การจัดการบัญชีทรัพยากรมนุษย์และนโยบายผู้บริหารที่มีต่อความพึงพอใจของพนักงาน: กรณีศึกษาบริษัท ศักดิ์สยาม ลิสซิ่ง จำกัด (มหาชน)

ผู้แต่ง

  • อาภากร พูลทรัพย์ นักศึกษา หลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต สาขาการบัญชี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
  • ฐิติวรดา แสงสว่าง อาจารย์ประจำ หลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
  • พรรณนภา เชื้อบาง อาจารย์ประจำ หลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์

คำสำคัญ:

การจัดการบัญชีทรัพยากรมนุษย์, นโยบายผู้บริหาร, ความพึงพอใจของพนักงาน

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบผลกระทบของการจัดการบัญชีทรัพยากรมนุษย์ด้านความสมบูรณ์ของการบัญชีทรัพยากรมนุษย์ การตระหนักในคุณค่าทรัพยากรมนุษย์ การบริหารความเสี่ยงทรัพยากรมนุษย์ การบูรณาการระบบสารสนเทศทางการบัญชี ผลประโยชน์ของพนักงาน และนโยบายผู้บริหารที่มีต่อความพึงพอใจของพนักงานบริษัท ศักดิ์สยามลิสซิ่ง จำกัด (มหาชน) ประชากร คือ พนักงานบริษัท ศักดิ์สยามลิสซิ่ง จำกัด (มหาชน) กลุ่มตัวอย่างจำนวน 646 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ

          ผลการวิจัยพบว่า การจัดการบัญชีทรัพยากรมนุษย์ด้านความสมบูรณ์ของการบัญชีทรัพยากรมนุษย์ การบูรณาการระบบสารสนเทศทางการบัญชี ผลประโยชน์ของพนักงาน และนโยบายผู้บริหาร มีผลกระทบเชิงบวกต่อความพึงพอใจของพนักงาน นอกจากนี้ยังพบว่าการบริหารความเสี่ยงทรัพยากรมนุษย์ มีผลกระทบเชิงลบต่อความพึงพอใจของพนักงานอีกด้วย โดยร่วมกันพยากรณ์ความพึงพอใจของพนักงานบริษัท ศักดิ์สยามลิสซิ่ง จำกัด (มหาชน) ได้ร้อยละ 72.70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ≤ 0.05

References

จันทนา สาขากร, นิพันธ์ เห็นโชคชัยชนะ และศิลปะพร ศรีจั่นเพชร. (2557). การควบคุมภายในและการตรวจสอบภายใน. กรุงเทพฯ: ทีพีเอ็น เพรส.

ณัฐปภัสร์ จันทร์อิ่ม, พรรณภา เชื้อบาง และฐิติวรดา แสงสว่าง. (2561). ผลกระทบของจริยธรรมการปฏิบัติงานตรวจสอบภายในและนโยบายผู้บริหารต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงานตรวจสอบภายในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐในประเทศไทย. วารสารวิทยาการจัดการสมัยใหม่, 11(2), 90-106.

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2565). การเปิดรับฟังความคิดเห็นต่อ(ร่าง)พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการกำกับดูแลธุรกิจ การให้เช่าซื้อและการให้เช่าแบบลีสซิ่งรถยนต์และรถจักรยานยนต์. สืบค้นจาก https://www.bot.or.th/Thai/PressandSpeeches/Press/News2565/n4165t.pdf

บริษัท ศักดิ์สยามลิสซิ่ง จำกัด (มหาชน). (2565). วิสัยทัศน์ และพันธกิจ. สืบค้นจาก https://saksiam.com/about-vision

ประพาฬรัศมิ์ ลิ้มสุคนธ์. (2553). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการทำงานของบุคลากรทางบัญชี กรณีศึกษา บริษัทในเครือเจริญโภคภัณฑ์. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.

พิราวัลย์ เรืองฤทธิ์, ไพฑูรย์ อินต๊ะขัน และบุญฑวรรณ วิงวอน. (2555). การมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง นโยบายผู้บริหารและความพึงพอใจที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในสังกัด องค์การบริหารส่วนตำบลเสริมขวา อำเภอเสริมงาม จังหวัดลำปาง. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 1(2), 21-41.

ระพินทร์ โพธิ์ศรี. (2551). ระเบียบวิธีวิจัยทางธุรกิจ. เอกสารประกอบการสอน. คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัย ราชภัฏอุตรดิตถ์, อุตรดิตถ์, ประเทศไทย.

วรรณวิมล นาคทด และพิฐชญา คาเนโกะ. (2561). ประสิทธิผลการบัญชีทรัพยากรมนุษย์และประสิทธิภาพการบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่มีต่อความสำเร็จของธุรกิจอย่างยั่งยืน: ทบทวนวรรณกรรม. การประชุมวิชาการระดับชาติและนานาชาติด้านบริหารธุรกิจและการบัญชี 2561, (น. 328-346). ขอนแก่น, ประเทศไทย.

วิจิตร ศรีสอ้าน, ทองอินทร์ วงศ์โสธร, และเก็จกนก เอื้อวงศ์. (2557). นโยบาย การวางแผน และการพัฒนาคุณภาพการศึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

วิริญญา ชูราศี และสุภาวดี ขุนทองจันทร์. (2553). ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรคณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. วารสารวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์, 6(1), 1-15.

สุกัญญา คลังทอง, สุพิน ฉายศิริไพบูลย์, และอัจฉราพร โชติพฤกษ์. (2563). ปัจจัยเชิงสาเหตุ ด้านคุณภาพข้อมูลทางการบัญชี คุณภาพระบบสารสนเทศทางการบัญชี คุณภาพการบริการอิเล็กทรอนิกส์ การรับรู้คุณค่าของบัญชีอิเล็กทรอนิกส์ และความพึงพอใจของผู้ใช้บัญชีอิเล็กทรอนิกส์ ที่ส่งต่อผลประสิทธิภาพการใช้งานบัญชีอิเล็กทรอนิกส์ของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในประเทศไทย. วารสารการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 12(2), 100-116.

Aaker, D. A., V. kumar & G.S. Day. (2001). Marketing research. New York: John Wiley and Sons.

Black, K. (2006). Business staitstics for contemporary decision making. (4th ed.). USA: John Wiley & Sons.

Edvinsson, L. (1997). Developing intellectual capital at skandia. Long Range Planning, 30(3), 366-373.

Gilmer, V. B. (1967). Industrial and organization psychology. New York: McGraw-Hill.

Haimann, T. C. & William, G. S. (1974). Management in the modern organization. Boston: Houghton Mifflin.

Herzberg Frederick, Mausner Bernard & Snyderman Barbara Bloch. (1959). The motivation to work. New York: John Wiley & Son.

Kohout, F. J. (1974). Statistics for social scientists: A coordinated learning system. New York: John Wiley.

Maslow, H. C. (1943). A theory of human motivation. Retrieved from http://www.excelcentre.net/TheoryHumanMotivation.pdf

Strauss, G., & Sayles, L. R. (1980). Personnel: The human problems of management. New Jersey: Prentice-Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-09-26