัญญา กลัวผิด และ อมรินทร์ เทวตา (2561). การจัดการความขัดแย้งที่สงผลตอการเป็นองคการแห่งการเรียนรู้ของ บมจ. ธนาคารกรุงไทย สังกัดพื้นที่กลุ่มเครือข่ายภาคกลาง. วารสารการประชุมนําเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา, 11, 170-181.

วิโรจน์ สุวรรณประไพ. (2565). ทัศนคติที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของบุคลากรภาครัฐ ในหน่วยงานเทศบาลเมืองกระบี่. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา.

สุภาพร เวียงสีมา และ นเรนทร์ฤทธิ์ ผาจันทร์. (2563). การพัฒนารูปแบบการมอบหมายงานในหอผู้ป่วยในชายโรงพยาบาลโพนพิสัย. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี, 28(3), 336-347.

สุรีพร แซ่หนึง. (2561). การบริหารพยาบาลรุ่นอายุแซดในทีมการพยาบาล: ประสบการณ์ของหัวหน้าหอผู้ป่วยโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยในกำกับรัฐแห่งหนึ่ง. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

สุวรรณ์ จําปาคง และ ภาวิณี เพชรสว่าง. (2561). ผลกระทบของค่านิยมตามมิติทางวัฒนธรรมที่มีต่อ ผลการปฏิบัติงานขององค์กร บริษัทรับเหมาก่อสร้างจากประเทศญี่ปุ่นในสำนักงานประเทศสิงคโปร์. วารสารการประชุมนําเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา, 13, 193-204.

หทัยรัตน์ ชลเจริญ, พวงผกา คงวัฒนานนท์ และวนลดา ทองใบ. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสมรรถนะการพยาบาลข้ามวัฒนธรรมของพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชนในการดูแลผู้รับบริการมุสลิม. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 26(1), 69-78.

ÖZGENEL, M., & METLÄ°LO, E. (2021). Cross-cultural comparison of teachers’ attitudes toward educational researches: The case of Turkey and Kosovo. Prizren Social Science Journal, 5(1), 52–69.

Bragadóttir H, Kalisch BJ, Flygenring BG, & Tryggvadóttir GB. (2023). The relationship of nursing teamwork and job satisfaction in hospitals. SAGE Open Nursing, 9, 1-12.

Colaizzi, P.F. (1978). Psychological research as a phenomenologist views it. In Valle, R.S. and King, M. (Eds), Existential-phenomenological alternatives for psychology (pp. 48-71). Oxford University Press, New York.

Dartey-Baah, K. (2013). The cultural approach to the management of the international human resource: An analysis of Hofstede’s cultural dimensions. International Journal of Business Administration, 4(2), 39.

Glass, Amy. (2007). Understanding generational differences for competitive success. Industrial and Commercial Training, 39(2), 98–103.

Hofstede, G. (1991). Cultures and organizations: Software of the mind. Berkshire, England: McGraw-Hill Book Company Europe.

Hofstede, G. (1984). The cultural relativity of the quality-of-life concept. The Academy of Management Review, 9(3), 389-398.

John, U. (2020). Effective delegation and its impact on employee performance. International Journal of Economics and Business Administration, 6(3), 78-87.

Kumar, S. & Dhir, A. (2020). Associations between travel and tourism competitiveness and culture. Journal of Destination Marketing and Management, 18, 1-11.

Soderberg, A.-M.; Holden, N. (2002). Rethinking cross cultural management in a globalizing. Business World, 2(1), 103–121.

Sultana, M.A., Rashid, M.M., Mohiuddin, M., & Mazumder, MNH. (2013). Cross-cultural management and organizational performance: A content analysis perspective. Journal of International Business and Management, 8(8), 133-146.

Thakore, D. (2013). Conflict and conflict management. IOSR Journal of Business and Management, 8, 7-16.

Yukl, G., & Fu, P. P. (1999). Determinants of delegation and consultation by managers. Journal of Organizational Behavior, 20(2), 219–232.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-04