ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันในองค์กรของพนักงานกลุ่มเจเนอเรชัน Z บริษัทเบนช์มาร์ค อิเลคทรอนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

ผู้แต่ง

  • ปารมี ตันติพานิช นิสิตหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และชุมชน คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • จุฑาทิพย์ ถาวรรัตน์ อาจารย์ประจำ คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ศุภรักษ์ อธิคมสุวรรณ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

ความผูกพันในองค์กร, พนักงานกลุ่มเจเนอเรชัน Z

บทคัดย่อ

         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันในองค์กรของพนักงาน 2) ศึกษาระดับความผูกพันในองค์กรของพนักงาน และ 3) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันในองค์กรของพนักงาน กลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานบริษัทเบนช์มาร์ค อิเลคทรอนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) กลุ่มเจเนอเรชัน Z ที่เกิดในปี พ.ศ. 2539-2547 จำนวน 175 คน ใช้วิธีสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม มีค่าความตรงระหว่าง 0.67-1.00 ค่าความเชื่อมั่น 0.856 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน

         ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยด้านความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนร่วมงานอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนด้านความสำเร็จในการทำงาน ลักษณะของงาน ความก้าวหน้า นโยบายและการบริหารงาน การบังคับบัญชา สภาพแวดล้อมทางกายภาพในการทำงาน ความมั่นคง และค่าตอบแทนและสวัสดิการ อยู่ในระดับมาก 2) ความผูกพันในองค์กรของพนักงาน อยู่ในระดับมาก และ 3) ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันในองค์กร มี 4 ตัวแปร ได้แก่ (1) ความมั่นคง (2) ความสำเร็จในการทำงาน (3) ค่าตอบแทนและสวัสดิการ และ (4) ตำแหน่งงานช่างเทคนิค สามารถร่วมกันทำนายความผูกพันในองค์กรของพนักงานกลุ่มเจเนอเรชัน Z บริษัท เบนช์มาร์ค อิเลคทรอนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ได้ร้อยละ 73.0 (R2 = 0.730)

         บริษัทเบนช์มาร์คฯ ควรจะต้องให้ความสำคัญในการหาแนวทางส่งเสริมปัจจัยด้านความสำเร็จในงาน ความมั่นคง ค่าตอบแทนและสวัสดิการ และตำแหน่งงานช่างเทคนิค เพื่อเสริมสร้างความผูกพันในองค์กรสำหรับธำรงรักษาหรือวางแผนการรับพนักงานกลุ่มเจเนอเรชัน Z

References

กนิษฐา นาคแดง. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันในองค์กร กรณีศึกษา บริษัท ถนอมวงศ์บริการ จำกัด. (การค้นคว้าแบบอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.

กองบริหารทรัพยากรบุคคล. (2562). รายงานการสำรวจความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรในสำนักงานปลัดกระทรวง สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงคมนาคม พ.ศ. 2562. สืบค้นจาก https://complain.mot.go.th/prproject/files_upload/publishonweb/เล่มรายงานสำรวจความผูกพันต่อองค์กร-สปค-สรค2562.pdf

บริษัทเบนช์มาร์ค อิเลคทรอนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน). (2565). ข้อมูลพนักงานแผนกทรัพยากรมนุษย์. [ไฟล์ประเภท Excel]. (ม.ป.ท.).

ธนพร ปทุมรังสรรค์. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการคงอยู่ในองค์การของพนักงานกลุ่ม Generation Y : กรณีศึกษากลุ่มธุรกิจออนไลน์แห่งหนึ่ง. (การค้นคว้าแบบอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.

ธิติมา ไชยมงคล. (2562). รู้ทันปัญหา Gen Z เป็นเรื่องง่าย ๆ แค่เข้าใจ. สืบค้นจาก https://www.prachachat.net/csr-hr/news-382415

พัชร์หทัย จารุทวีผลนุกูล. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันในองค์กรของพนักงาน บริษัทเอสเอส เค โลจิสติกส์ จำกัด. วารสารวิชาการสังคมศาสตร์เครือข่ายวิจัยประชาชื่น, 2(3), 27-39.

พัทธนันท์ รุ่งเรือง. (2562). ปัจจัยจูงใจที่มีผลต่อความผูกพันในองค์กรของพนักงานคนเก่งบริษัทแห่งหนึ่งในนิคมสวนอุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์ศรีราชา จังหวัดชลบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

สุรมน จันทร์เจริญ. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันในองค์กรของบุคลากรกองบัญชาการศึกษาสำนักงานตำรวจแห่งชาติ. วารสารรัชต์ภาคย์, 13(31), 221-231.

อภิชา อินสุวรรณ, ณัฐหรินทร์ แพทยานนท์, ฐิติพร ฐิติจำเริญพร และปนัดดา เดชวงศ์ญา. (2561). การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในแต่ละช่วงวัยบนพื้นฐานของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 และไทยแลนด์ 4.0 โมเดล. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 28(2), 21-39.

Herzberg, F. (1959). The motivation to work. New York: Wiley.

Fromm, A. R. (2018). Marketing to Gen Z: The rules for reaching this vast and very different generation of influencers. New York: AMACOM.

Kotter P. and Cohen S. (2021). The heart of change: Real-life stories of how people change their organizations. London: Harvard Business Review Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-16