รูปแบบวัฒนธรรมองค์กรที่มีผลต่อผลการดำเนินงานของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
คำสำคัญ:
วัฒนธรรมองค์กร, ผลการดำเนินงาน, การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์รูปแบบวัฒนธรรมองค์กรที่มีผลต่อผลการดำเนินงานของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ใช้ระเบียบวิธีวิจัยพรรณนาเชิงพยากรณ์ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ พนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย จำนวน 364 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ เกี่ยวกับวัฒนธรรมองค์กรและผลการดำเนินงานของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามการวิจัยแสดงด้วยค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ 0.974 และ 0.966 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วยค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัย พบว่า 1) รูปแบบวัฒนธรรมองค์กรของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) วัฒนธรรมเน้นโครงสร้างและกฎระเบียบ (2) วัฒนธรรมเน้นการมีส่วนร่วม (3) วัฒนธรรมที่มุ่งเน้นพันธกิจ และ (4) วัฒนธรรมเน้นการปรับตัว และมีค่าวัดระดับความกลมกลืน คือ df = 1, χ2/df (CMIN/DF) = 1.34, P-value = 0.25, RMSEA = 0.03, GFI = 0.99, AGFI = 0.98 แสดงว่า การวิเคราะห์รูปแบบวัฒนธรรมองค์กรของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยเชิงยืนยันลำดับที่สอง มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ 2) ผลการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ความสัมพันธ์เชิงทำนายระหว่างวัฒนธรรมองค์กรที่มีผลต่อผลการดำเนินงานของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ได้แก่ วัฒนธรรมเน้นการปรับตัว วัฒนธรรมเน้นการมีส่วนร่วม และวัฒนธรรมเน้นพันธกิจ สามารถร่วมกันทำนายผลการดำเนินงานของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ เท่ากับ 0.760 และค่าอำนาจการทำนายได้ร้อยละ 75.00
ดังนั้น การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยจึงควรให้ความสำคัญกับวัฒนธรรมองค์กร ด้านวัฒนธรรมเน้นการปรับตัว วัฒนธรรมเน้นการมีส่วนร่วม และวัฒนธรรมเน้นพันธกิจ และกำหนดตัวบ่งชี้ในการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่สอดคล้องกันกับทิศทางขององค์กรเพื่อผลการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
References
กริช แรงสูงเนิน. (2554). การวิเคราะห์ปัจจัยด้วย SPSS และ AMOS เพื่อการวิจัย. กรุงเทพมหานคร: บริษัท วี พริ้นท์ (1991) จำกัด.
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย. (2564). รายชื่อผู้บริหารการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย. สืบค้นจาก https://www.egat.co.th/index.php?option=com_content&view=article&id=7&Itemid=148
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2555). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ : บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.
ธิติพันธุ์ จีนประชา. (2557). รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของประสิทธิผล สถานีตำรวจสังกัดกองบัญชาการตำรวจนครบาล สำนักงานตำรวจแห่งชาติในประเทศไทย. วารสารวิจัย มสด สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 10(3), 166-180.
ชิษณุพงศ์ ทองพวง, ไพศาล จันทรังษี, ปภากร สุวรรณธาดา, เสาวนีย์ กานต์เดชารักษ์ และภราดี พิริยะพงษ์รัตน. (2565). รูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารผลงาน การบริหารงานคุณภาพ และองค์กรแห่งความเป็นเลิศของมหาวิทยาลัยคริสเตียน. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน, 28(1), 128-140.
ชยาธิศ กัญหา. (2550). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขึ้นพื้นฐาน. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.
นฤมล ชุนถนอม. (2551). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมองค์กรและประสิทธิภาพองค์กร ศึกษากรณีสำนักงานเทศบาลตำบลในเขตอำเภอสามพราน. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหิดล, นครปฐม.
สมจินตนา คุ้มภัย. (2553). การเปรียบเทียบวัฒนธรรมองค์กรที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลองค์กร: กรณีศึกษารัฐวิสาหกิจในประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, กรุงเทพฯ.
สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ. (2564). คู่มือการประเมินผลการดำเนินงานรัฐวิสาหกิจ. สืบค้นจาก http://www.sepo.go.th/pes/contents/27
อุไรรัตน์ ทับทอง. (2563). กลยุทธ์การปรับตัวเพื่อความมั่นคงขององคก์รการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.
อัมพล ชูสนุก. (2552). อิทธิพลของภาวะผู้นําของซีอีโอต่อประสิทธิผลองค์กรในบริบทของวัฒนธรรมองค์กรของบริษัทโรงกลั่นน้ำมันในประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง, กรุงเทพฯ.
Arroba, T. and James Kim. (1992). Pressure at work: A survivals guide for manager. (2th ed.). London: McGraw-Hill Book Company.
Daft, R. L. (2008). The leadership experience. (4th ed). Mason, O.H.: Thomson/South-Western.
Denison, D. R. (1990). Corporate culture and organizational effectiveness. New York: Wiley.
Gibson, J. L. (2000). Organizations behavior. (7th ed). Boston: Irwin.
Shafritz, Jay M.; Ott, J Stevenm and Jang, Yong Suk. (2005). Classics of organization theory. (6th ed). Belmont: Thomson/Wards worth.
Zain Zaharish, Ishak Razanita and Ghani, Erlane G. (2009). The influence of corporate culture on organizational commitment: A study on a Malaysian Listed Company. European Journal of Economics, Finance and Administrative Sciences, 17, 606-616.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยคริสเตียน
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.