ปัจจัยพยากรณ์รูปแบบการฝึกสอนที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของนักกีฬามวยไทยอาชีพ

ผู้แต่ง

  • วรรัตน์ ชาวพงษ์ นักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์การออกกำลังกายและการกีฬา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • ชัยรัตน์ ชูสกุล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คำสำคัญ:

ปัจจัยพยากรณ์, รูปแบบการฝึกสอน, ความสำเร็จ, นักกีฬามวยไทยอาชีพ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์และพยากรณ์รูปแบบการฝึกสอนที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของนักกีฬามวยไทยอาชีพ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ฝึกสอนและนักกีฬามวยไทยอาชีพ จำนวน 140 คน โดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage random sampling) แบ่งเป็นผู้ฝึกสอน 50 คน และเป็นนักกีฬามวยไทยอาชีพ 90 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น มีความเชื่อมั่น (Reliability) เท่ากับ 0.93 ประกอบด้วยรูปแบบการฝึกสอนของผู้ฝึกสอนและความสำเร็จของนักกีฬา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ

ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการฝึกสอนแบบการอธิบายและสาธิต แบบแรงเสริมทางบวกแบบประชาธิปไตย แบบช่วยเหลือเกื้อกูล และแบบเผด็จการ มีความสัมพันธ์กับความสำเร็จของนักกีฬา    มวยไทยอาชีพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (r = 0.553, r = 0.498, r = 0.463, r = 0.454 และ r = 0.212) ตามลำดับ และเลือกใช้ตัวแปรพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบสูงสุด 3 รูปแบบ พบว่า แบบการอธิบายและสาธิตเป็นรูปแบบการฝึกสอนเดียวที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของนักกีฬามวยไทยอาชีพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 อธิบายความแปรปรวนความสำเร็จได้ ร้อยละ 29.80 (adjusted R2 = 0.298, F = 38.865, p < 0.001) สรุปได้ว่า รูปแบบการอธิบายและสาธิต เป็นรูปแบบที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของนักกีฬามวยไทยอาชีพ ซึ่งผู้ฝึกสอนสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการฝึกสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

References

เทเวศน์ จันทร์หอม, นฤพนธ์ วงศ์จตุรภทร, ฉัตรกมล สิงห์น้อย และพูลพงศ์ สุขสว่าง. (2563). ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของรูปแบบการเป็นผู้นำของผู้ฝึกสอน บรรยากาศการจูงใจ ความสามัคคีในทีม และความเชื่อมั่นในทีมที่มีต่อความพึงพอใจในประสิทธิภาพของทีมฟุตบอลอาชีพไทย. วารสารสุขศึกษาพลศึกษา และสันทนาการ, 46(2), 80-91.

วิไลพิน ทองประเสริฐ, นฤพนธ์ วงค์จตุรภัทร และฉัตรศิริ ปิยะพิมลสิทธิ์. (2556). อิทธิพลของรูปแบบการฝึกสอนกีฬา การตอบสนองความต้องการพื้นฐานทางการกีฬาและแรงจูงใจภายในที่ส่งผลต่อการประสบความสำเร็จทางการกีฬา. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา, 13(2), 101-114.

สืบสาย บุญวีรบุตร. (2536). จิตวิทยาการกีฬา (Sport Psychology). ชลบุรี: ชลบุรีการพิมพ์.

สฤษฎิเดช สุมงคล. (2562). ความเข้มแข็งทางจิตใจและสภาวะลื่นไหลของนักกีฬาเทควันโดประเภทต่อสู้.วารสารสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการ, 45(2), 221-231.

Boyd, M., Kim, M. S., Ensari, N., & Yin, Z. (2014). Perceived motivational team climate in relation to task and social cohesion among male college athletes. Journal of Applied Social Psychology, 44(2), 115-123.

Comrey, A. L., & Lee, H. B. (1992). Interpretation and application of factor analytic results. Comrey AL, Lee HB: A first course in factor analysis.

Cheatham, M. (2021). Comparing preferred coaching behaviors of collegiate athletes to self - perceived coaching behaviors of collegiate coaches (Master’s Thesis). Goucher College, U.S. Copyright.

Chelladurai, P., & Saleh, S. D. (1980). Dimensions of leader behavior in sports: Development of a leadership scale. Journal of Sport Psychology, 2(1). 35-45.

Chelladurai, P., (2011, September). Leadership in sports. Eds. In First congress of the federacion de associaciones de gestores del deporte de espana (FAGDE), Madrid: Spain.

Fletcher, R. B., & Roberts, M. H., (2013). Longitudinal stability of the leadership scale for sports. Journal Measurement in Physical Education and Exercise Science, 17(2), 89-104.

Jackson, S. A., & Marsh, H. W. (1996). Development and validation of a scale to measure optimal experience: The flow state scale. Journal of Sport and Exercise Psychology, 18(1), 17-35.

Martens, R. (2004). Successful coaching. (3rd ed.). United States: Human Kinetics.

Mousavi, A., & Vaez Mousavi, M. (2015). Introducing the sport success scale (SSS). Motor Behavior, 7(19), 42-123.

O’Neil, L., & Hodge, K. (2020). Commitment in sport: The role of coaching style and autonomous versus controlled motivation. Journal of Applied Sport Psychology, 32(6), 607-617.

Perera, H. (2019). Does the coach leadership behavior mediates the influence of factors affecting coach leadership behavioral styles on team success. International Journal of Human Movement and Sports Sciences, 7(3), 51-57.

Saarinen, M., Tolvanen, A., Aunola, K., & Ryba, T. V. (2022). The role of gender and coaching styles in adolescent student-athletes’ motivational orientations in sport and school. Current Psychology, 41(7),1-12.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-23