ประสิทธิผลของการนวดกดจุดแบบราชสำนักสูตรเฉพาะด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย ต่ออาการปวดหลังส่วนล่าง

ผู้แต่ง

  • สิทธิศักดิ์ ติคำ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • บุญญภัค ขัดแก้ว คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • อารียา หนองสิมมา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • สายจิต สุขหนู คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

การนวดกดจุดแบบเฉพาะ, อาการปวดหลังส่วนล่าง, ศาสตร์การแพทย์แผนไทย

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยกึ่งการทดลองศึกษาการวัดผลก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการนวดกดจุดแบบราชสำนักสูตรเฉพาะด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยต่ออาการปวดหลังส่วนล่างในกลุ่มตัวอย่างที่มีอาการปวดหลังส่วนหลังที่ได้รับการวินิจฉัยโรคจากแพทย์แผนไทยประยุกต์ โดยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 30 คน เก็บรวมรวมข้อมูลด้วยการประเมิน การเปลี่ยนแปลงของคุณภาพชีวิตและการประเมินระดับความรุนแรงของความปวดแบบมาตรตัวเลขก่อนและหลังการทดลองทุกสัปดาห์ โดยได้รับการรักษาด้วยการนวดกดจุดแบบราชสำนักสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ใช้เวลา ในการรักษา 15 นาที เป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์และได้รับการประเมินอาการปวดหลังตามแบบออสเวสทรีหลังการรักษาทุกสัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลคุณภาพด้วยสถิติเชิงพรรณนาและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงอนุมานด้วย Paired t-test ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีระดับคะแนนปวดลดลงก่อนและหลังการรักษาทั้ง 4 สัปดาห์ลดลง ดังนี้ สัปดาห์ที่ 1 (4.90 ± 0.84, 3.66 ± 1.09) สัปดาห์ที่ 2 (4.20 ± 0.92, 3.03 ± 0.92) สัปดาห์ที่ 3 (3.30 ± 0.83, 2.20 ± 0.76) และสัปดาห์ที่ 4 (2.50 ± 0.82, 1.10 ± 0.84) ผลการเปลี่ยนแปลงของระดับคะแนนความรุนแรงของอาการปวดหลังลดลงทั้ง 4 สัปดาห์ (14.96 ± 7.85, 10.70 ± 5.61, 7.10 ± 4.26, 3.16 ± 2.76) ตามลำดับ และพบว่า เมื่อได้รับการรักษาติดต่อครั้งที่ 2 จะส่งผลให้มีระดับคะแนนคุณภาพชีวิตเพิ่มขึ้น จากข้อมูลที่ได้รับสะท้อนได้ว่าการนวดกดจุดแบบสูตรเฉพาะช่วยในการบรรเทาและรักษาอาการปวดหลังส่วนล่างของผู้ป่วยได้ ซึ่งเหมาะสมกับผู้ป่วยที่มีข้อเวลาจำกัดทางด้านเวลา

References

จันทรรัตน์ เลิศทองไทย และชัยชนะ นิ่นนวล. (2557). คุณภาพชีวิตในผู้ป่วยปวดหลังส่วนล่างเรื้อรังจากโรคทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ. เวชศาสตร์ร่วมสมัย, 58(4), 419-431.

ธิติมา ณรงค์ศักดิ์, นภาพิศ ฉิมนาคบุญ และศิริศิลป์ ไชยเชษ. (2562). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับอาการปวดหลังส่วนล่างของบุคลากรสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา. วารสารสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา, 13(1), 21-33.

นันทวัน ปนมาศ. (2563). ผลการรักษาผูปวยปวดหลังสวนลางจากภาวะหมอนรองกระดูกทับเสนประสาทระหวางวิธีดึงหลังรวมกับประคบรอนและการบริหารหลังดวยเทคนิคแมคเคนซี่กับวิธีดึงหลังรวมกับประคบรอน. พุทธชินราชเวชสาร, 37(3), 282-93.

ปัทมา ผ่องศิริ, กุลธิดา กุลประฑีปัญญา, นันทรียา โลหะไพบูลย์กุล, สอาด มุ่งสิน และพิสมัย วงศ์สง่า. (2561). คุณภาพชีวิต ภาวะสุขภาพจิตและความสามารถในการช่วยเหลือตนเองของผู้สูงอายุ: กรณีศึกษาเขตเมือง อุบลราชธานี. วารสารเกื้อการุณย์, 25(2), 137-151.

พงษ์ศิริ ปัดถาวะโร, สรรใจ แสงวิเชียร และศุภะลักษณ์ ฟักคำ. (2562). ประสิทธิผลของการนวดราชสำนักในการรักษาอาการปวดกล้ามเนื้อหลังส่วนล่างเฉียบพลัน โรงพยาบาลปากคาด จังหวัดบึงกาฬ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น, 16(2), 376-387.

พัชรินทร์ น้อยสุวรรณ, วีระพร ศุทธากรณ์ และวันเพ็ญ ทรงคำ. (2562). ผลของโปรแกรมโรงเรียนปวดหลังต่ออาการปวดหลังส่วนล่างและความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ของเกษตรกรชาวนา. พยาบาลสาร, 43(6), 142-156.

พิชญาภา อินทร์พรหม และพิชญาภา อัตตโนรักษ์. (2563). ผลการนวดไทยแบบราชสำนักต่อพิสัยการเคลื่อนไหวความโค้งของหลังส่วนล่างและระดับความปวดในผู้ป่วยกลุ่มอาการปวดหลังส่วนล่าง. วารสารเกื้อการุณย์, 27(2), 130-143.

พีรดา จันทร์วิบูลย์ และศุภะลักษณ์ ฟักคำ. (2552). ประสิทธิผลของการนวดแบบราชสำนักในการรักษากลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อหลังส่วนบนของผู้มารับรับบริการในศูนย์วิชิาชีพแพทย์แผนไทยประยุกต์ (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

วิภาดา ศรีเจริญ และนิธิพงศ์ ศรีเบญจมาศ. (2558). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปวดหลังของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. วารสารวิทยาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 17(2), 252-260.

สุกัญญา อังศิริกุล, น้ำอ้อย ภักดีวงศ์ และวารินทร์ บินโฮเซ็น. (2559). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพในผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังส่วนล่าง. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 24(1), 39-50.

สุพิชชพงศ์ ธนาเกียรติภิญโญ, ประภาส โพธิ์ทองสุนันท์ และสมรรถชัย จำนงค์กิจ. (2556). ผลของการดึงกระดูกสันหลังส่วนเอวใต้นํ้าร่วมกับการออกกำลังกายในนํ้าสำหรับผู้ที่มีอาการปวดหลังส่วนล่างเรื้อรัง. วารสารเทคนิคการแพทย์เชียงใหม่, 46(3), 232-249.

อมรรัตน์ แสงใสแก้ว, จุรีรัตน์ กอเจริญยศ, บุญรอด ดอนประเพ็ง และมารศรี ศิริสวัสดิ์. (2562). ผลของโปรแกรมส่งเสริมกิจกรรมทางกายในขณะปฏิบัติกิจวัตรประจำวันต่ออาการปวดและภาวะจำกัดความสามารถในผู้ที่ปวดหลังส่วนล่างไม่ทราบสาเหตุ. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 39(1), 93-104.

Chow, S. C. Shao, J., & Wang H. (2008). Sample size calculations in clinical research. London: Chapman & Hall/CRC.

Delitto, A., George, S. Z., Van Dillen, L., Whitman, J. M., Sowa, G., Shekelle, P., ... & Werneke, M. (2012). Low back pain: Clinical practice guidelines linked to the international classification of functioning, disability, and health from the orthopaedic section of the american physical therapy association. Journal of Orthopaedic & Sports Physical Therapy, 42(4), A1-A57.

Furlan, A. D., Imamura, M., Dryden, T., & Irvin, E. (2009). Massage for low back pain: An updated systematic review within the framework of the cochrane back review group. Spine, 34(16), 1669-1684.

Jamison, R. N., Raymond, S. A., Slawsby, E. A., McHugo, G. J., & Baird, J. C. (2006). Pain assessment in patients with low back pain: Comparison of weekly recall and momentary electronic data. The Journal of Pain, 7(3), 192-199.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-02