บทเรียนจากการทำงานที่บ้าน (Work From Home) ของบุคลากรมหาวิทยาลัยทักษิณ ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19
คำสำคัญ:
การทำงานที่บ้าน, มหาวิทยาลัยทักษิณ, สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิดบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับการทำงานที่บ้านของบุคลากรมหาวิทยาลัยทักษิณ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการทำงานที่บ้านของบุคลากรมหาวิทยาลัยทักษิณ และแนวทางการบริหารจัดการการทำงานที่บ้านของบุคลากรมหาวิทยาลัยทักษิณ ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 300 คน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสัดส่วน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน
ผลการวิจัยพบว่า 1) ความคิดเห็นการทำงานที่บ้านของบุคลากรมหาวิทยาลัยทักษิณ โดยภาพรวมเห็นด้วยอยู่ในระดับมาก (x̄= 3.97) 2) ปัจจัยด้านคน ปัจจัยด้านเทคโนโลยี ปัจจัยด้านกระบวนการทำงาน และปัจจัยด้านนโยบายขององค์กร มีความสัมพันธ์กับความคิดเห็นการทำงานที่บ้านของบุคลากรมหาวิทยาลัยทักษิณ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 3) แนวทางการบริหารจัดการการทำงานที่บ้านของบุคลากรมหาวิทยาลัยทักษิณควรมีการติดต่อสื่อสารและการประสานงานได้สะดวกมากยิ่งขึ้น ปรับปรุงทางด้านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของมหาวิทยาลัย กำหนดขั้นตอนการทำงานที่ชัดเจน ลดขั้นตอน ให้เอื้อต่อการทำงานที่บ้านโดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการทำงานและสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน และมหาวิทยาลัยมีการกำหนดและประกาศนโยบายการจัดการตามสถานการณ์อย่างชัดเจน
References
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2563). ประกาศกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เรื่องมาตรการและการเฝ้าระวังการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (Covid-19) (ฉบับที่ 5) : การปฏิบัติงานที่บ้าน (Work from home) 17 มีนาคม 2563. กรุงเทพฯ: กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.
ชาลิณี ฐิติโชติพณิชย์ (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการใช้ระบบการทำงานทางไกล (Telework) ของพนักงาน กรณีศึกษาบริษัทเอกชนแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.
ธนชาติ นุ่มมนท์.(2563). Work from home ปัจจัยเรื่องของคน เทคโนโลยี และนโยบายขององค์กร. สืบค้นจาก https://thanachart.org/2020/03/31/work-from-home
ประชาชาติธุรกิจ. (2562). ทำงานที่บ้านอย่างไรให้ได้งาน. สืบค้นจาก https://www.prachachat.net/csr-hr/news-396699
ปิ่นสุดา ภู่วิภาดาวรรธน์. (2563). Work from home ความปกติรูปแบบใหม่ของการทำงานอนาคต. สืบค้นจาก https://www.scbam.com/th/knowledge/coo-talk/coos-talk-26052020
ปุริศ ขันธเสมา. (2563). ความพึงพอใจในการทำงานที่บ้านในช่วงโควิดระบาด โควิด-19 ของกลุ่มงานพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคล สำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ. (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสยาม, กรุงเทพฯ.
พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ (2563). “Work from home” ไม่เป็นอุปสรรคต่อการทำงานของสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ. สืบค้นจาก https://mgronline.com/greeninnovation/detail/9630000054402
มหาวิทยาลัยทักษิณ. (2563). ประกาศมหาวิทยาลัยเกี่ยวกับมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid – 19) วิทยาเขตสงขลาและวิทยาเขตพัทลุง. สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ.
มหาวิทยาลัยทักษิณ. (2564). ประกาศมหาวิทยาลัยทักษิณเรื่อง หลักเกณฑ์การเยียวยานิสิต กรณีสถานการณ์ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564. สงขลา:มหาวิทยาลัยทักษิณ.
วีรยา อิทธิพัฒน์ภาคิน และอานนท์ ทับเที่ยง. (2562). การศึกษาทัศนคติในมุมมองของพนักงานที่มีผลต่อการทำงานที่บ้าน. Engineering Transaction, 22(2), 105-111.
สำนักงานอิศรา. (2563). เจาะเบื้องลึก! หลังโควิดฯระบาด จนท.รัฐ-ราชการ‘ทำงานที่บ้าน’อย่างไร-สำเร็จแค่ไหน?. สืบค้นจาก https://www.isranews.org/article/isranews-scoop/89024-isranews-20.html
เสาวรัจ รัตนคำฟู และเมธาวี รัชตวิจิน. (2563). ผลกระทบของการทำงานที่บ้าน (Work from home) ในช่วงโควิด-19: กรณีศึกษาของทีดีอาร์ไอ. สืบค้นจาก https://tdri.or.th/2020/05/impact-of-working-from-home-covid-19/
Alipour, J., Fadinger, H., & Schymik., J. (2021). My home is my castle – the benefits of working from home during a pandemic crisis. Retrieved from https://doi.org/10.1016/j.jpubeco.2021.104373.
BBC News. (2020). โควิด-19: ครม. เห็นชอบต่ออายุ พ.ร.ก.ฉุกเฉินถึง 31 ส.ค. นายกฯ ย้ำ "ไม่ได้ห้ามชุมนุม". สืบค้นจาก https://www.bbc.com/thai/thailand-53495748
Berniell, L. & Fernandez, D. (2021). Jobs’ amenability is not enough: the role of household Inputs for safe work under social distancing in Latin American cities. Retrieved from https://doi.org/10.1016/j.worlddev.2020.105247.
Casale, D. & Posel, D. (2021). Gender inequality and the covid-19 crisis: Evidence from a large national survey during South Africa’s lockdown. Retrieved from https://doi.org/10.1016/j.rssm.2020.100569.
Crosbie, T., & Moorwe, J. (2004). Work-life balance and working from home. Retrieved from https://www.researchgate.net/publication/273761672
Fishbein, M., & Ajzen, I. (2010). Predicting and changing behavior: The reasoned action approach. New York: Psychology Press.
Forsythe, E., Kahnb, L.B., Lange, F. & Wiczer, D. (2020). Labor demand in the time of covid-19: Evidence from vacancy postings and ui claims. Retrieved from https://doi.org/10.1016/j.pubeco.2020.104238
Hoenig, K. & Wenz, S.E. (2020). Education, health behavior, and working conditions during the pandemic: Evidence from a German sample. Retrieved from https://www.tandfonline.com/doi/full/10.1080/14616696.2020.1824004
Obdržálková, E., & Michala M. (2022). Pros and cons of home office during the covid-19 pandemic. Retrieved from https://www.shs-conferences.org/articles/shsconf/pdf/2022/05/shsconf_eccw2022_01023.pdf
Shibata, I. (2020). The distributional impact of recessions: The global financial crisis and the covid-19 pandemic recession. Retrieved from https://www.sciencedirect.com/science/ article/abs/pii/S014861952030415X
The Bangkok Insigh. (2020). COVID today. Retrieved from https://www.thebangkokinsight.com/415608/
Ward, H. (2017). The impact that working from home has on the overall motivation and performance levels of employees working within a banking organization. (Master’s Thesis). National College of Ireland, UK.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 มหาวิทยาลัยคริสเตียน
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.