ผลของโปรแกรมการส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการลดน้ำหนักของวัยรุ่นตอนปลายที่มีภาวะอ้วน

ผู้แต่ง

  • ยุภา โพผา อาจารย์ประจำ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • ศิปภา ภุมารักษ์ อาจารย์ประจำ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

คำสำคัญ:

การรับรู้สมรรถนะแห่งตน, การลดน้ำหนัก, ภาวะอ้วน, วัยรุ่นตอนปลาย

บทคัดย่อ

          วิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่ม วัดก่อนหลังการทดลอง เพื่อเปรียบเทียบความรู้เกี่ยวกับภาวะอ้วนและการลดน้ำหนัก การรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อการลดน้ำหนัก พฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพในการลดน้ำหนัก และน้ำหนักตัว คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามเกณฑ์กำหนดด้วยการจับฉลาก กลุ่มละ 20 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการลดน้ำหนัก กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาได้ค่าเท่ากับ 0.86 และความเที่ยงแบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับภาวะอ้วนและการลดน้ำหนักได้ K-R 20 เท่ากับ 0.64 แบบสอบถามการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อการลดน้ำหนักและพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพในการลดน้ำหนักได้สัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.87 และ 0.91 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา การทดสอบวิลคอกซัน และการทดสอบแมนวิทเนย์ ผลวิจัย พบว่า

          1. หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับภาวะอ้วนและการลดน้ำหนัก การรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อการลดน้ำหนัก และพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพในการลดน้ำหนักสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 และมีน้ำหนักตัวลดลงจากก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001

          2. หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยความรู้เกี่ยวกับภาวะอ้วนและการลดน้ำหนัก การรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อการลดน้ำหนัก และพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพในการลดน้ำหนักสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 และมีน้ำหนักตัวลดลงมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001

          ผลการศึกษาครั้งนี้ ควรสนับสนุนให้เจ้าหน้าที่ได้รับการฝึกทักษะการส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนเพื่อนำโปรแกรมนี้ไปประยุกต์ใช้กับผู้ที่มีภาวะอ้วนในกลุ่มอื่น

References

กรฏา มาตรยากร. (2561). การพัฒนาโมเดลขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการออกกำลังกายของประชาชนวัยทำงาน. (วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฏีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

กรมการแพทย์ทางเลือก กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข. (2561). อาหารพร่องแป้ง (Low carb diet). นนทบุรี: วี อินดี้ ดีไซน์ จำกัด.

จักรพันธ์ เพ็ชรภูมิ. (2559). พฤติกรรมสุขภาพ: แนวคิด ทฤษฎี และการประยุกต์ใช้. (พิมพ์ครั้งที่ 2). พิษณุโลก : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ดิเรก อาสานอก.(2560). ผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านที่มีภาวะอ้วนลงพุง. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.

ทิพย์สุดา แสนดี .(2559). ผลการเสริมสร้างการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพน้ำหนัก และค่าน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหารของกลุ่มเสี่ยงเบาหวานในชุมชน. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

บัวรอง ลิ่วเฉลิมวงศ์. (2557). สรีรวิทยา เล่ม 2, ฉบับปรับปรุง. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ : เท็กซ์ แอนด์ เจอร์นัล พับลิเคชั่น จำกัด.

ปทิตตา รัตนจิระพงศ์. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการกระทำรุนแรงของนักเรียนชายอาชีวศึกษาในจังหวัดนครปฐม. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.

วรุณีย์ สีม่วงงาม และอนุชา เพียรชนะ. (2558). ผลของโปรแกรมลดน้ำหนักโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการรับรู้สมรรถนะแห่งตน ทฤษฎีขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมร่วมกับทฤษฎีแรงสนับสนุนทางสังคมของนักศึกษาพยาบาลที่มีภาวะน้ำหนักเกินมาตรฐาน มหาวิทยาลัยราชธานี. วารสารราชพฤกษ์, 13(2),115-123.

วิชัย เอกพลากร. (2564). รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2562-2563. กรุงเทพ: สำนักพิมพ์อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.

ศิรดา แสนพริก. (2560). ผลของโปรแกรมสุขศึกษาโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีความสามารถของตนเองในเด็กที่มีภาวะน้ำหนักเกิน ระดับประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนขจรเกียรติ จังหวัดภูเก็ต. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชน มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 5(2), 297-314.

สุพิณญา คงเจริญ. (2560). โรคอ้วน : ภัยเงียบในยุคดิจิทัล. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย, 11(3), 22-29.

Dzielska, A., Mazur, J., Nałęcz, H., Oblacińska, A., & Fijałkowska, A. (2020). Importance of self-efficacy in eating behavior and physical activity change of overweight and non-overweight adolescent girls participating in healthy me: a lifestyle intervention with mobile technology. Nutrients, 12(7), 2128.

Bandura, A. (2001). Social foundations of thought and action: A social cognitive theory. Englewood Cliffs, New Jersey: Prentice-Hall.

Demirci, N., Demirci, P. T., & Demirci, E. (2018). The effects of eating habits, physical activity, nutrition knowledge and self-efficacy levels on obesity. Universal Journal of Educational Research, 6(7), 1424-1430.

Prochaska, J. O., Redding, C. A., & Evers, K. (2008). The transtheoretical model and stage of change. Chapter 5 in K Glanz, BK Rimer and KV Viswanath (Eds). Health behavior and health education. In Theory research and practice (4th ed, pp. 170-222). San Francisco,CA: Jossey-Bass.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-03-24