ปัจจัยทำนายความมีคุณค่าในตนเองระหว่างการเปลี่ยนผ่านในผู้สูงอายุวัยเกษียณ

ผู้แต่ง

  • นาตยา ศรีหทัยเทพ นักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • วิราพรรณ วิโรจน์รัตน์ รองศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • สุพร ดนัยดุษฎีกุล รองศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

ภาวะสุขภาพ, ความหมายของชีวิต, การมีส่วนร่วมทางสังคม, ความมีคุณค่าในตนเอง, ผู้สูงอายุวัยเกษียณ

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงบรรยายวิเคราะห์อำนาจทำนาย ภาวะสุขภาพ ความหมายของชีวิต และการมีส่วนร่วมทางสังคม ต่อความมีคุณค่าในตนเองในช่วงการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่การเป็นผู้สูงอายุวัยเกษียณ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 168 ราย ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปมารับบริการแผนกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในจังหวัดนครปฐม เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามภาวะสุขภาพ แบบสอบถามความหมายของชีวิต แบบสอบถามการมีส่วนร่วมทางสังคม และแบบสอบถามความมีคุณค่าในตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียรสัน และสถิติการถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ

          ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุวัยเกษียณส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 69 ปี ระดับของความมีคุณค่าในตนเอง ภาวะสุขภาพ ความหมายของชีวิต และการมีส่วนร่วมในสังคมอยู่ในระดับสูง ความมีคุณค่าในตนเองมีความสัมพันธ์ทางบวกกับ ภาวะสุขภาพ ความหมายของชีวิต และการมีส่วนร่วมทางสังคม (r = 0.28, r = 0.24 และ r = 0.29 ตามลำดับ) โดยภาวะสุขภาพและการมีส่วนร่วมทางสังคม สามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของความมีคุณค่าในตัวเองของผู้สูงอายุวัยเกษียณได้ร้อยละ 14.5 (adjust R2 = 0.145, F = 10.456, p < 0.001) แต่ความหมายของชีวิตไม่มีอิทธิพลต่อความมีคุณค่าในตัวเองของผู้สูงอายุวัยเกษียณ จากผลการวิจัยควรจัดให้มีกิจกรรมส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีภาวะสุขภาพที่ดี โดยตรวจสุขภาพและให้ความรู้ด้านการดูแลสุขภาพแก่ผู้สูงอายุอย่างสม่ำเสมอ และจัดกิจกรรมการมีส่วนร่วมทางสังคมโดยเฉพาะการจัดกิจกรรมทางศาสนา เพื่อสนับสนุนให้ผู้สูงอายุในวัยเกษียณรู้สึกมีคุณค่าในตนเองสามารถปรับตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ

References

กมลพรรณ หอมนาน. (2539). ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง การรับรู้สมรรถนะในตนเองกับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้สูงอายุ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหิดล, นครปฐม.

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2562). สถิติผู้สูงอายุ. สืบค้นจาก http://www.dop.go.th/th/know/side/1/1/275

ขวัญชนก ยศคำลือ, วารี กังใจ และสหัทยา รัตนจรณะ. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความผาสุกของข้าราชการครูในระยะเปลี่ยนผ่านของการเกษียณอายุราชการ. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 35(2), 71-79.

ขวัญดาว กลํ่ารัตน์. (2554). ปัจจัยเชิงสาเหตุของพฤติกรรมสุขภาพของผ้สูงอายุในเขตภูมิภาคตะวันตกของประเทศไทย. ว.มรม. (มนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์), 7(3), 93-104.

จิรนันท์ กริฟฟิทส์, สุภาวดี พุฒิหน่อย และเมธิศา พงษ์ศักดิ์ศรี. (2556). General practitioner assessment of cognition GPCOG (Thai Version), เชียงใหม่: ภาควิชากิจกรรมบำบัด คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ณาตรการณ์ ชยุตสาหกิจ. (2557). การสนับสนุนจากครอบครัว ความหมายในชีวิต และสุขภาวะในเยาวชนผู้กระทำผิดที่ใช้สารเสพติด : การวิจัยแบบผสานวิธี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.

ณัชศฬา หลงผาสุข, สุปรีดา มั่นคง และยุพาพิน ศิรโพธิ์งาม. (2561). ภาวะสุขภาพ และการดูแลตนเองของญาติผู้ดูแลวัยสุงอายุที่ดูแลผู้ป่วยติดเตียง. วารสารสภาการพยาบาล, 33(2), 97-109.

ณัฐกานต์ สำเนียงเสนาะ. (2556). ปัจจัยทำนายความสุขของผู้สูงอายุในชุมชน จังหวัดฉะเชิงเทรา(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

ทินกร วงศ์ปการันย์ และณหทัย วงศ์ปการันย์. (2554).การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของแบบวัดความภาคภูมิใจในตนเองของโรเซนเบิร์ก: การศึกษาในนักศึกษาไทย. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 56(1), 59-70.

ทิพาพร ม่วงไหมทอง และณภัควรรต บัวทอง. (2559). แรงจูงใจอาสา บุคลิกภาพ และปัจจัยที่เกี่ยวข้องในอาสาสมัครคุมประพฤติ กรุงเทพมหานคร. จุฬาลงกรณ์เวชสาร, 60(4), 439-453.

นฎา งามเหมาะ, วิราพรรณ วิโรจน์รัตน์ และนารีรัตน์ จิตรมนตรี. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยพื้นฐานความเชื่อ การปฏิบัติทางศาสนาความหมายของชีวิต และภาวะธรรมทัศน์ในวัยสูงอายุของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย. วารสารสภาการพยาบาล, 30(1), 58-71.

มนัส บุญประกอบ และพรรณี บุญประกอบ.(2549). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการทำงานภายหลังเกษียณอายุของข้าราชการมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. วารสารวิจัยพฤติกรรมศาสตร์, 12(1), 36-48.

รสพร เพียรรุ่งเรือง และพีรพนธ์ ลือบุญธวัชชัย. (2558). ปัญหาสัมพันธภาพระหว่างบุคคลและภาวะ ซึมเศร้าของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุ จังหวัดพิษณุโลก. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 60(1), 23-34.

สุธรรม นันทมงคลชัย, อุดมลักษณ์ เปสะพันธุ์, พิทยา จารุพูนผล และโชคชัย หมั่นแสวงทรัพย์. (2551). คุณภาพชีวิตของผู้เกษียณอายุราชการก่อนกำหนด จังหวัดนนทบุรี. วารสารสาธารณสุขศาสตร์, 38(3), 407-415.

แสนคำนึง ตรีฤกษ์ฤทธิ์, ชีพสุมน รังสยาธร และอภิญญา หิรัญวงษ์. (2557). คุณภาพชีวิตและการเตรียมความพร้อมก่อนการเกษียณอายุของข้าราชการครู จังหวัดชลบุรี. วารสารเกษตรศาสตร์ (สังคม), 35, 460-471.

อิสรีย์ ศรีอนันต์. (2560). การสนับสนุนทางสังคมและการเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมกับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ศึกษาในอำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหิดล, นครปฐม.

Brodaty H, Pond D, Kemp NM, Luscombe G, Harding L, Berman K, Huppert FA., (2002). The GPCOG: a new screening test for dementia designed for general practice. Journal of the American Geriatrics Society, 50(3), 530-534.

Franck, E., & Readt, R. D. (2007). Self-esteem reconsidered : Unstable self-esteem outperforms level of self-esteem vulnerability marker for depression. Behavior Research and Therapy, 45, 1531-1541.

George H. M., Jacob L. M., Talcott P., Ralph L. & Georg S., (2007). Role theory. New Jersey : Blackwell Publishing : The Blackwell Encyclopedia of Sociology.

Jafari Franak, Khatony Alireza & Mehrdad Malek. (2015). Self-Esteem Among the Elderly Visiting the Healthcare Centers in Kermanshah-Iran (2012). Global Journal of Health Science, 7(5), 352-358.

Kermode S., & MacLean D. (2001). A study of the relationship between quality of life, health and self-esteem. The Australian journal of advanced nursing, 19(2). 33-40.

Meleis, A. I., Sawyer, L. M., Im, E.O., Messias, D. K. H., & Schumacher, K. (2010). Experienceing Transition and Emerging Middle-Range Theory. In A. I. Meleis (Eds.),Transition theory: Middle range and situation specific theories in nursing research and practice. New York: Springer.

Prachuabmoh, V. (2011). Situation of Thailand elder Thai. Bangkok: Phongpanitchareanphon.

Schumacher, K. L., & Meleis, A. I. (1994). Transitions: A central concept in nursing. Journal of Nursing Scholarship, 26(2), 119-127.

Zhang, J., Peng, J., Gao, P., Huang, H., Cao, Y., Zheng, L., & Miao, D. (2019). Relationship between meaning in life and death anxiety in the elderly: self-esteem as a mediator. BMC Geriatrics, 19(1), 308.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-29