ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพโดยประยุกต์ตามทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรค ต่อพฤติกรรมการจัดการความเครียด ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

ผู้แต่ง

  • วงศกร สมัยเอี่ยม นิสิตหลักสูตรการส่งเสริมสุขภาพและสุขศึกษา ภาควิชาพลศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ภูเบศร์ นภัทรพิทยาธร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาพลศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ณัฐกฤตา ศิริโสภณ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาพลศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำสำคัญ:

โปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพล, ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรค, พฤติกรรมการจัดการความเครียด

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพโดยประยุกต์ตามทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคต่อพฤติกรรมการจัดการความเครียดของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียน จากโรงเรียนประจำเอกชน-ชาย แห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร จำนวน 50 คน แบ่งกลุ่มเป็น 2 กลุ่มเท่า ๆ กันโดยการสุ่มอย่างง่าย กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพโดยประยุกต์ตามทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรค สัปดาห์ละ 1 ชั่วโมง เป็นระยะเวลา จำนวน 6 สัปดาห์ ส่วนกลุ่มควบคุมเรียนในห้องเรียนตามปกติ กลุ่มตัวอย่างถูกประเมินก่อนและหลังการให้โปรแกรมการส่งเสริมสุขภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติที

          ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยของการรับรู้ความรุนแรงต่อการเกิดความเครียด การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดความเครียด ความคาดหวังในความสามารถของตนเองต่อการจัดการความเครียด ความคาดหวังในประสิทธิผลในการจัดการความเครียด และพฤติกรรมการจัดการความเครียดสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ข้อเสนอแนะในการพัฒนาโปรแกรมการจัดการกับความเครียดให้กับนักเรียน ทำให้นักเรียนสามารถจัดการความเครียดของตนเองได้ เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมในปัจจุบัน

References

กรมสุขภาพจิต. (2558). เครียด...คลายเครียด. กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์.

กรมสุขภาพจิต. (2563). รายงานประจำปีกรมสุขภาพจิต ปีงบประมาณ 2563. กรุงเทพฯ: บริษัท ละม่อม จำกัด.

กองสุขภาพจิตสังคม กรมสุขภาพจิต. (2559). องค์ความรู้สุขภาพจิต สำหรับประชาชน. (พิมพ์ครั้งที่ 5). นนทบุรี: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กองสุขศึกษา. (2558). การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการจัดการความเครียดสำหรับวัยทำงาน. กรุงเทพฯ: กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข.

จิรกุล ครบสอน. (2555). ความเครียดและพฤติกรรมการเผชิญความเครียดของวัยรุ่นในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

นิธิสนี รุจิรังสีเจริญ, นิดา ลิ้มสุวรรณ, ศิริไชย หงส์สงวนศรี และ บัญญัติ ยงย่วน. (2564). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับระดับความเครียดของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 66(1), 53-68

ปรารถนา สวัสดิสุธา และ ศิริไชย หงษ์สงวนศรี. (2559). การจัดการกับความเครียดของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในกรุงเทพมหานคร. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 61(1), 41-52.

อาภาพร เผ่าวัฒนา, สุนีย์ ละกำปั่น, สุรินธร กลัมพา และ ขวัญใจ อำนาจสัตย์ซื่อ. (2554). การเสริมสร้างสุขภาพและป้องกันโรคในชุมชน : การประยุกต์แนวคิดและทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : ภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

อุษา แก้วกำกง. (2551). การวิเคราะห์ปัญหาการปรับตัวทางสังคมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในโรงเรียนประจำ: กรณีศึกษาข้ามกรณี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

Morgan, K., Bartrop, R., Telfer, J. and Tennant, C. (2011), A controlled trial investigating the effect of music therapy during an acute psychotic episode. Acta Psychiatrica Scandinavica, 124(5), 363-371.

Polit, D. F., Beck C.T., & Hungler, B. P. (2003). Nursing research: Principles and Methods. (7th edition). Philadelphia: J.B.Lippincott Company.

Prentice-Dunn, S., & Rogers, R. W. (1986). Protection Motivation Theory and preventive health: beyond the Health Belief Model. Health Education Research, 1(3), 153-161.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-29