การศึกษาคุณลักษณะความฉลาดรู้การเผชิญปัญหาของผู้สูงอายุ

ผู้แต่ง

  • สุปราณี แตงวงษ์ นิสิตหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยและพัฒนาหลักสูตร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • ดนุลดา จามจุรี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาวิชาการวิจัยและพัฒนาหลักสูตร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • มารุต พัฒผล รองศาสตราจารย์ สาขาวิชาการวิจัยและพัฒนาหลักสูตร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • จิตรา ดุษฎีเมธา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาวิชาการวิจัยและพัฒนาหลักสูตร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

คุณลักษณะ, ความฉลาดรู้การเผชิญปัญหา, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

         การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความฉลาดรู้การเผชิญปัญหาของผู้สูงอายุ เป็นการศึกษาเอกสารร่วมกับการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้สูงอายุที่ได้รับรางวัลผู้สูงอายุต้นแบบทางด้านสุขภาพ จำนวน 10 คน ด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา ตีความสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย

         ผลการศึกษาพบว่า ผู้ให้ข้อมูลให้ความสำคัญในการพัฒนาความฉลาดรู้การเผชิญปัญหาของผู้สูงอายุว่าเป็นการเตรียมความพร้อมของผู้สูงอายุที่จะต้องดำเนินชีวิตในวัยสูงอายุได้อย่างเหมาะสม และไม่เป็นภาระกับคนในครอบครัว โดยความฉลาดรู้การเผชิญปัญหาของผู้สูงอายุ จำแนกได้ 3 องค์ประกอบ และ 9 พฤติกรรมบ่งชี้ ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 การเข้าใจปัญหา มี 3  พฤติกรรมบ่งชี้ ได้แก่ 1) การรับรู้ปัญหาที่เคยมีประสบการณ์หรือเคยพบเจอ 2) การสื่อความหมายเกี่ยวกับปัญหาที่พบเจอให้กับผู้อื่น และ 3) การอธิบายปัญหานั้น ๆ ได้อย่างเป็นเหตุเป็นผล องค์ประกอบที่ 2 การตัดสินใจปรับตัวเพื่อแก้ปัญหา มี 3 พฤติกรรมบ่งชี้ ได้แก่ 1) การกำหนดทางเลือกในการตัดสินใจปรับตัวเพื่อแก้ปัญหา 2) วิเคราะห์ผลดีผลเสียเกี่ยวกับทางเลือกในการปฏิบัติเพื่อการเผชิญปัญหา และ 3) เลือกวิธีปฏิบัติในการแก้ปัญหา องค์ประกอบที่ 3 การจัดการตนเอง มี 3 พฤติกรรมบ่งชี้ ได้แก่ 1) การกำหนดเป้าหมาย วางแผน ปฏิบัติตามแผนที่กำหนดไว้ และประเมินผลการปฏิบัติในวิธีการแก้ปัญหา 2) การปรับเปลี่ยนวิธีปฏิบัติตนให้ถูกต้อง และ 3) การสะท้อนคิดให้กับตนเอง ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถนำคุณลักษณะความฉลาดรู้ในการเผชิญปัญหา และพฤติกรรมบ่งชี้ที่ได้จากการศึกษามาพัฒนาแนวทางเพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้การเผชิญปัญหาของผู้สูงอายุต่อไป

References

กิจปพน ศรีธานี. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางสุขภาพกับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข, 11(1), 26-36.

นภาพร วาณิชย์กุล. (2560). ความสัมพันธ์ของความแตกฉานทางสุขภาพ ผลจากการได้รับความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ และอิทธิพลทางสังคม กับผลลัพธ์ทางคลินิกของผู้ป่วย โรคเบาหวานชนิดที่ 2 และ/หรือความดันโลหิตสูง. วารสารสภาการพยาบาล, 32(2), 111-125.

เบญจา ยอดดำเนิน-แอ็ตติกจ์ และกาญจนา ตั้งชลทิพย์. (2552). การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ : การจัดการข้อมูลการตีความ และการหาความหมาย. นครปฐม : สถาบันวิจัยประชากรและสังคมมหาวิทยาลัยมหิดล.

ภารดี เทพคายน. (2564). การศึกษาระดับการรับรู้ และความเข้าใจของบุคลากรสายสนับสนุนสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ต่อนโยบายความเป็นเลิศด้านการปฏิบัติงานและพฤติกรรมที่สอดคล้องกับนโยบายความเป็นเลิศด้านการปฏิบัติงาน. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ : สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ภูริเดช พาหุยุทธ์ และคณะ. (2560). การวิเคราะห์องค์ประกอบของการเผชิญปัญหาเชิงบวกของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทิอร์น, 11(3), 9-24.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2563). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ : พริ้นเทอรี่.

วชิระ เพ็งจันทร์. (2560). ความรอบรู้ด้านสุขภาพ, ในเอกสารการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพบุคลากรกรมอนามัย เรื่อง ความรอบรู้สุขภาพมุ่งสู่ประเทศไทย, กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข, นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.

วรรณภา เหล่าไพศาลพงษ์. (2554). การศึกษาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและความสนใจในการเรียนภาษาไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่จัดการเรียนรู้แบบกระบวนการแก้ปัญหากับการจัดการเรียนรู้ตามคู่มือครู. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

วิภาวรรณ ลิขิตเลิศล้ำ. (2551). ความสามารถในการเผชิญปัญหาและฝ่าฟันอุปสรรค ปัจจัยสภาพแวดล้อมทางสังคมและปัจจัยลักษณะทางชีวสังคมที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิตของสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

สุวิณี วิวัฒน์วานิช, จิราพร เกศพิชญวัฒนา, และชาตินัย หวานวาจา. (2564). ชุดโครงการแผนพัฒนาวิชาการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย “สร้างเสริมพลังจุฬาฯ ก้าวสู่ศตวรรษที่ 2 ช่วงที่ 2” ปีงบประมาณ 2561-2563 นวัตกรรมการดูแล และพัฒนาระบบบริการสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุในพื้นที่กรุงเทพมหานคร. (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อภิญญา อินทรรัตน์. (2557). ความฉลาดทางสุขภาพของผู้ประกอบวิชาชีพด้านสุขภาพ. วารสารพยาบาลทหารบก, 15(3), 174-178.

อังศินันท์ อินทรกำแหง. (2560). การสร้างและพัฒนาเครื่องมือความรอบรู้ด้านสุขภาพของคนไทย. (รายงานการวิจัย). นนทบุรี : กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข.

อัจศรา ประเสริฐสิน, วรัญญา รุมแสง, และปุญญากรณ์ วีระพงษานันท์. (2561). แนวคิดและพฤติกรรมบ่งชี้ในเรื่องการจัดการตนเองอย่างสร้างสรรค์. วารสารสุขศึกษา, 41(2), 18-30.

Berkman, N.D., T.C. Davis, & L. McCormack. (2010). Health literacy: what is it? Journal Health Community, 15 (Suppl 2), 9-19.

Cohen, C. L., et al. (2011). General coping strategies and their impact on quality of life In older adults with schizophrenia. Journal of Applied Nursing Research, 127(1), 109-115.

European Literacy Policy Network. (2016). European Declaration of the Right to Literacy. Retrieved from http://www.elinet.eu/fileadmin/ELINET/Redaktion/user_upload/European_ Declaration_of_the_Right_to_Literacy2.pdf.

George, R., Nayak, A., & D’Souza, A. (2013). A comparative study on coping strategies and sense of coherence among caregivers of mentally and neurologically ill patients in Kasturba hospital, Manipal, Karnataka. Nitte University. Journal of Health Science, 3(2), 80-85.

Hoff, K.E., Ervin, R.A. (2013). Extending self-management strategies: the use of a class wide approach. Psychology in the Schools 2013, 50(2), 151-164.

Horton, F. W. (2007). Understanding information literacy: A primer. Paris, France : Secretariat UNESCO Communication and Information Sector.

Institute of Medicine-IOM. (2004). Health literacy: A prescription to end confusion. Retrieved from http://www.iom.edu/Reports/2004/health-literacy-a-prescriptionto-end-confusion.aspx.

Ishikawa H, Nomura K, Sato, M, & Yano E. (2008). Developing a measure of communicative and critical health literacy: a pilot study of Japanese office workers. Health Promotion International, 23(3), 269-274.

Jalowiec, A., et al. (1981). Coping, Expectancies and alcohol abuse: A test of social learning formulations. Journal of Abnormal Psychology, 97(2), 218–230.

Kwan, B., Frankish, J., & Rootman, I. (2006). The development and validation of measures of health literacy in different populations. Vancouver: Centre for Population Health Promotion Research. Retrieved from www.ihpr.ubc.ca

Lankshear, C. & Knobe, M. (2007). The New Literacies Sampler. New York: Peter Lang.

Lazarus, R.S., & Folkman, S. (1986). Stress, appraisal and coping. New York: Springer.

Mancuso, J.M. (2009). Health literacy: a concept/dimensional analysis. Nurse Health Science, 10, 248-255. doi: 10.1111/j.1442-2018.2008.00394.x.

Nutbeam, D., (2008). The evolving concept of health literacy. Social Science & Medicine, 67(12), 2072-2078.

OECD. (2020). Survey of Adult Skills (PIAAC). Retrieved from https://www.oecd.org/skills/piaac/

Rootman, I. (2009). Health literacy, what should we do about it? Presentation the faculty of education at the university of victoria. british. Columbia: Canada Personal Communication.

Schumacher, K.L. & Meleis, A.I. (1994). Transitions: A central concept in nursing. The Journal of Nursing Scholarship, 26, 119-127.

Sorensen, K., Van den Broucke, S., Fullam, J., Doyle, G., Pelikan, J., Slonska, Z., et al. (2012). Health literacy and public health: A systematic review and integration of definitions and models. BMC Public Health, 12(80), 1-13.

Stoltz, P. G. (1997). Adversity quotient: Turning obstacles into opportunities. New York: John Wiley & Sons.

Stoltz, P. G. & Weihenmayer, E. (2006). The adversity advantage: turning everyday struggles into everyday greatness. New York: Simon & Schuster.

Stoner, C. R., & Gilligan, J. F. (2002). Leader rebound: How successful managers bounce back from the tests of adversity. Business Horizons, 45(6), 17-24.

UNESCO. (2017). Literacy rates continue to rise from one generation to the next. Fact Sheet No. 45 September 2017 FS/2017/LIT/45. Retrieved from http://uis.unesco.org/sites/default/files/documents/fs45-literacy-rates-continue-rise-generation-to-next-en-2017.pdf.

World Health Organization. (2009). Health literacy and health promotion. definitions, concepts and examples in the eastern mediterranean region. Individual empowerment conference working document. (7th ed). Global Conference on Health Promotion Promoting Health and Development. Nairobi, Kenya.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-19