โมเดลความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ทักษะการสื่อสาร และพฤติกรรมทางด้านนวัตกรรมในการทำงานของพยาบาลหัวหน้างานโรงพยาบาลชุมชน
คำสำคัญ:
พฤติกรรมภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง, ทักษะการสื่อสาร, พฤติกรรมทางด้านนวัตกรรมในการทำงาน, พยาบาลหัวหน้างาน, โรงพยาบาลชุมชนบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปริมาณนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโมเดลความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ทักษะการสื่อสาร และพฤติกรรมทางด้านนวัตกรรมในการทำงานของพยาบาลหัวหน้างานโรงพยาบาลชุมชน กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลหัวหน้างานโรงพยาบาลชุมชน จำนวน 292 คน และได้มาด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย แบบสอบถามพฤติกรรมภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง แบบสอบถามทักษะการสื่อสาร และแบบสอบถามพฤติกรรมทางด้านนวัตกรรมในการทำงาน ค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาของแบบสอบถาม เท่ากับ 0.92, 0.89 และ 0.90 ตามลำดับ และค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าครอนบาคของแบบสอบถามเท่ากับ 0.98, 0.95 และ 0.95 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยายและสถิติการวิเคราะห์เส้นทาง
ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยของพฤติกรรมภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ทักษะการสื่อสาร และพฤติกรรมทางด้านนวัตกรรมในการทำงานของพยาบาลหัวหน้างานอยู่ในระดับมาก พฤติกรรมภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของพยาบาลหัวหน้างานมีอิทธิพลทางตรงต่อพฤติกรรมทางด้านนวัตกรรมในการทำงาน (β= 0.65, p< 0.05) และพฤติกรรมภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของพยาบาลหัวหน้างานมีอิทธิพลทางอ้อมต่อพฤติกรรมทางด้านนวัตกรรมในการทำงานโดยผ่านทักษะการสื่อสาร (β= 0.67, p< 0.05) พฤติกรรมภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของพยาบาลหัวหน้างานมีอิทธิพลทางตรงต่อทักษะการสื่อสาร (β= 0.75, p< 0.05) ทักษะการสื่อสารของพยาบาลหัวหน้างานไม่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมทางด้านนวัตกรรมในการทำงาน (β= 0.03) โมเดลความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ทักษะการสื่อสาร และพฤติกรรมทางด้านนวัตกรรมในการทำงานของพยาบาลหัวหน้างานในโรงพยาบาลชุมชนมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (c2/df= 0.00, Degree of freedom= 0, p-value= 1.00 RMSEA= 0.000) และเป็นโมเดลที่มีความสมบูรณ์เป็นที่ยอมรับและน่าเชื่อถือ และสามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมทางด้านนวัตกรรมในการทำงานได้ร้อยละ 44.89 (R2= 0.4489) ดังนั้นผู้บริหารระดับสูงในโรงพยาบาลชุมชนขนาดกลางควรมีการพัฒนาพฤติกรรมภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของพยาบาลหัวหน้างานโดยมุ่งเน้นทักษะการสื่อสารเพื่อปรับปรุงพฤติกรรมทางด้านนวัตกรรมในการทำงานของพยาบาลหัวหน้างานซึ่งอาจจะช่วยให้พยาบาลมีโอกาสในการสร้างสรรค์นวัตกรรมทางการพยาบาลต่อไป
References
กองบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. (2562). กรอบการจัดระดับขีดความสามารถของโรงพยาบาลชุมชนในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขตามแผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพระดับทุติยภูมิ. สืบค้นจาก https://phdb.moph.go.th/phdb2017/admin/files/.../files/9-article_20131003153342.doc
กัญญาวีณ์ โมกขาว, สุจิตรา เหลืองอมรเลิศ และนงลักษณ์ จินตนาดิลก. (2560). โมเดลความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง การสร้างความรู้ และผลการดำเนินงานการจัดการนวัตกรรมของหอผู้ป่วยโรงพยาบาลชุมชน. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 27(3), 163-175.
เกศกนก แสงอุบล, พัชราภรณ์ อารีย์ และเพชรน้อย สิงห์ช่างชัย. (2565). โมเดลความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ความสามารถด้านนวัตกรรมของผู้บริหารฝ่ายการพยาบาลต่อผลการดำเนินงานขององค์กรการพยาบาลในโรงพยาบาลเอกชน. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 15(3), 40-57.
ปราณี มีหาญพงษ์, สุจิตรา เหลืองอมรเลิศ และศากุล ช่างไม้. (2558). โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของผลการดำเนินงานในหอผู้ป่วยโรงพยาบาลทั่วไปสังกัดกระทรวงสาธารณสุข. วารสารพยาบาลทหารบก, 16(1), 78-86.
นภาพร สายชู, พัชราภรณ์ อารีย์, เนตรชนก ศรีทุมมา และเพชรน้อย สิงห์ช่างชัย. (2563). การวิเคราะห์เส้นทางของพฤติกรรมผู้นำการเปลี่ยนแปลงของหัวหน้าพยาบาล สภาพภูมิอากาศของทีมสำหรับนวัตกรรม พฤติกรรมการวางแนวตลาด และนวัตกรรมการบริการของหน่วยพยาบาลในโรงพยาบาลเอกชน. Thai Journal of Public Health, 50(3), 378-390.
ลักขณา ศรีบุญวงศ์, เพชรน้อย สิงห์ช่างชัย, พัชราภรณ์ อารีย์, นฤมล ปทุมารักษ์ และกรรณิการ์ ฉัตรดอกไม้ไพร. (2564). ภาวะผู้นําและพฤติกรรมสร้างนวัตกรรมในการทํางานในองค์กรภาครัฐ: การทบทวนอย่างเป็นระบบ. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 8(1), 1-11.
ลักขณา ศรีบุญวงศ์, เพชรน้อย สิงห์ช่างชัย และพัชราภรณ์ อารีย์. (2563). โมเดลความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงของหัวหน้าหอผู้ป่วย พฤติกรรมสร้างนวัตกรรมในการทํางานและผลการปฏิบัติงานตามหน้าที่ตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลทั่วไป. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก, 31(2), 96-111.
วรนุช วงค์เจริญ, เพชรน้อย สิงห์ช่างชัย และ จันทร์จิรา วงษ์ขมทอง. (2561). โมเดลสมการโครงสร้างของภาวะผู้นําของหัวหน้าหอผู้ป่วยในตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพและความผูกพันในงานกับผลการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลชุมชน. วารสารพยาบาลทหารบก, 19(3), 97-106.
วิจิตร ศรีสุพรรณ, วิลาวัณย์ เสนารัตน์ และ ขนิษฐา นันทบุตร. (2559). นวัตกรรมการสร้างเสริมสุขภาพภายใต้บทบาทของวิชาชีพการพยาบาล: โครงการขับเคลื่อนวิชาชีพพยาบาลเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักสนับสนุนการพัฒนาระบบสุขภาพ.
ศิริพร สิงหเนตร, จรวยพร ใจสิทธ์ และวิชยา เห็นแก้ว. (2560). ภาวะผู้นำการพยาบาลในศตวรรษที่ 21. วารสารนเรศวรพะเยา, 10(1),17-22.
ศูนย์การเรียนรู้นวัตกรรมทางการพยาบาล สถาบันการแพทย์ ศรีสวรินทิรา สภากาชาดไทย. (2553). คำจำกัดความ. สืบค้นจาก https://www.stin.ac.th/webN/page1.html
สถานบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2560). เกณฑ์มาตรฐานระบบบริการสุขภาพ ด้านอาคารและสภาพแวดล้อม. สืบค้นจาก https://dcd.hss.moph.go.th/web/attachments/article/248/151217_042853.pdf
สภาการพยาบาล. (2556). สมรรถนะผู้บริหารการพยาบาล. กรุงเทพฯ: บริษัท จุดทอง จำกัด.
สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ทำเนียบรัฐบาล. (2560). Thailand 4.0 ขับเคลื่อนอนาคตสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน. วารสารไทยคู่ฟ้า, 33, 1-43.
Afsar, B., Badir, Y.F., Saeed, B.B., & Hafeez, S. (2016). Transformational and transactional leadership and employee’s entrepreneurial behavior in knowledge–intensive industries. The International Journal of Human Resource Management, 114(8), 1270-1300.
Arif, S., Zubair, A., & Manzoor, Y. (2012). Innovative work behavior and communication climate among employees of advertising agencies. FWU Journal of Social Sciences, 6(1), 65-72.
Bass, B.M., & Riggio, R.E. (2006). Transformational leadership. (2nd ed.) Mahwah, NJ: Lawrence Erlbaum Associates, Publishers.
Basu, R., & Green, S.G. (1997). Leader member exchange and transformational leadership: An empirical examination of innovative behaviors in leader member dyads. Journal of Applied Social Psychology, 27(6), 477-499.
Best, J.W., & Kahn, J.V. (2006). Research in education. (10th ed.). Boston: Pearson Education, Inc.
Brislin, R. W. (1970). Back-translation for cross-cultural research. Journal of Cross-Cultural Psychology, 1(3), 185–216. Retrieved from https://doi.org/10.1177/135910457000100301.
Choi, S.B., Kim, K., Ullah, S.E., Kang, S.W. (2016). How transformational leadership facilitates innovative behavior of Korean workers: Examining mediating and moderating processes. Personnel Review, 45(3), 459–479.
Crawford, C.B., & Strohkirch, C.S. (2004). Transformational leader as person-centered communicator: Empirical findings and observations for leadership educators. Journal of Leadership Education, 3(1), 40-60.
De Jong, S.B., & Bruch, H. (2013). The importance of a homogeneous transformational leadership climate for organizational performance. International Journal of leadership Studies, 8(1), 61-78.
De Jong, J., & Den Hartog, D. (2010). Measuring innovative work behaviour. Creativity and Innovation Management, 19(1), 23-36.
DeVellis, R.F. (2012). Scale development: Theory and application. Newbury Park, CA: Sage.
Fowler, F.J. (2008). Survey research methods. (4th ed.). London: SAGE Publications.
Gray, J.R., Grove, S.K., & Sutherland, S. (2017). Burns and grove's the practice of nursing research: The appraisal, synthesis, and generation of evidences. (8th ed). St. Louis, Missouri: Elsevier.
Husain, Z. (2013). Effective communication brings successful organizational change. The Business & Management Review, 3(2), 43-50.
Ibrahim, S.A.El-A., Sayed, R.I.El., Attala, M.M., & Elmezin, N.K. (2016). Relationship between head nurses' leadership styles and staff nurses' job performance. Journal of Nursing and Science, 5(1), 66-74.
Krejcie, R.V., & Morgan, D.W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Luthra, A., & Dahiya, R., (2015). Effective leadership is all about communicating effectively: Connecting leadership and communication. International Journal of Management & Business Studies, 5(3), 43-48.
Marquis, B.L., & Huston, C.J. (2012). Leadership and management tools for the new nurses: A case study approach. (7th ed). Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins.
Marquis, B.L., & Huston, C.J. (2017). Leadership roles and management functions in nursing: Theory and application. (9th ed.). Philadelphia, PA: Lippincott, Williams & Wilkins.
Marquis, B.L., & Huston, C.J. (2021). Organization, interpersonal, and group communication. In B.L Marquis & C.J. Huston (Eds.), Leadership roles and management functions in nursing, theory and application 8th ed., (pp. 654-696). Philadelphia, PA: Wullters Kluwer Health.
Martins, E.C., & Terblanche, F. (2003). Building organizational culture that stimulates creativity & innovation. European Journal of Innovation Management, 6, 64-74.
Men, L. R. (2014). Strategic internal communication: Transformational leadership, communication channels, and employee satisfaction. Management Communication Quarterly, 28(2), 1-21.
Noruzy, A., Dalfard, V.M., Azhdari, B., Nazari-Shirkouhi, S., & Rezazadeh, A. (2013). Relations between transformational leadership, Organizational learning, Knowledge management, Organizational innovation, and organizational performance: An empirical investigation of manufacturing firms. International Journal of Advanced Manufacturing Technology, 64(4), 1073-1085.
Saichu, N., Aree, P., & Sritoomma, N. (2019). Development of indicators of the transformational leadership behavior of head nurses in private hospitals in Thailand. Journal of Public Health and Development, 17(3), 23-37.
Saichu, N., Aree, P., Sritoomma, N., & Singchungchai, P. (2020). Path analysis of transformational leadership behavior of head nurses, team climate for innovation, market orientation behavior and service innovation of nursing units in private hospitals, Thailand. Thai Journal of Public Health, 50(3), 378-390.
Sanders, K., Moorkamp, M., Torka, N., Groeneveld, S., & Groeneveld, C. (2010). How to support innovative behavior?. The role of LMX and satisfaction with HR practices. Technology and Investment, 1, 59-68.
Smith, M., Busi, M., Ball, P., & Meer, R. (2008). Factors influencing an organizations ability to manage innovation: A structured literature review and conceptual model. International Journal of Innovation Management, 12, 655-76.
Waltz, C.F., Strickland, O.L., & Lenz, E.R. (2017). Measurement in nursing and health research. New York: Springer Publishing Company.
Wood, J.T. (2009). Communication in Our Lives. (5th ed.) Boston, MA: Wadsworth Cengage Learning.
Zaremba, A. J. (2003). Organizational communication: Foundations for business & management. Mason, OH: Thomson South-Western.
Zulch, B. (2014). Leadership communication in project management, Proceedings 27th IPMA world congress on social and behavioral science 2014, university of the free state, bloemfontein, south africa. Retrieved from: http://www.sciencedirect.com/science/rticle/pii/S1877042814021120
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยคริสเตียน
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.