ผลของโปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมการใช้ยาร่วมกับการใช้แอปพลิเคชัน ในผู้ป่วยต้อหินมุมเปิดที่มีระดับความดันตาสูง

ผู้แต่ง

  • วรรณา จันทร์ดา นักศึกษา หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ คณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
  • บุญทิวา สู่วิทย์ รองศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์ มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการใช้ยา, ผู้ป่วยต้อหิน, ความดันตาสูง

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง แบบสองกลุ่มวัดก่อน-หลังการทดลอง เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมการใช้ยาร่วมกับการใช้แอปพลิเคชันในผู้ป่วยต้อหินมุมเปิดที่มีระดับความดันตาสูง ในแผนกผู้ป่วยนอกจักษุ โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง) จำนวน 52 ราย แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 26 ราย และกลุ่มควบคุม 26 ราย ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย ใช้กรอบแนวคิด The information-motivation-behavioral (IMB) model ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ 1) การให้ข้อมูล 2) การสร้างแรงจูงใจ และ 3) การพัฒนาทักษะ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมการใช้ยาร่วมกับการใช้แอปพลิเคชัน และกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล และแบบสอบถามพฤติกรรมการใช้ยา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติทดสอบที

          ผลการวิจัย พบว่า คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการใช้ยาของผู้ป่วยต้อหินมุมเปิดที่มีระดับความดันตาสูงในกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมการใช้ยาร่วมกับการใช้แอปพลิเคชันสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรม และคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการใช้ยาในกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p < 0.05

References

กิตติยา มหาวิริโยทัย และ ดวงรัตน์ วัฒนกิจไกรเลิศ. (2564). ผลของโปรแกรมการให้ข้อมูล แรงจูงใจและทักษะการเฝ้าระวังตนเองผ่านแอปพลิเคชันไลน์ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองในผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว. วารสารพยาบาลศาสตร์, 39(1), 47-63.

ขวัญฤดี ฮวดหุ่น. (2560). อิทธิพลของแอพพลิเคชันไลน์ในการสื่อสารยุคปัจจุบัน. วารสารศิลปการจัดการ, 1(2), 75-88.

จิรัชยา เจียวก๊ก, สุภาวี หมัดอะด้ำ และ อัสมา เกษตรกาลาม์ (2556). การรับรู้และพฤติกรรมในการดูแลตนเองของผู้ป่วยต้อหิน. วารสารจักษุธรรมศาสตร์, 8(2), 29-45.

เดือนเพ็ญ ตั้งเมตตาจิตตกุล. (2554). ผลของโปรแกรมการให้ข้อมูลการสร้างแรงจูงใจและการพัฒนาทักษะต่อความร่วมมือในการรักษาของผู้สูงอายุโรคต้อหิน. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

บุญใจ ศรีสถิตนรากูร. (2563). ขนาดอิทธิพล การวิเคราะห์อำนาจ การคำนวณขนาดตัวอย่างที่เหมาะสมโดยใช้โปรแกรม G*Power. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เบญจมาศ รอดแผ้วพาล. (2552). ปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับความร่วมมือในการรักษาในผู้สูงอายุที่เป็นโรคต้อหิน. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

พรรณรพี ฟูนฤนารถ. (2562). Glaucoma. ใน อรวสี จตุทอง (บ.ก.), Basic ophthalmology (น.164-179). กรุงเทพฯ: นำอักษรการพิมพ์.

พรรัตติกาล พลหาญ, ดวงรัตน์ วัฒนกิจไกรเลิศ และ คนึงนิจ พงศ์ถาวรกมล. (2562). ผลของโปรแกรมการให้ความรู้และทักษะการใช้ยาสูดโดยใช้แอปพลิเคชันไลน์ต่อการควบคุมอาการในผู้ป่วยโรคหืด. วารสารพยาบาลทหารบก, 20(3), 93-103.

โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง). (2563). ข้อมูลด้านสถิติ โรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง). สืบค้นจาก http://mettastat.blogspot.com/p/blog-page_85.html

วันทนา สีพิทักษ์วัฒนา. (2556). ปัญหาและพฤติกรรมการใช้ยาในผู้ป่วยโรคต้อหินในโรงพยาบาลเจ้าพระยา ยมราชจังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 21(1), 35-48.

วัลลภ เอี่ยมสมบุญ และ อิสราพร ตรีสิทธิ์. (2559). การวัดความดันตา. ใน ชัยศิริ จำเริญดารารัศมี (บ.ก.). คู่มือตรวจตาพื้นฐานสำหรับนักศึกษาแพทย์ แพทย์ประจำบ้านสาขาจักษุวิทยา แพทย์ทั่วไป พยาบาลเวชปฏิบัติทางตา และผู้สนใจด้านจักษุวิทยา. (น. 88-95). กรุงเทพฯ: คอร์ปอเรชั่น โฟร์ดี.

วารุณี ติ๊บปะละ, ดวงรัตน์ วัฒนกิจไกรเลิศ และคนึงนิจ พงศ์ถาวรกมล. (2564). ผลของโปรแกรมการให้ความรู้เสริมสร้างแรงจูงใจและฝึกทักษะการใช้ยาสูดโดยใช้แอปพลิเคชันไลน์ต่อการควบคุมทางคลินิกในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง. วารสารพยาบาลศาสตร์, 40(1), 112-127.

ศิริลักษณ์ โชติวุฒิมนตรี และรุจิรา ดวงสงค์. (2556). ผลของโปรแกรมการพัฒนาพฤติกรรมเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคต้อหินโรงพยาบาลขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 6(1), 37-46.

สมชาย พรวิจิตรพิศาล, พิมพ์ปรียา ขจรชัยกุล และฉัตรชนก บุริประเสริฐ. (2561). ความเข้าใจเรื่องการใช้ยาหยอดตาผู้ป่วยนอกโรคต้อหิน โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์. จุฬาลงกรณ์เวชสาร, 62(2), 187-195.

สุธิดา นครเรียบ, ดวงรัตน์ วัฒนกิจไกรเลิศ, วิชชุดา เจริญกิจการ, สงคราม โชติกอนุชิต และวชิรศักดิ์ วานิชชา. (2560). ประสิทธิผลของโมบายแอพพลิเคชั่นต่อความร่วมมือในการรับประทานยาในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง. วารสารพยาบาลศาสตร์, 35(3), 58-69.

Allison K, Patel D, & Alabi O. (2020). Epidemiology of glaucoma: The Past, Present, and Predictions for the future. Cureus, 12(11), e11686.

Cook, P. F., Schmiege, S. J., Mansberger, S. L., Kammer, J., Fitzgerald, T., & Kahook, M. Y. (2015). Predictors of adherence to glaucoma treatment in a multisite study. Annals of Behavioral Medicine, 49(1), 29-39.

Djafari, F., Lesk, M. R., Giguere, C. E., Siam, G., & Freeman, E. E. (2015). Impact of a brief educational intervention on glaucoma persistence: a randomized controlled clinical trial. Ophthalmic Epidemiology, 22(6), 380-386.

Dreer, L. E., Girkin, C. A., Campbell, L., Wood, A., Gao, L., & Owsley, C. (2013). Glaucoma medication adherence among African Americans: Program development. Optometry and Vision Science, 90(8), 883-897.

Fischer, J. D., & Fisher, A. W. (1992). Changing AIDS risk behaviour. Psychological Bulletin, 111(3), 455-474.

Movahedinejad, T., & Adib-Hajbaghery, M. (2016). Adherence to treatment in patients with open-angle glaucoma and its related factors. Electronic Physician, 8(9), 2954-2961.

Newman-Casey PA, Niziol, L. M., Mackenzie, C. K., Resnicow, K., Lee, P. P., Musch, D. C., & Heisler, M. (2018). Personalized behavior change program for glaucoma patients with poor adherence: A pilot interventional cohort study with a pre-post design. Pilot and Feasibility Studies, 4(1), 1-13.

Wiggs, J. L., & Pasquale, L. R. (2017). Genetics of glaucoma. Human Molecular Genetics, 26(R1), R21-R27.

Wolfram, C., Stahlberg, E., & Pfeiffer, N. (2019). Patient-reported nonadherence with glaucoma therapy. Journal of Ocular Pharmacology and Therapeutics, 35(4), 223-228.

World Health Organization. (2021). Blindness and vision impairment. Retrieved from https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/blindness-and-visual-impairment

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-09-26