ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมสุขภาพกับการเกิดโรคอ้วน ของนักเรียนในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก

ผู้แต่ง

  • พงษ์เอก สุขใส ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • ทัศนา จารุชาต ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

ความรู้, ทัศนคติ, พฤติกรรมสุขภาพ, โรคอ้วน

บทคัดย่อ

       การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมสุขภาพกับการเกิดโรคอ้วนของนักเรียนในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก และ 2) หาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติ พฤติกรรมสุขภาพกับดัชนีมวลกายของนักเรียนในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้นที่ศึกษาในโรงเรียนของภาครัฐและเอกชนในเขตอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 224 คน  อายุ 8 - 12 ปี  ใช้การเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม หาค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามและวัตถุประสงค์ (Index of Item Objective Congruence: IOC) อยู่ระหว่าง 0.67-1.00 วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยใช้สถิติการทดสอบค่าที (Independent samples t-test) และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของตัวแปรโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s product moment correlation coefficient)

      ผลการศึกษาพบว่า นักเรียนมีภาวะน้ำหนักเกินและอ้วนคิดเป็นร้อยละ 14.29 และ 85.71 ตามลำดับ และมีคะแนนเฉลี่ยในภาพรวมด้านความรู้เกี่ยวกับโรคอ้วนระดับน้อย (5.24 ± 1.72) ทัศนคติต่อโรคอ้วนอยู่ในระดับไม่ดี (2.30 ± 0.99) และพฤติกรรมสุขภาพระดับปฏิบัติน้อย (2.42 ± 0.96) โดยความรู้ (r = -.18, p<0.01) และพฤติกรรมสุขภาพ (r = -.14, p<0.05) สัมพันธ์เชิงลบกับดัชนีมวลกาย แต่ไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติกับดัชนีมวลกาย (r = -.01, p>0.05) สรุปได้ว่า ความรู้เกี่ยวกับโรคอ้วนที่ไม่ถูกต้องและพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของนักเรียนส่งผลต่อดัชนีมวลกายที่บ่งชี้ถึงการเป็นโรคอ้วนได้ ดังนั้น สถานศึกษาจึงควรสนับสนุนการอบรมให้ความรู้ภาคทฤษฎีและภาคปฎิบัติด้านสุขภาพให้แก่นักเรียนทั้งระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาเพื่อช่วยให้เกิดพฤติกรรมสุขภาพที่ดีขึ้น

References

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2557). แนวโน้มเด็กไทยอ้วนอันดับหนึ่งของโลก (ตอนที่ 1). นนทบุรี: สำนักโภชนาการ กรมอนามัย.

กรมอนามัย. (2558). ข้อแนะนำการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพในเด็ก. สืบค้นจาก http://thaihealth.or.th/content/25238-การออกกำลังกายในวัยต่างๆ.html

กัลยาณี โนอินทร์. (2560). ภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนในวัยเรียนและวัยรุ่นไทย. วารสารพยาบาลทหารบก, 18(ฉบับพิเศษ), 1-8.

เครือวัลย์ ปาวิลัย. (2550). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกินเกณฑ์มาตรฐานในนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา (บางเขน). (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

ฉวีวรรณ ศรีดาวเรือง, จิราพร วรวงศ์, อัจฉราวดี ศรียะศักดิ์, จุฬารัตน์ ห้าวหาญ และ พรพรรณ มนสัจจกุล. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกาย ของผู้ใหญ่วัยกลางคนที่มีภาวะน้ำหนักเกินในชนบท. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9, 14(35), 464-482.

ไฉไล เที่ยงกมล, กานดามณี พานแสง, ส่งศรี รัตนมาลาวงศ์ และ อารญา โถวรุ่งเรือง. (2558). พฤติกรรมการป้องกันโรคอ้วนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6. วารสารพยาบาลตำรวจ, 7(2), 1-15.

ชมรมโภชนาการเด็กแห่งประเทศไทย ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย. (2557). แนวทางเวชปฏิบัติการป้องกันและรักษาโรคอ้วนในเด็ก พ.ศ. 2557. สืบค้นจาก http://www.thaipediatrics.org/Media/media-20161208151655.pdf

ทัศนา จารุชาต. (2563). การทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติและความแปรปรวนของอัตราการเต้นของหัวใจในโรคอ้วน. วารสารวิทยาศาสตร์การกีฬาและสุขภาพ, 21(2), 177-194.

ปัทมาภรณ์ เจริญนนท์ และลัดดาวัลย์ กงพลี. (2561). ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติตนในการป้องกันโรคอ้วนของนักศึกษาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพรบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม ฉบับการประชุมวิชาการครบรอบ 25 ปี, 87-94.

ปุลวิชช์ ทองแตง และจันทร์จิรา สีสว่าง. (2555). ภาวะน้ำหนักเกินในเด็กไทย. รามาธิบดีพยาบาลสาร, 18(3), 287-297.

พิมพ์พิศา พันธ์มณี และสมคิด ปราบภัย. (2560). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมการลดความอ้วนโดยใช้ทฤษฎีพฤติกรรมตามแผนต่อพฤติกรรมลดน้ำหนักของเด็กวัยเรียนที่มีภาวะน้ำหนักเกิน. วชิรสารการพยาบาล, 19(2), 13-23.

มัลลิกา จันทร์ฝั้น. (2557). การศึกษาพฤติกรรมสุขภาพต่อโรคอ้วนของนิสิตสาขาวิชาสุขศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์.

อาภาพร เผ่าวัฒนา, สุรินธร กลัมพากร, สุนีย์ ละกำปั่น และ ขวัญใจ อำนาจสัตย์ซื่อ. (2554). การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในชุมชน : การประยุกต์แนวคิดและทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

อรุณรัศมี บุนนาค, พรรณรัตน์ แสงเพิ่ม, วีรยา จึงสมเจตไพศาล, ยุวดี พงษ์สาระนันทกุล และ วีนัส ลีฬหกุล. (2555). ผลของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายในเด็กวัยรุ่นที่มีภาวะน้ำหนักเกิน. วารสารพยาบาลศาสตร์, 30(4), 37-48.

อัศรีย์ พิชัยรัตน์ และวรารัตน์ ทิพย์รัตน์. (2557). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคและการออกกำลังกายตามแนวคิดพันธมิตรสุขภาพต่อนน้ำหนักตัวของเด็กวัยเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกินในเขตชนบท จังหวัดตรัง. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล, 30(3), 64-76.

Cochran, W.G. (1977). Sampling techniques. (3rd ed). New York: John Wiley & Sons.

Ghouse, S.M., Barwal, S.B., & Wattamwar, A.S. (2016). A review on obesity. Health Science Journal, 10(4), 1-5.

Green, L., & Kreuter, M. (2005). Health program planning: An educational and ecological approach. (4th ed). New York: McGraw-Hill.

Pender, N.J., Murdaugh, C., Parsons, M.A. (2011). Health promotion in nursing practice. (6th ed). Boston: Pearson.

Reilly, J.J., & Kelly, J. (2011). Long-term impact of overweight and obesity in childhood and adolescence on morbidity and premature mortality in adulthood: systemic review. International Journal of Obesity, 35(7), 891-898.

Reilly, J.J., Methven, E., McDowell, Z.C., Hacking, B., Alexander, D., Stewart, L., et al. (2003). Health consequences of obesity. Archives of Disease in Childhood, 88(9), 748-752.

Shin, Y.H., Hur, H.K., Pender, N.J., Jang, H.J., Kim, M.S. (2006). Exercise self-efficacy, exercise benefits and barriers, and commitment to a plan for exercise among Korean women with osteoporosis and osteoarthritis. International Journal of Nursing Studies, 43(1), 3-10.

Thomas, E.L., Makwana, A., Newbould, R., Rao, A.W., Gambarota, G., Frost, G.,....Beaver, J.D. (2011). Pragmatic study of orlistat 60 mg on abdominal obesity. European Journal of Clinical Nutrition, 65, 1256-1262.

World Health Organization. (2021). Obesity and overweight. Retrieved from https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/obesity-and-overweight

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-08-24