ผลของการฝึกพลัยโอเมตริกควบคู่กับการฝึกด้วยน้ำหนักที่มีต่อ พลังกล้ามเนื้อขาของนักกีฬาฟุตบอล

ผู้แต่ง

  • จักรี อย่าเสียสัตย์ อาจารย์ประจำ สาขาวิชาพลศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

คำสำคัญ:

การฝึกพลัยโอเมตริก, การฝึกด้วยน้ำหนัก, พลังกล้ามเนื้อขา

บทคัดย่อ

         การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาผลการฝึกพลัยโอเมตริกควบคู่กับการฝึกด้วยน้ำหนักที่มีต่อพลังกล้ามเนื้อขาของนักกีฬาฟุตบอล กลุ่มตัวอย่างเป็นนักกีฬาฟุตบอลชาย ที่มีอายุระหว่าง 19-24 ปี จำนวน 30 คน ซึ่งใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง และทำการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) แบ่งกลุ่มตัวอย่าง เป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มทดลอง จำนวน 15 คน ทำการฝึกพลัยโอเมตริกควบคู่กับการฝึกด้วยน้ำหนักร่วมกับการฝึกตามปกติ และนักกีฬากลุ่มควบคุม จำนวน 15 คน ทำการฝึกตามปกติเพียงอย่างเดียว วันละ 1 ชั่วโมง สัปดาห์ละ 2 วัน ระยะเวลาในการฝึก 8 สัปดาห์ ทำการทดสอบพลังของกล้ามเนื้อขาโดยวิธี Margaria-Kalamen Test ก่อนการฝึก หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 และสัปดาห์ที่ 8 วิเคราะห์ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ ทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธีการของ Bonferroni และกำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

         ผลการวิจัยพบว่า

         กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยของพลังกล้ามเนื้อขา หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 มากกว่าก่อนการฝึก และหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 มากกว่าก่อนการฝึกและหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

         กลุ่มควบคุมมีค่าเฉลี่ยของพลังกล้ามเนื้อขา หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 มากกว่าก่อนการฝึกและหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

         หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยของพลังกล้ามเนื้อขามากกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). ยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวและกีฬา ฉบับที่ 4 (2560-2564). กรุงเทพฯ: กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

กรมพลศึกษา. (2560). การทดสอบสมรรถภาพทางกายภาคสนาม กีฬาฟุตบอล-ฟุตซอล วอลเลย์บอล แบดมินตัน. กรุงเทพฯ: บริษัท ซัน แพคเกจจิ้ง (2014) จำกัด.

เจริญ กระบวนรัตน์. (2557). วิทยาศาสตร์การฝึกสอนกีฬา Science of Coaching. กรุงเทพฯ: บริษัท สินธนาก๊อปปี้เซ็นเตอร์ จำกัด.

ปรเมษฐ์ วงษ์พุทธิชัย (2563). ผลของการฝึกโปรแกรมพลัยโอเมตริกแบบประยุกต์ต่อความแข็งแรงและกำลังของกล้ามเนื้อในนักกีฬามวยไทยชาย. ศรีนครินทร์เวชสาร, 32(2), 164-171.

ไพรัช คงกิจมั่น (2562). ผลของโปรแกรมการฝึกพลัยโอเมตริกที่มีต่อพลังกล้ามเนื้อและทักษะกีฬาบาสเกตบอลของนักกีฬาบาสเกตบอลเยาวชนชายโรงเรียนไตรมิตรวิทยาลัย. วารสารสุขศึกษาพลศึกษา และสันทนาการ, 45(2), 135-154.

ไพรัช ทศคำไชย (2562). ผลของการฝึกพลัยโอเมตริกด้วยเทคนิค Jump Over Barrier ที่มีต่อพลังกล้ามเนื้อขาของผู้เรียนวิชายิมนาสติก. วารสารสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการ, 45(1), 1-11.

เมลานี อุระสนิท (2563). ผลฉับพลันของการแบกน้ำหนักกระโดดด้วยความหนักแตกต่างกันที่มีต่อพลังสูงสุดในนักกีฬาวอลเลย์บอลหญิง. วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ, 21(1), 75-83.

สุทธิกร อาภากุล. (2562). การวางแผนการพัฒนาความแข็งแรง. วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ, 20(3), 1-14.

อดิศักดิ์ สาบวช (2562) ผลของการฝึกด้วยแรงต้านความหนักต่ำร่วมกับความหนักสูงที่มีต่อความแข็งแรงและพลังกล้ามเนื้อขา. วารสารสุขศึกษา พลศึกษา และสันทนาการ, 45(2), 298-307.

Abdulhameed, A. A. (2020). The Effects of Plyometric and Resistance Training on Selected Fitness Variables among University Soccer-Playing Adults. Annals of Applied Sport, 8(3), 1-5.

Adhimoolam. (2020). Effects of Plyometric Training and Weight Training on Muscular Strength of Professional College Men Players. Journal of Information and Computational Science, 8(1), 332-337.

Bompa, T.O. & Carrera, M. (2005). Periodization: Training for Sports. Champaing. IL: Human Kinetics.

Bouteraa et.al. (2020). Effects of Combined Balance and Plyometric Training on Athletic Performance in Female Basketball Players. The Journal of Strength and Conditioning Research, 34(7), 1,967-1,973.

Gregory. H., & Travis, T. (2016). Essentials of Strength Training and Conditioning. United States: Human Kinetics.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-29