ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการดูแลของผู้ดูแลด้านการรับประทานยาต่อเนื่อง ของเด็กสมาธิสั้นวัยเรียน
คำสำคัญ:
พฤติกรรมการดูแล, การรับประทานยาต่อเนื่อง, เด็กสมาธิสั้นวัยเรียน, ผู้ดูแลบทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงทำนาย เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายพฤติกรรมการดูแลของผู้ดูแลด้านการรับประทานยาต่อเนื่องของเด็กสมาธิสั้นวัยเรียน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่ดูแลเด็กสมาธิสั้นในวัยเรียน อายุ 6-12 ปี ที่มารับบริการที่คลินิกสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่น โรงพยาบาลจิตเวชแห่งหนึ่ง จำนวน 100 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ประกอบด้วย 5 ส่วน คือ 1) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป 2) แบบวัดทัศนคติผู้ดูแลเกี่ยวกับการใช้ยาสมาธิสั้น 3) แบบประเมินการรับรู้ของผู้ดูแลเกี่ยวกับการรับรู้ตราบาปของเด็กสมาธิสั้น 4) แบบประเมินการรับรู้ของผู้ดูแลเกี่ยวกับการเกิดผลข้างเคียงจากยารักษาสมาธิสั้น และ 5) แบบประเมินพฤติกรรมการดูแลของผู้ดูแลในด้านการรับประทานยาต่อเนื่องของเด็กสมาธิสั้น เครื่องมือดังกล่าวผ่านการตรวจสอบความตรงจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ได้ค่า CVI ของเครื่องมือส่วนที่ 2, 3, 4 และ 5 เท่ากับ .86, .84, 1 และ .93 ตามลำดับ และตรวจสอบความเที่ยง โดยคำนวณค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค ได้ค่าความเที่ยงของเครื่องมือส่วนที่ 2, 3, 4 และ 5 เท่ากับ 0.81, 0.93, 0.70 และ 0.86 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยายและวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณโดยวิธีลดตัวแปร
ผลการวิจัย พบว่า ตัวแปรปัจจัยทำนายสามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการดูแลของผู้ดูแลด้านการรับประทานยาต่อเนื่องของเด็กสมาธิสั้นวัยเรียน ได้ร้อยละ 10.4 (R2 = .104, p <.05) โดยตัวแปรที่สามารถทำนายพฤติกรรมการดูแลของผู้ดูแลด้านการรับประทานยาต่อเนื่องของเด็กสมาธิสั้นได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ ทัศนคติของผู้ดูแลเกี่ยวกับการใช้ยารักษาโรคสมาธิสั้น ( = .281, p < .05) ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถนำปัจจัยด้านทัศนคติของผู้ดูแลเกี่ยวกับการใช้ยารักษาสมาธิสั้นไปใช้ในการส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลของผู้ดูแลด้านการรับประทานยาต่อเนื่องของเด็กสมาธิสั้นวัยเรียนได้
References
กิตติพงศ์ มาศเกษม. (2563). โรคซนสมาธิสั้นในเด็กและวัยรุ่น. วารสารโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์, 16(2), 75-102.
กมลนัทธ์ คล่องดี, พัชรินทร์ นินทจันทร์, และโสภิณ แสงอ่อน. (2559). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับ ความเครียดในการดูแลเด็กในผู้ดูแลเด็กสมาธิสั้น. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 30(1), 52-68.
เกษศิรินทร์ นิลนนท์, รุ่งเพ็ชร สกุลบำรุงศิลป์, สิริพรรณ พัฒนาฤดี, และธีรารัตน์ แทนขำ. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อความร่วมมือในการใช้ยาเมทิลฟินิเดต ในผู้ป่วยเด็กและวัยรุ่นโรคสมาธิสั้น. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย, 28(1), 1-11.
ชาญวิทย์ พรนพดล. (2561). โรคสมาธิสั้น=Attention Deficit Hyperactivity Disorder. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล.
ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา. (2560). สมาธิสั้น. สืบค้นจาก http://www.happyhomeclinic.com/sp03-adhd.htm.
ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน, โชษิตา ภาวสุทธิไพศิฐ, พรทิพย์ วชิรดิลก, พัชรินทร์ อรุณเรือง, และธันวรุจน์ บูรณสุขสกุล. (2556). ความชุกโรคสมาธิสั้นในประเทศไทย. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย, 21(2), 66-75.
ประภัสสร ตันติปัญจพร และคมสันต์ เกียรติรุ่งฤทธิ์. (2559). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการกินยาอย่างสม่ำเสมอในผู้ป่วยวัยรุ่นที่เป็นโรคสมาธิสั้น. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 61(2), 131-144.
ภาสกร คุ้มศิริ, และอุ่นเรือน เล็กน้อย. (2560). บทความฟื้นฟูวิชาการ: โรคสมาธิสั้นและการตีตราบาปทางสังคม. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย, 7(3), 302-311.
วันรวี พิมพ์รัตน์. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้และทัศนคติของ ผู้ปกครองกับความสม่ำเสมอในการกินยา methylphenidate ของเด็กสมาธิสั้น. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 61(1), 15-26.
วิฐารณ บุญสิทธิ. (2555). โรคสมาธิสั้น: การวินิจฉัยและรักษา. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 57(4), 373-386.
สถาบันราชานุกูล. (2557). เด็กวัยเรียนที่มีความต้องการพิเศษ. สืบค้นจาก http://rajanukul.go.th/new/_admin/download/D0000073.pdf.
สมัย ศิริทองถาวร. (2560). คู่มือการคัดกรองและปรับพฤติกรรมเด็กที่มีอาการสมาธิสั้น สำหรับผู้ปกครอง. เชียงใหม่: สยามพิมพ์นานา.
สุพร อภินันทเวช. (2559). การรักษาโรคสมาธิสั้นด้วยยาและจิตสังคมบำบัดในประเทศไทย. Siriraj Medical Bulletin, 9(3), 175-181.
อธิชาดา อธิพงษ์อาภรณ์, และนิดา ลิ้มสุวรรณ. (2561). สาเหตุของการขาดการติดตามการรักษาอย่างต่อเนื่องในผู้ป่วยโรคสมาธิสั้น วัยเด็กและวัยรุ่น. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 63(1), 33-46.
Abdisa, E., Fekadu, G., Girma, S., Shibiru, T., Tilahun, T., Mohamed, H., ... & Tsegaye, R. (2020). Self-stigma and medication adherence among patients with mental illness treated at Jimma University Medical Center, Southwest Ethiopia. International Journal of Mental Health Systems, 14(1), 1-13.
Ahmed, R., Borst, J., Wei, Y. C., & Aslani, P. (2017). Parents’ perspectives about factors influencing adherence to pharmacotherapy for ADHD. Journal of Attention Disorders, 21(2), 91-99.
Boudreau, A., & Mah, J. W. (2020). Predicting Use of Medications for Children with ADHD: The Contribution of Parent Social Cognitions. Journal of the Canadian Academy of Child and Adolescent Psychiatry, 29(1), 26-32.
Brinkman, W. B., Simon, J. O., & Epstein, J. N. (2018). Reasons why children and adolescents with attention-deficit/hyperactivity disorder stop and restart taking medicine. Academic Pediatrics, 18(3), 273-280.
Chanpen, S., Pornnoppadol, C., Atsariyasing, W., & Hosiri, T. (2018). Validity of Thai ADHD Screening Scales to Screen ADHD Patients with Comorbid Disorders: Retrospective Study. Journal of the Psychiatric Association of Thailand, 63(3), 213-226.
De las Cuevas, C., & Peñate, W. (2015). Psychometric properties of the eight-item Morisky Medication Adherence Scale (MMAS-8) in a psychiatric outpatient setting. International Journal of Clinical and Health Psychology, 15(2), 121-129.
Edgcomb, J. B., & Zima, B. (2018). Medication Adherence among Children and Adolescents with Severe Mental Illness: A Systematic Review and Meta-Analysis. Journal of Child and Adolescent Psychopharmacology, 28(8), 508-520.
Gajria, K., Lu, M., Sikirica, V., Greven, P., Zhong, Y., Qin, P., & Xie, J. (2014). Adherence, persistence, and medication discontinuation in patients with attention-deficit/hyperactivity disorder–a systematic literature review. Neuropsychiatric Disease and Treatment, 10, 1543-1569.
Kellison, I., Bussing, R., Bell, L., & Garvan, C. (2010). Assessment of stigma associated with attention-deficit hyperactivity disorder: Psychometric evaluation of the ADHD Stigma Questionnaire. Psychiatry Research, 178(2), 363-369.
Morisky, D. E., Ang, A., Krousel‐Wood, M., & Ward, H. J. (2008). Predictive validity of a medication adherence measure in an outpatient setting. The Journal of Clinical Hypertension, 10(5), 348-354.
Nagae, M., Nakane, H., Honda, S., Ozawa, H., & Hanada, H. (2015). Factors affecting medication adherence in children receiving outpatient pharmacotherapy and parental adherence. Journal of Child and Adolescent Psychiatric Nursing, 28(2), 109-117.
Rashid, M. A., Lovick, S., & Llanwarne, N. R. (2018). Medication-taking experiences in attention deficit hyperactivity disorder: a systematic review. Family Practice, 35(2), 142-150.
Ross, M., Nguyen, V., Bridges, J. F., Ng, X., Reeves, G., & Frosch, E. (2018). Caregivers’ priorities and observed outcomes of Attention-Deficit/Hyperactivity Disorder medication for their child. Journal of Developmental and Behavioral Pediatrics, 39(2), 93-100.
Safavi, P., Saberzadeh, M., & Tehrani, A. M. (2019). Factors associated with treatment adherence in children with attention deficit hyperactivity disorder. Indian Journal of Psychological Medicine, 41(3), 252-257.
Thorndike, R. M. (1978). Correlation Procedures for Research. New York: Gardner Press.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 มหาวิทยาลัยคริสเตียน
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.