สมรรถนะของผู้ตรวจการพยาบาลนอกเวลาด้านการควบคุมคุณภาพและจริยธรรม ที่โรงพยาบาลเอกชน ระดับทุติยภูมิ
คำสำคัญ:
สมรรถนะของผู้ตรวจการพยาบาลนอกเวลา, การควบคุมคุณภาพจริยธรรม, โรงพยาบาลเอกชนระดับทุติยภูมิบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา วัตถุประสงค์เพื่อกำหนดสมรรถนะของผู้ตรวจการพยาบาลนอกเวลาด้านการควบคุมคุณภาพและจริยธรรม ที่โรงพยาบาลเอกชน ระดับทุติยภูมิ โดยใช้เทคนิคเดลฟาย ผู้เชี่ยวชาญผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้บริหารระดับสูง และระดับกลาง จำนวน 19 คน ซึ่งได้จากการเลือกแบบเจาะจงเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสำรวจและแบบสอบถามความคิดเห็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับสมรรถนะของผู้ตรวจการพยาบาลนอกเวลา ด้านการควบคุมคุณภาพและจริยธรรมที่โรงพยาบาลเอกชน ระดับทุติยภูมิ วิเคราะห์โดยการหาค่ามัธยฐาน และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์
ผลการวิจัยพบว่า สมรรถนะของผู้ตรวจการพยาบาลนอกเวลาที่ได้จากฉันทามติของผู้เชี่ยวชาญโดยมีค่ามัธยฐานอยู่ระหว่าง 4.5-5 และมีค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ 0.00-1.00 ประกอบด้วย สมรรถนะที่สำคัญ 2 ด้านคือ ด้านการควบคุมคุณภาพและด้านจริยธรรม ประกอบด้วย ด้านความรู้ ด้านทักษะ ด้านความคิดเห็นเกี่ยวกับตนเอง ด้านบุคลิกลักษณะประจำตัวของบุคคล และด้านแรงจูงใจและเจตคติซึ่ง สมรรถนะ รวมทั้งหมด 27 ข้อ ด้านควบคุมคุณภาพ มีข้อย่อย 15 ข้อ สมรรถนะด้านจริยธรรม มีข้อย่อย 12 ข้อ จากข้อค้นพบในงานวิจัยครั้งนี้ ผู้บริหารทางการพยาบาลระดับสูง สามารถนำผลการวิจัยนี้ไปใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนาและประเมินสมรรถนะด้านการควบคุมคุณภาพและจริยธรรม ของผู้ตรวจการพยาบาลนอกเวลา ก่อนเข้าสู่ตำแหน่งผู้ตรวจการพยาบาลนอกเวลา รวมทั้งผู้บริหารองค์การพยาบาลในโรงพยาบาลสามารถนำผลการวิจัยครั้งนี้ไปประยุกต์ในการบริหารหน่วยงาน โดยนำผลการวิจัยนี้ไปใช้สร้างเครื่องมือ ในการประเมินและพัฒนาสมรรถนะของผู้ตรวจการพยาบาลนอกเวลาของโรงพยาบาลเอกชนได้
References
จงกลนี กิติยานันท์. (2559). ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างทักษะการติดสินใจเชิงจริยธรรมของผู้บริหารการพยาบาลในโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดชลบุรี (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยคริสเตียน, นครปฐม.
จารุณี ดวงจำปา และมณีรัตน์ ภาคธูป. (2560). คุณภาพบริการพยาบาลตามความคาดหวังและการรับรู้ของผู้ป่วยประกันสังคม โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอิสเทิร์น ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 11(2), 215-226.
พาณิภัค โพธิ์เงิน, สุรชาติ ณ หนองคาย, และกิติพงษ์ หาญเจริญ. (2556). การปฏิบัติตามข้อบังคับสภาการพยาบาลว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ พ.ศ. 2550 ของพยาบาลวิชาชีพ ในโรงพยาบาลราชวิถี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพฯ, 29(1), 15-30.
เพ็ญจันทร์ แสนประสาน และสายสมร เฉลยกิตติ. (2560). การตัดสินใจเชิงจริยธรรมในการปฏิบัติการพยาบาลที่เกี่ยวข้องกับความเสี่ยงของพยาบาลไทยตามการรับรู้ของผู้บริหารทางการพยาบาล. วารสารพยาบาลทหารบก, 18(1), 194-205.
ภัคพร บุญเคล้า. (2555). ยุทธวิธีการพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กโดยใช้ปัจจัยบริหารที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนในเขตตรวจราชการที่ 13. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง, กรุงเทพฯ.
สภาการพยาบาล. (2556). สมรรถนะผู้บริหารการพยาบาล. กรุงเทพฯ: จุดทอง.
สภาการพยาบาล. (2562). คู่มือส่งเสริมจริยธรรมสำหรับองค์การพยาบาล: กลไกและการปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: จุดทอง.
โสรัจจะราช เถระพันธ์. (2561). คุณภาพการบริการและการบริหารความสัมพันธ์กับผู้รับบริการที่ส่งผลต่อความไว้วางใจ ความพึงพอใจ และความภักดีของผู้ใช้บริการโรงพยาบาลเอกชน ในจังหวัดปทุมธานี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, กรุงเทพฯ.
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2553). คู่มือการกำหนดความรู้ ความสามารถ ทักษะและ สมรรถนะสำหรับตำแหน่ง. กรุงเทพฯ: ประชุมช่างการพิมพ์.
Kohlberg, L. (1976). Moral Stages and Moralization: The Cognitive-Development Approach. In T. Lickona (Ed.), Moral Development and Behavior: Theory and Research and Social Issues (pp. 31-53). New York: Holt, Rienhart, and Winston.
Marquis, B. L., & Huston, C. J. (2012). Leadership Roles and Management Functions in Nursing: Theory and Application. (9thed.). Philadelphia: Wolters Kluwer Health/ Lippincott Williams & Wilkins.
McClelland, D. C. (1998). Identifying Competencies with Behavioral-Event Interviews. Psychological Science, 9(5), 331-339. Retrieved from https://doi.org/10.1111/1467-9280.00065
Mitchell, P. H. (2016). Patient safety and quality: An evidence-base handbook for nurse. Retrieved from https://www.ncbi.nlm.nih.gov/book/NBK2681/
Parasuraman, A., Zeithaml, V. A., & Berry, L. L. (1990). Delivery quality service: Balancing customer perception and expectation. New York: The Free Press.
Ward, P. T., Bicklordn. J. & Leong, G K. (1996). Configruations of manufacturing, Strategy, Bussiness Strategy. Enviroment and Structure. Journal of Management, 22(4), 579-626.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
Versions
- 2022-12-20 (2)
- 2022-09-29 (1)
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 มหาวิทยาลัยคริสเตียน
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.