การพัฒนาเครื่องทดสอบการเคลื่อนไหวด้วยระบบคอมพิวเตอร์เพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพที่สัมพันธ์กับทักษะด้านความคล่องแคล่วว่องไว

ผู้แต่ง

  • นวลตอง อนุตตรังกูร คณะวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยคริสเตียน
  • ศุภชัย ยิ่งเจริญ คณะวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยคริสเตียน
  • จิรสิน จินดามรกฎ คณะวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยคริสเตียน
  • รุ่งฟ้า เทียมกลาง คณะวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยคริสเตียน

คำสำคัญ:

ปฏิกิริยาตอบสนอง, ความคล่องแคล่วว่องไว, เครื่องมือฝึกทักษะ, สมรรถภาพที่สัมพันธ์กับทักษะ

บทคัดย่อ

         การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาและทดสอบความแม่นยำของเครื่องทดสอบการเคลื่อนไหวด้วยระบบคอมพิวเตอร์ โดยประยุกต์ใช้ควบคู่กับแผ่น 5 จุด (Dot drill) เพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพที่สัมพันธ์กับทักษะด้านความคล่องแคล่วว่องไว เพื่อให้มีความสอดคล้องกับสถานการณ์จริงในทักษะกีฬา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นอาสาสมัครเพศชายที่มีสุขภาพดี (อายุ 19.4±1.6 ปี น้ำหนัก 73±12.4 กิโลกรัม ส่วนสูง 177.4±4.7 เซนติเมตร) จำนวน 30 คน ทำการสุ่มเพื่อทดสอบการกระโดดด้วยแผ่น 5 จุด (Dot drill) โดยกระโดดตามจังหวะจากเครื่องกำเนิดเสียงที่ 3 จังหวะได้แก่ 100, 120 และ 140 ครั้งต่อนาที และเคลื่อนไหวตามทิศทางที่ผู้วิจัยกำหนด ซึ่งข้อมูลทั้งหมดถูกตรวจสอบและบันทึกด้วยเครื่องทดสอบการเคลื่อนไหวด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ผลการวิจัยพบว่า การทดสอบการกระโดดที่จังหวะ 100 ครั้งต่อนาที มีค่าความแม่นยำร้อยละ 94.70 ที่จังหวะ 120 ครั้งต่อนาที มีค่าความแม่นยำร้อยละ 86.44 และที่จังหวะ 140 ครั้ต่อนาที มีค่าความแม่นยำร้อยละ 78.84 สรุปได้ว่าเครื่องทดสอบการเคลื่อนไหวด้วยระบบคอมพิวเตอร์ โดยประยุกต์ใช้ควบคู่กับแผ่น 5 จุด (Dot drill) สามารถนำมาใช้ในการทดสอบและฝึกการเคลื่อนไหวของนักกีฬาเพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพกับทักษะด้านความคล่องแคล่วว่องไวได้

References

กัณฑิมา เนียมโภคะ. (2546). ผลการฝึกความเร็วของสเต็ปเท้าในรูปแบบต่าง ๆ ที่มีต่อความสามารถในการวิ่งระยะทาง 50 เมตร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

คมกริช เชาว์พานิชม, ศิริชัย ศรีพรหม, พรเพ็ญ ลาโพธิ์ และวาสิฏฐี เทียมเท่าเกิด. (2556). แบบทดสอบและเกณฑ์สมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพสำหรับนิสิตชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน (รายงานผลการวิจัย). นครปฐม: คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน. สืบค้น 16 กันยายน 2565, จาก https://www. edu.kps.ku.ac.th/DBresearch/document/DB_RESEARCH/Research40.pdf

จุไรรัตน์ อุดมวิโรจน์สิน. (2550). ผลการฝึกความสัมพันธ์ระหว่างตากับมือด้วยเครื่อง EYE-HAND COORDINATION TRAINER กับโปรแกรมประยุกต์ตารางเก้าช่องที่มีต่อเวลาปฏิกิริยาตอบสนองในนักกีฬา เทเบิลเทนนิส. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

เจริญ กระบวนรัตน์. (2548). ความเป็นมาของตาราง 9 ช่อง กับการพัฒนาสมอง. กรุงเทพฯ: ภาควิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ณัฐวุฒิ ไวโรจนานันต์ และ ชาญชัย ขันติศิร. (2560). การสร้างเครื่องทดสอบเวลาปฏิกิริยาการตอบสนองของการทำงานระหว่างตากับการเคลื่อนไหวของร่างกายไปยังตำแหน่งเป้าหมายเพื่อใช้ในกีฬาแบดมินตัน. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์, 31(3), 165-74.

นรินทรา จันทศร. (2562). การพัฒนาความคล่องแคล่วว่องไวด้วยการฝึกพลัยโอเมตริก. วารสาร Humanities, Social Sciences and arts, 12(5), 582.

ศุภนิธิ ขำพรหมราช. (2560). การฝึกความคล่องแคล่วว่องไว. สืบค้น 16 กันยายน 2565, จาก https://popfitnessstudio.blogspot.com/2017/12/agility-training.html

Ando S, Kida N, & Oda S. (2002). Central and peripheral visual reaction time of soccer player and non athletes. Perceptual and Motor Skills, 95, 747-752. Retrived from http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/3493922

Bankosz Z, Nawara H, & Marcin O. (2013). Assessment of simple reaction time in badminton players. Trends in Sport Sciences, 1(20), 54-61.

Chavan N. & Shendkar D. (2016). A study of variations in an athlete’s reaction time performance based on the types of stimulus. International Journal of Physical Education, Sports and Health, 3, 79-83.

Everett J. (2008). Why dots: The dot drill. Retrieved 16 September 2023, from https://www.catalystathletics.com/article/44/Why-Dots-The-Dot-Drill

Shadmehr A, & Amiri S. (2012). Design and construction of a computerized based system for reaction time test and anticipation skill estimation. International Journal of Bioscience, Biochemistry and Bioinformatics, 2, 429-32.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-02