ผลของโปรแกรมส่งเสริมการเรียนรู้ต่อความรู้และการปฏิบัติการดูแลสุขภาพปอด ในกลุ่มเสี่ยงต่อโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

ผู้แต่ง

  • กมลทิพย์ ช้างทอง นักศึกษาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • รังสิยา นารินทร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ศิวพร อึ้งวัฒนา รองศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

คำสำคัญ:

โปรแกรมส่งเสริมการเรียนรู้, การดูแลสุขภาพปอด, กลุ่มเสี่ยงต่อโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

บทคัดย่อ

การวิจัยแบบกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความรู้และการปฏิบัติการดูแลสุขภาพปอด ก่อนและหลังได้รับโปรแกรม ระยะเวลา 6 สัปดาห์ และระหว่างกลุ่มทดลอง ที่ได้รับโปรแกรมส่งเสริมการเรียนรู้จากผู้วิจัยและกลุ่มควบคุมที่ได้รับการพยาบาลตามปกติจากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล กลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มเสี่ยงต่อโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง จำนวน 46 คน การสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 23 คน เครื่องมือในการวิจัยคือ แบบประเมินความรู้และการปฏิบัติการดูแลสุขภาพปอด ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหา 0.97 และ 0.96 และค่าความเชื่อมั่นคูเดอร์ริชาร์ดสัน (KR-20) 0.97 และ 0.93 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการทดสอบ ที

ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มทดลองมีความรู้ในการปฏิบัติการดูแลสุขภาพปอด สูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรม และสูงกว่ากลุ่มควบคุม และกลุ่มทดลอง มีค่าเฉลี่ยคะแนนการปฏิบัติการดูแลสุขภาพปอด สูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรม และสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ผู้วิจัยเสนอแนะว่าพยาบาล และพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชนควรนำโปรแกรมนี้ไปใช้ในการส่งเสริมกลุ่มเสี่ยงต่อโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังให้เกิดการเรียนรู้และเกิดการปฏิบัติการดูแลสุขภาพปอดอย่างถูกต้อง เป็นการส่งเสริมให้เกิดความรู้ในการดูแลตนเองและเกิดพฤติกรรมการดูแลสุขภาพปอดในการป้องกันการเกิดโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในกลุ่มเสี่ยง

References

คณะทำงานพัฒนาแนวปฏิบัติบริการสาธารณสุขโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง. (2553). แนวปฏิบัติบริการ สาธารณสุข โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง. กรุงเทพมหานคร: บริษัทยูเนี่ยนอุลตร้าไวโอเร็ต จำกัด.

คลังข้อมูลสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2563). อัตราการป่วยด้วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง เขตสุขภาพที่ 4 จังหวัดปทุมธานี อำเภอลำลูกกา. สืบค้นจาก https://hdcservice.moph.go.th/hdc/reports/report.php?source=formated/ncd.php&catid=6a1fdf282fd28180eed7d1cfe0155e11&id=33b1c30a4652927ac32fee24e8906170

ชลภูมิ รุ่งรจนา, ทัศนา ชูวรรธนะปกรณ์. (2558). ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองร่วมกับการฝึกบริหารการหายใจโดยการเป่าฮาร์โมนิกาต่ออาการหายใจลำบากในผู้สูงอายุโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง. วารสารพยาบาลตำรวจ, 7(1), 197-209

ปฤษณพร ศิริจรรยา และรจนา อัศพันธ์. (2560). ผลของโปรแกรมการให้สุขศึกษาต่อความรู้และการปฏิบัติตนในหญิงหลังคลอดโรงพยาบาลชลบุรี. วารสารโรงพยาบาลชลบุรี, 42(3), 11-20.

พงศธร กันยะมูล, กุลจิรา ชัยชนะ, บุษกร ต. ตระกุล, วีระศักดิ์ หมื่นมูลกาศ และกรกช จันทร์เสรีวิทยา.(2563). การประเมินความรู้ และพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากฝุ่นละออง PM 2.5 ของประชากรที่อาศัยอยู่ในตำบลเกาะช้าง อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย. ในการประชุมนำเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 15 (น. 1-11). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยรังสิต.

พรวิภา ยาสมุทร์, และวิภาพรรณ หมื่นมา. (2552). การศึกษาผลการใช้ชุดนวัตกรรมเสริมพลังปอดและกล้ามเนื้อ สำหรับการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรงพยาบาลบ้านโฮ่ง. สืบค้นจาก https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/2605

วริศรา เบ้าหนู. (2562). ประสิทธิผลของโปรแกรมการแนะนำการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานทางโทรศัพท์ กรณีพบผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาลของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารการพัฒนางานประจำ สู่งานวิจัย, 1(6), 37-47.

วิลาสินี วัชรปิยานันทน์ และอัญชลี ทองเอม. (2560). การพัฒนาชุดกิจกรรมโยคะส่งเสริมพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัญฑิต). มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, กรุงเทพมหานคร.

ศศิธร มะโนมั่น, สุธาวัลย์ พงศ์พิริยะจิต, ปลื้มกมล ชาวนาหุบ, ปฏิภาณ สีสุก, ภาสกร มีมูลทอง, กุลสตรี แย้มมา, วัชรกร โพสกุล และกิตติพงษ์ ภู่พัฒน์วิบูลย์. (2562). ระดับความรู้และการปฏิบัติเกี่ยวกับการป้องกันฝุ่นละออง PM 2.5 ของนักศึกษา คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. NPRU - Online Journal and Research Databases, 15(2), 70-78.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. (2562). รายงานประจำปี 2562. สืบค้นจาก http://kmops.moph.go.th/index.php/km-test/2012-07-12-15-36-41

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2558). รายงานผลการดำเนินงานโครงการโรคหืดและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ปีงบประมาณ 2555. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่. (2561). คู่มือคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุ (กลุ่มงานส่งเสริมสุขภาพ สสจ.เชียงใหม่). สืบค้นจาก https://www.chiangmaihealth.go.th/cmpho_web/main_section.php?info_id=4197

Ambrosino, N., & Bertella, E. (2018). Lifestyle interventions in prevention and comprehensive management of COPD. Breathe, 14(3), 186-194.

Bloom, B. S., Engelhart, M. D., Furst, E. J., Hill, W. H., & Krathwohl, D. R. (1956). Taxonomy of educational: The classification of educational goals: Handbook I: Cognitive domain. Review of Educational Research, 51(4), 441–453. doi: 10.310200346543051004441.

Global Initiative for Chronic Obstructive Pulmonary Disease. (2020). Global strategy for the diagnosis, management, and prevent of chronic obstructive pulmonary disease 2020 report. Retrieved from https://www.goldcopd.org/wp-content/uploads/2020/03/GOLD-2020-POCKET-GUIDE-ver1.0_FINAL-WMV.pdf

Jun, H.-J., Kim, K.-J., Nam, K.-W., & Kim, C.-H. (2016). Effects of breathing exercises on lung capacity and muscle activities of elderly smokers. Journal of physical therapy science, 28(6), 1681-1685.

Khan, A., Dickens, A.P., Adab, P., & Jordan, R.E. (2017). Self-management behaviour and support among primary care COPD patients: Cross-sectional analysis of data from the Birmingham chronic obstructive pulmonary disease cohort. NPJ Primary Care Respiratory Medicine, 27(1), 1-10.

Stanley, A.J., Hasan, I., Crockett, A.J., Van Schayck, O.C., & Zwar, N.A. (2014). COPD Diagnostic questionnaire (CDQ) for selecting at-risk patients for spirometry: A cross-sectional study in Australian general practice. NPJ Primary Care Respiratory Medicine, 24(1), 1-5.

World Health Organization [WHO]. (2018). Chronic obstructive pulmonary disease (COPD). Retrieved from: https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/chronic-obstructive-pulmonary-disease-(copd)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-23