การพัฒนานวัตกรรมทางธุรกิจในกลุ่มผู้ผลิตและจัดจำหน่ายคอนกรีตผสมเสร็จแบบดั้งเดิม ของจังหวัดชลบุรี

ผู้แต่ง

  • โอริสสา ดิถีเพ็ญ นักศึกษา หลักสูตรบริหารธุรกิจดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น
  • ภัครดา เกิดประทุม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น

คำสำคัญ:

การพัฒนานวัตกรรมทางธุรกิจ, บริษัทผู้ผลิตและจัดจำหน่ายแบบดั้งเดิม, คอนกรีตผสมเสร็จ

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ลักษณะการบริการด้วยเทคโนโลยีของบริษัทต้นแบบที่ประสบความสำเร็จ 2) การพัฒนานวัตกรรมทางธุรกิจ 3) แนวทางการพัฒนานวัตกรรมทางธุรกิจของผู้ผลิตและจัดจำหน่ายคอนกรีตผสมเสร็จแบบดั้งเดิม และ 4) รูปแบบการตอบสนองความต้องการของผู้ผลิตและจำหน่ายคอนกรีตผสมเสร็จแบบดั้งเดิม ด้วยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญในจังหวัดชลบุรี จำนวน 21 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์แก่นสาระและเขียนบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า     

          1) ด้านการบริการธุรกิจด้วยเทคโนโลยี ผู้ให้ข้อมูลสำคัญทั้งหมดมีความคิดเห็นที่สอดคล้องกัน โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาบริการเทคโนโลยีทางธุรกิจใน 4 ด้าน ได้แก่ การสำรวจความต้องการของลูกค้า ความเข้าใจแนวทางการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และการทดสอบและปรับปรุงระบบอย่างต่อเนื่องและการประเมินความพึงพอใจของลูกค้า

          2) ด้านปัจจัยการพัฒนานวัตกรรมทางธุรกิจ ธุรกิจดั้งเดิมให้ความเห็นสอดคล้องกับธุรกิจต้นแบบ โดยให้ความสำคัญในระดับสูงใน 4 ปัจจัย ได้แก่ 1) การจัดการองค์กร 2) พันธมิตรทางธุรกิจ 3) คุณสมบัติของผลิตภัณฑ์และบริการ 4) การเข้าถึงของผู้บริโภคแต่มีการให้ความสำคัญในระดับต่ำกว่าความคาดหวังของลูกค้า โดยมีปัจจัย ดังนี้ 1) ระบบนิเวศทางธุรกิจ 2) บริการเสริม 3) การสร้างตราสินค้า ตามลำดับ

          3) ด้านแนวทางการพัฒนานวัตกรรมทางธุรกิจบนทรัพยากรขององค์กร ควรประกอบด้วย 4 ด้าน ได้แก่ 1) เทคโนโลยี 2) การลงทุน 3) วัสดุผลิตภัณฑ์ 4) ความเชี่ยวชาญด้านทรัพยากรบุคคล แต่มีความแตกต่างกันตามบริบทของแต่ละกลุ่ม

          4) รูปแบบความสำเร็จจากแนวทางการพัฒนานวัตกรรมทางธุรกิจ ประกอบด้วย 5 ปัจจัย ได้แก่ 1) บริการจัดส่งตรงเวลาและต่อเนื่อง 2) ราคาขาย 3) คุณภาพสินค้าที่สม่ำเสมอ 4) สะดวก ช่องทางและบริการแบบครบวงจรสำหรับการสั่งซื้อ 5) โรงงานผสมคอนกรีตที่ใกล้ชิดกับลูกค้า ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลักทุกรายต่างเห็นตรงกันว่า 5 ปัจจัยแห่งความสำเร็จเป็นตัวชี้วัดความพึงพอใจในการใช้บริการของลูกค้าจากผู้ผลิตและจัดจำหน่ายคอนกรีตผสมเสร็จในจังหวัดชลบุรี            

          ผลการวิจัยสามารถนำไปพัฒนานวัตกรรมของผู้ผลิตและจัดจำหน่ายคอนกรีตผสมเสร็จแบบดั้งเดิมให้มีความทันสมัย สอดรับกับกระแสความเปลี่ยนแปลงด้านการนำเทคโนโลยีมาใช้ในธุรกิจ

References

กิ่งฟ้า วรรณเจริญ และนพดล พันธุ์พานิช. (2562). แนวทางการสร้างนวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มของธุรกิจส่งออกผลไม้มะม่วงแปรรูปฟรีซดราย. Panyapiwat Journal, 11(3), 81-97.

นภัสพร เพ็ชรสันทัด และเฉลิมชนม ไวศยดำรง. (2552). การศึกษาและกำหนดกลยุทธ์เพื่อเพิ่มขีดความ สามารถด้านการแข่งขันและเพิ่มผลกำไร กรณีศึกษาบริษัทมั่นคงคอนกรีตจำกัด. (วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, กรุงเทพ.

พชรพรรณ สมบัติ. (2560). แนวทางการพัฒนา โมบาย แอพพลิเคชั่น THAI MOBILE สำหรับผู้ใช้บริการ สายการบิน บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน). (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี, นครราชสีมา.

พงษ์เทพ จันทรสุวรรณ, ภัครดา เกิดประทุม และกิรติกาญจน์ สดากร. (2565). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและประสิทธิผลองค์การอิทธิพลกำกับของบรรยากาศองค์การ. วารสารร่มพฤกษ์ มหาวิทยาลัยเกริก, 40(1), 131-146.

ธมนพัชร์ ดีแสน. (2561). แผนธุรกิจการพัฒนารูปแบบการดำเนินธุรกิจให้สอดคล้องกับความต้องการของ ลูกค้าต่อการเลือกใช้ คอนกรีตผสมเสร็จในจังหวัดฉะเชิงเทรา. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, ปทุมธานี.

ลัดดา ตันวาณิชกุล และ กิตติพงษ์ ถาวงษ์กลาง. (2564). การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดตารางการผลิตและการจัดส่งคอนกรีตผสมเสร็จรูปแบบหลายโรงงาน. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 21(1), 33-46.

สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดชลบุรี. (2564). รายชื่อผู้ประกอบการกลุ่มธุรกิจ การผลิตคอนกรีตผสมเสร็จภาคตะวันออก. สืบค้นจาก https://www.dataforthai.com/business/objective/23953

สุทธิกร กิ่งแก้ว. (2563). 8 นวัตกรรม ตอบโจทย์ธุรกิจ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อักษรสัมพันธ์

Krungsri Research Center. (2021). Thailand industry outlook. Bangkok: Krungsri Research Center.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-09-26