แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านไผ่หูช้าง อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม

ผู้แต่ง

  • โชติมา ดีพลพันธ์ นักศึกษาหลักสูตรการจัดการมหาบัณฑิต สาขาการจัดการการท่องเที่ยวและบริการแบบบูรณาการ คณะการจัดการการท่องเที่ยว สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
  • แสงแข บุญศิริ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาการจัดการการท่องเที่ยวและบริการแบบบูรณาการ คณะการจัดการการท่องเที่ยว สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

คำสำคัญ:

แนวทางการพัฒนา, การท่องเที่ยวโดยชุมชน, บ้านไผ่หูช้าง

บทคัดย่อ

       การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ที่ส่งผลต่อความคาดหวังและการรับรู้ของนักท่องเที่ยวที่เข้ามาเยี่ยมชมในชุมชนบ้านไผ่หูช้าง 2) เพื่อประเมินศักยภาพการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านไผ่หูช้าง และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านไผ่หูช้าง อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน การศึกษาวิจัยเชิงปริมาณได้ศึกษากับนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เข้าเยี่ยมชมชุมชนบ้านไผ่หูช้าง จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา เพื่อหาค่าความถี่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน รวมทั้งการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงอนุมาน โดยใช้สถิติ T-Test และ One-way ANOVA และทำการศึกษาระดับความคาดหวังและการรับรู้ของนักท่องเที่ยวตามองค์ประกอบทางการท่องเที่ยว ด้วยการวิเคราะห์ความสำคัญและประสิทธิภาพ (Important Performance Analysis: IPA) เพื่อความสมบูรณ์ของเนื้อหาผู้วิจัยได้ทำการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพร่วมด้วย โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก ใช้วิธีการเลือกผู้ให้ข้อมูลสำคัญแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 25 คน คือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในชุมชนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวโดยชุมชน ได้แก่ ชาวบ้านในชุมชนบ้านไผ่หูช้าง และเจ้าหน้าที่ภาครัฐท้องถิ่นที่มีส่วนร่วมบริหารจัดการในพื้นที่ชุมชน สัมภาษณ์เชิงลึกเกี่ยวกับศักยภาพของการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนแบบองค์รวมตามองค์ประกอบทางการท่องเที่ยวทั้ง 6 ด้าน ใช้การวิเคราะห์แก่นสาระเพื่อวิเคราะห์ข้อมูล และประเมินการจัดการในด้านต่าง ๆ ตามเกณฑ์การพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนของประเทศไทย

       ผลการศึกษาพบว่า ระดับความคาดหวังโดยรวมทุกด้านขององค์ประกอบทางการท่องเที่ยวอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาระดับการรับรู้ของนักท่องเที่ยวเป็นรายด้านโดยเรียงจากมากไปหาน้อย พบว่า ด้านแหล่งท่องเที่ยว และด้านการบริการเสริมทางการท่องเที่ยวอยู่ในระดับมาก ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ด้านการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว ด้านที่พักแรม และด้านกิจกรรมการท่องเที่ยว อยู่ในระดับปานกลาง  ด้านกิจกรรมการท่องเที่ยวเป็นด้านที่มีค่าระดับการรับรู้ต่ำสุด และอยู่ใน Quadrants A (Concentrate here) ซึ่งถือเป็นจุดอ่อนของแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านไผ่หูช้าง ที่ต้องให้ความสำคัญและหาวิธีการในการแก้ไขปรับปรุงในด้านการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวโดยเร่งด่วนและผลการศึกษาเชิงคุณภาพด้านกิจกรรมการท่องเที่ยวชุมชนมีความเห็นตรงกันว่ากิจกรรมที่จัดไว้สำหรับนักท่องเที่ยวไม่ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวเท่าที่ควรจึงจำเป็นต้องหาแนวแก้ไข ดังนั้นผู้วิจัยจึงเสนอแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนบ้านไผ่หูช้าง ทั้ง 6 ด้านตามองค์ประกอบทางการท่องเที่ยว

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2546). การวิเคราะห์สถิติ: สถิตสำหรับการบริหารและวิจัย (พิมพ์ครั้งที่7). กรุงเทพฯ: ธรรมสาร.

กองเศรษฐกิจการท่องเที่ยวและกีฬา. (2562). สถานการณ์ด้านการท่องเที่ยวเดือนมิถุนายนและครึ่งปีแรก 2562 : แนวโน้มและทิศทางการพัฒนาการท่องเที่ยวในอนาคต. กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. สืบค้นจาก https://www.mots.go.th/

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2561). Tourism Go Local ชุมชนเติบใหญ่ เมืองไทยเติบโต. สืบค้นจาก https://www.tatreviewmagazine.com/article/tourism-go-local/

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2562). รายงานแนวโน้มพฤติกรรมนักท่องเที่ยวชาวไทย สรุปแผนปฏิบัติการส่งเสริมการท่องเที่ยวประจำปี 2562. กรุงเทพฯ: ฝ่ายวางแผน การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สำนักงานใหญ่).

ทิพวรรณ บัวอินทร์. (2561). แนวทางการพัฒนาคุณภาพการบริการรถโดยสาร ไม่ประจำทางเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ในจังหวัดภูเก็ต. กรุงเทพฯ: คณะการจัดการการท่องเที่ยว สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

เทิดชาย ช่วยบํารุง. (2552). บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถิ่น สถาบันพระปกเกล้า.

ธนวัตน์ ตันติพณิชย์กูล, จินณพัษ ปทุมพร, และราณี อิสิชัยกุล. (2564). กลยุทธ์การจัดการผู้มาเยือนสู่ความยั่งยืนของแหล่งท่องเที่ยว. วารสารวิชาการและวิจัยมหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 11(2), 255-269.

พรศิริ บินนาราวี. (2555). การวิเคราะห์ข้อมูลความคาดหวัง การรับรู้ และการเปรียบเทียบความ คาดหวังและการรับรู้ของนักท่องเที่ยวที่มีต่อการท่องเที่ยวในอำเภอปาย จังหวัด แม่ฮ่องสอน. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, กรุงเทพมหานคร.

ภาณุมาศ เกตุแก้ว. (2561). แนวทางการพัฒนาการจัดการการท่องเที่ยวเรือสำราญ อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี. กรุงเทพฯ: คณะการจัดการการท่องเที่ยว สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดนครปฐม.(2561). กลุ่มส่งเสริมและพัฒนาด้านการท่องเที่ยว: การประชุมกลไกขับเคลื่อนไทยนิยมยั่งยืน. สืบค้นจาก https://nakhonpathom.mots.go.th/

สุเมธ เมฆ และ แสงแข บุญศิริ. (2563). ความคาดหวังและการรับรู้ของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีต่อคุณภาพการบริการที่พักประเภทรีสอร์ทในเกาะล้าน จังหวัดชลบุรี.วารสารสหวิทยาการ, 17(2), 103-133.

สุไรดา กาซอ. (2561). แนวทางการจัดการการท่องเที่ยวพื้นที่ตำบลทุ่งหว้า อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล. กรุงเทพฯ: คณะการจัดการการท่องเที่ยว สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

โสภิตา ถาวร และสมทรง บุรุษพัฒน์. (2561). การใช้เกณฑ์ทางภาษาศาสตร์จัดกลุ่มย่อยภาษาไทดำและข้อสนับสนุนการอพยพย้ายถิ่นฐาน. วารสารภาษาและวัฒนธรรม, 37(2), 61-86.

แสงแข บุญศิริ. (2558). แนวทางการพัฒนามาตรฐานการให้บริการและความปลอดภัยในศูนย์การค้าเพื่อการท่องเที่ยว. International Thai Tourism Journal, 11(2), 25-42.

สุภาพร อรรคพิณ และนานา ศรีธรรมศักดิ์ (2560). การวิเคราะห์วิจัยการท่องเที่ยวในบริบทของประชาคมอาเซียน.วารสารศิลปศาสตร์ มทร.ธัญบุรี, 1(1), 1-33.

อรไท ครุฑเวโช, โยษิตา แย้มมา, ปภาวรินทร์ สีนะ, พิชญดา จูละพันธ์, ธีรนาถ วจนะคัมภีร์ และวรพจน์ ตรีสุข. (2564). การพัฒนาการท่องเที่ยวตามแนวคิดส่วนประสมทางการตลาดบริการในมุมมองของนักท่องเที่ยวเจนวายที่เดินทางท่องเที่ยวจังหวัดเชียงใหม่ ในสภาวะวิกฤตการแพร่ระบาดของ COVID-19. วารสารรัชต์ภาคย์, 15(41), 242-258.

Buhalis, D. (2000). Marketing the Competitive Destination of the Future. Tourism Management, 21(1), 97-116.

Cochran, W.G. (1977). Sampling Techniques (3rd ed.). New York: John Wiley & Sons.

Dickman, s. (1996). Tourism: An Introductory Text. (2nd ed.). Australia: Hodder Education.

Marin, A., & Wellman, B. (2011). Social network analysis: An introduction. The SAGE handbook of social network analysis. London: SAGE Publications.

Martilla, J.A. and James, J.C. (1977). Importance-Performance Analysis. Journal of Marketing, 41, 77-79.

Parasuraman, A., Zeithaml, V. A., & Berry, L.L. (1988). SERVQUAL: A multiple-item scale for measuring customer perceptions of service quality. Journal of retailing, 64, 12-40.

Ruiz-Ballesteros, E. (2011). Social-ecological resilience and community-based tourism: An approach from Agua Blanca, Ecuador. Tourism Management, 32(3), 655-666.

Samovar, L. A., et al. (2016). Communication between cultures. USA: Cengage Learning.

Sönmez, S. F. and A. R. Graefe. (1998). Influence of terrorism risk on foreign tourism decisions. Annals of Tourism Research, 25(1), 112-144.

Stone., L., & Stone, T. (2011). Community-based tourism enterprises: Challenges and prospects for community participation; Khama Rhino Sanctuary Trust, Botswana. Journal of Sustainable Tourism, 19(1), 97-114.

Strydom, A. J., et al. (2018). Economic sustainability guidelines for a community-based tourism project: The case of Thabo Mofutsanyane, free state province. African Journal of Hospitality, Tourism and Leisure, 7(5), 1-17.

Zhitang Chen. (2017). The expectations and Perceptions of Chinese Tourists in Mueang Chiangmai Districts, Chiangmai Province (Independent study). Chiang Mai: Ratjabhat University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-29