ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล การรับรู้สิ่งแวดล้อมในชุมชน และการเดินทางที่ใช้แรงกายของผู้สูงอายุในอำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม

ผู้แต่ง

  • อัจฉรา ปุราคม รองศาสตราจารย์ หัวหน้าศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้กิจกรรมทางกายผู้สูงอายุแบบบองค์รวม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
  • ฐิติกมลสิริ ลาโพธิ์ อาจารย์ ศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้กิจกรรมทางกายผู้สูงอายุแบบบองค์รวม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
  • สุดารัตน์ วัดปลั่ง นักวิจัย ศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้กิจกรรมทางกายผู้สูงอายุแบบบองค์รวม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
  • นิตยา แสงชื่น เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป ศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้กิจกรรมทางกายผู้สูงอายุแบบบองค์รวม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
  • เกษม นครเขตต์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ผู้ทรงคุณวุฒิ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุ, การรับรู้สิ่งแวดล้อม, การเดินทางที่ใช้แรงกาย

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล การรับรู้สิ่งแวดล้อมในชุมชน และการเดินทางที่ใช้แรงกายของผู้สูงอายุ ในอำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้มีอายุ 60 ปี ขึ้นไป จำนวน 450 คน โดยวิธีสุ่มแบบง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลที่มีความสมบูรณ์ร้อยละ 99.33 ของแบบสอบถามทั้งหมด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยนี้ เป็นแบบสอบถามที่ประยุกต์จากแบบสอบถามสิ่งแวดล้อมในชุมชนที่เอื้อต่อการเดินของผู้สูงอายุ ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาของแบบสอบถามโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 คน และทดสอบความเชื่อมั่นโดยวิธีแอลฟาของครอนบาค ค่าเท่ากับ 0.87 วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป โดยหาจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลปัจจัยส่วนบุคคล การรับรู้สิ่งแวดล้อมในชุมชน และการเดินทางที่ใช้แรงกายของผู้สูงอายุในชุมชน ด้วยไคร์สแควร์ สถิติสหสัมพันธ์แบบพอยท์ไบซีเรียล สถิติสหสัมพันธ์แบบอีท้า และสถิติสหสัมพันธ์แบบสเพียร์แมนแรงค์

          ผลการวิจัย พบว่า เพศ และระดับการศึกษา มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการรับรู้ความหนาแน่นของที่อยู่อาศัยในชุมชน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01) อาชีพมีความสัมพันธ์ทางบวก กับการรับรู้ความหนาแน่นของที่อยู่อาศัยในชุมชน การเดินทางไปยังสถานที่ใกล้บ้าน การเข้าถึงสถานบริการต่าง ๆ และความพึงพอใจในสิ่งแวดล้อมในชุมชน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) การพักอาศัยกับครอบครัวมีความสัมพันธ์ทางบวกกับภาพรวมการเดินทางที่ใช้แรงกาย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.01) ขณะที่การเดินทางไปยังสถานที่ใกล้บ้าน มีความสัมพันธ์ทางลบกับการเดินทางที่ใช้แรงกาย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) เช่นเดียวกับโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการเดินและจักรยาน มีความสัมพันธ์ทางลบกับการเดินทางที่ใช้แรงกายในผู้สูงอายุหญิง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< 0.01) อย่างไรก็ดี การเดินทางไปยังสถานที่ใกล้บ้าน การเข้าถึงสถานบริการต่าง ๆ และความปลอดภัยในการเดินทาง มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการเดินทางที่ใช้แรงกายในผู้สูงอายุชาย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ข้อเสนอแนะการวิจัย องค์กรปกครองท้องถิ่นและองค์กรที่เกี่ยวข้อง ควรส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีการเดินทางที่ใช้แรงกาย ทั้งการเดินและขี่จักรยานในชุมชนใกล้บ้าน และพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานการเดินทางที่ปลอดภัย เพื่อให้ผู้สูงอายุมีกิจกรรมทางกายในชีวิตประจำวันเพิ่มมากขึ้น

References

กมลชนก ภูมิชาติ, ปรีชา สามัคคี, และลัญจกร นิลกาญจน์. (2561). รูปแบบชุมชนต้นแบบ ที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุ. วารสารอินทนิลทักษิณสาร, 13(1), 115-131.

ผจงจิต ไกรถาวร และนพวรรณ เปียซื่อ. (2556). ความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนและการรับรู้สภาพสิ่งแวดล้อมละแวกบ้านของผู้สูงอายุไทยที่อาศัยอยู่ในชุมชนแออัด เขตกรุงเทพมหานคร. Ramathibodi Nursing Journal, 19(1), 143-56. สืบค้นจาก https://www.tci-thaijo.org/index.php/RNJ/article/view/9117

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2557). สถานการณ์ผู้สูงอายุ พ.ศ.2557. กรุงเทพฯ : บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน).

วนัสรินทร์ สุยสุวรรณ และไตรรัตน์ จารุทัศน์. (2560). การปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกชุมชนเพื่อการอยู่อาศัยที่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุในชนบทภาคกลาง. สืบค้นจาก https://dric.nrct.go.th/Search/SearchDetail/250462

วิสาขา ภู่จินดา และ คณะ. (2560). การพัฒนารูปแบบการจัดการสิ่งแวดล้อมโดยผู้สูงอายุในพื้นที่ชนบทไทย. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. สืบค้นจาก https://www.hsri.or.th/researcher/research/new-release/detail/8516

วิสาขา ภู่จินดา และ ภารณ วงศ์จันทร. (2561). ความคิดเห็นของผู้สูงอายุต่อการจัดการสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการดูแลผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบล. วารสารสงขลานครินทร์ ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 24(1), 103-148. สืบค้นจาก https://www.tci-thaijo.org/index.php/psujssh/article/download/127912/97049

อัจฉรา ปุราคม. (2558). การส่งเสริมกิจกรรมทางกายเพื่อสุขภาพผู้สูงอายุ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). นครปฐม: เพชรเกษมการพิมพ์.

อัจฉรา ปุราคม, มาสริน กุลปักษ์, และนิตยา แสงชื่น. (2563). นโยบายกิจกรรมทางกายในผู้สูงอายุ: การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข, 14(2), 208-224.

Burton, E. (2012). Street ahead? The role of the built environment in healthy ageing. Journal of Perspectives in Public Health, 132(4), 161-162.

Cauwenberg, J. V., Bourdeaudhuij, I. D., Dick, D. V. & Deforche, B. (2016). Neighborhood walkability and health outcomes among older adults: The mediating role of physical activity. Health & Place, 37,16–25. Retrieved from https://doi.org/10.1016/j.healthplace.2015.11.003

Cerin, E., Terry, L. C., Brian, E., S., Lawrence, D. F., & Jame, F. S. (2009). Cross-Validationof the Factorial Structure of the Neighborhood Environment Walkability Scale (News) and Its Abbreviated Form (News-a). International Journal of Behavioral Nutrition and Physical Activity, 6(1), 32. Retrieved from https://doi.org/10.1186/1479-5868-6-32

Cerin, E. et al. (2018). Measuring Walking within and Outside the Neighborhood in Chinese Elders: Reliability and Validity. Bmc Public Health, 11. Retrieved from https://doi.org/Artn 85110.1186/1471-2458-11-851.

Cerin, E. et al. (2019). Development and validation of the neighborhood environment walkability scale for youth across six continents. International Journal of Behavioral Nutrition and Physical Activity, 16,122. Retrieved from https://ijbnpa.biomedcentral.com/articles/10.1186/s12966-019-0890-6

Handy, S.L, Boarnet, M.G., Ewing, R. & Killingsworth, R.E. (2002). How the built Environment affects physical activity:View from urban planning. American Journal Preventive Medicine, 23(2), 64-73.

Hanson, H.M., Maureen, A.C. & Mckay, M.W. (2012). Intersection between the built and Social environments and older adults’mobility: An evidence review. Canada: National Corrabolating Center for environmental Health.

McNeill, L.H., Kreuter, M.W., & Subramanian, S.V. (2006). Social environment and physical activity: a review concepts and evidence. Social Science & Medicine, 63(4), 1011-1022.

O׳Hern, Steve, Oxley, & Jennifer. (2015). Understanding travel patterns to support safe active transport for older adults. Journal of Transport & Health, 2(1), 79-85.

Ogilvie, D., Mitchell, R., Mutrie, N., Pettrichew, M., & Phatt, S. (2008). Personal and environmental correlates of active travel and physical activity in a deprived urban population. International Journal of Behavioral Nutrition and Physical Activity, 5(43), 43-54. Retrieved from https://ijbnpa. biomedcentral.com/articles/10.1186/1479-5868-5-43

Rosenberg, D. E., Huang, D. L., Simonovich, S. D., & Belza, B. (2013). Outdoor Built Environment Barriers and Facilitators to Activity among Midlife and Older Adults with Mobility Disabilities. Gerontologist, 53(2), 268-279. Retrieved from https://doi.org/10.1093/geront/gns119

Rosso, A. L., Taylor, J. A., Tabb, L. P., & Michael, Y. L. (2013). Mobility, disability, and social engagement in older adults. Journal of Aging Health, 25(4), 617-637. doi:10.1177/0898264313482489.

Silverstein, N. M., & Turk, K. (2016). Students Explore Supportive Transportation Needs of Older Adults. Gerontology & Geriatrics Education, 37(4), 381-401. Retrieved from https://doi.org/10.1080/02701960.2015.1005289

Sundquist, K., Eriksson, U., Kawakami, N., Skog, L., Ohlsson, H., & Arvidsson, D. (2011). Neighborhood walkability, physical activity, and walking behavior: the Swedish Neighborhood and Physical Activity (SNAP) study. Social Science & Medicine, 72(8), 1266-1273. doi: 10.1016/ j.socscimed.2011.03.004.

WHO. (2002). Active Aging: A Policy Framework. Switzerland: World Health Organization. Noncommunicable Disease Prevention and Health Promotion Department. Retrieved from https://www.who.int/ageing/publications/active_ageing/en/

Xiaowei, H. et al. (2013). Understanding the travel behavior of elderly people in the developing country: a case study of Changchun, China. Procedia - Science and behavior science, 96, 873 - 880. Retrieved from https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S1877042813022258

Yamane, T. (1967). Statistics, An Introductory Analysis. (2nd ed.). New York: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-03-03