การบูรณาการบริการวิชาการกับการเรียนการสอนโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน

ผู้แต่ง

  • พิมผกา ปัญโญใหญ่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์แมคคอร์มิค มหาวิทยาลัยพายัพ
  • เทวาพร ศุภรักษ์จินดา คณะพยาบาลศาสตร์แมคคอร์มิค มหาวิทยาพายัพ
  • วราภรณ์ สระมัจฉา คณะพยาบาลศาสตร์แมคคอร์มิค มหาวิทยาพายัพ

คำสำคัญ:

การบูรณาการ, งานบริการวิชาการ, การเรียนการสอน, การมีส่วนร่วมของชุมชน

บทคัดย่อ

         การบูรณาการบริการวิชาการกับการเรียนการสอนเป็นกลยุทธ์หนึ่งของการจัดการศึกษาพยาบาล ซึ่งมีความสำคัญต่อการพัฒนาทั้งผู้เรียน ผู้สอน และสถาบันการศึกษา โดยพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ ทัศนคติ ทักษะปฏิบัติ และผลลัพธ์การเรียนรู้ทางวิชาชีพ ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและสมรรถนะทางวิชาชีพที่ดีขึ้น พัฒนาประสบการณ์การจัดการเรียนการสอนตามสภาพการณ์จริงของผู้สอน รวมทั้งสถาบันการศึกษาสามารถพัฒนาหลักสูตรให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ด้านสุขภาพ ตอบสนองความต้องการของชุมชน สู่ความเป็นเลิศด้านวิชาการ

          บทความวิชาการนี้มุ่งเสนอการบูรณาการบริการวิชาการกับการเรียนการสอนที่ให้ชุมชนมีส่วนร่วมตามแนวคิดการมีส่วนร่วมของชุมชนของโคเฮ็น และอัพฮอฟ (Cohen & Uphoff, 1980) ตัวอย่างการดำเนินการบูรณาการบริการวิชาการโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนตั้งแต่วิเคราะห์ปัญหาความต้องการ วางแผน ดำเนินการ ติดตามภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุโดยใช้แบบประเมินผู้สูงอายุแบบครอบคลุม และนำเสนอเนื้อหาการบูรณาการบริการวิชาการกับการเรียนการสอน การมีส่วนร่วมของชุมชน ทั้งนี้เพื่อเป็นแนวทางสำหรับผู้สอนในการบูรณาการบริการวิชาการกับการเรียนการสอนเพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชนต่อไป

References

กันตพร ยอดใชย, ศมนนันท์ ทัศนีย์สุวรรณ, และ จารุวรรณ กฤตย์ประชา. (2563). การรับรู้สมรรถนะการใช้ภาษาอังกฤษและความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนการสอนโดยการบูรณาการภาษาอังกฤษในรายวิชาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 4 มหาวิทยาลัยสงขลา นครินทร์. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน, 26(4), 14-28.

โกสุม สายใจ. (2561). การบริหารตามพันธกิจอุดมศึกษากับความเป็นเลิศของสถาบันอุดมศึกษาเครือข่ายสหวิทยาการ ภาคกลาง สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน, 24(4), 492-502.

คณะพยาบาลศาสตร์แมคคอร์มิค มหาวิทยาลัยพายัพ. (2560). หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560 (เอกสารอัดสำเนา). เชียงใหม่: คณะพยาบาลศาสตร์แมคคอร์มิค มหาวิทยาลัยพายัพ.

จุฬาลักษณ์ นิลอาธิ, ภัทรินทร์ ศรีนอ, ศุภรดา วงค์จำปา, และ เนาวรัตน์ สิงห์สนั่น. (2561). ผลของการบูรณาการบริการวิชาการกับการเรียนการสอนรายวิชาการสอนและการให้คำปรึกษาทางสุขภาพต่อสมรรถนะการสอนทางสุขภาพของนักศึกษาพยาบาล. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม, 15(1), 30-40.

เบญจวรรณ ทิมสุวรรณ และ รัชนี สรรเสริญ. (2555). การบูรณาการ: กระบวนทัศน์ในการประกันคุณภาพการศึกษา. การพยาบาลและการศึกษา, 5(2), 2-13.

พัชรี แวงวรรณ และ นิสากร วิบูลชัย. (2560). ผลการบูรณาการบริการวิชาการกับการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการดูแลผู้สูงอายุในชุมชนของนักศึกษาพยาบาล. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม, 14(3), 57-66.

พิมผกา ปัญโญใหญ่, ชาญวิช อภิวงค์งาม, เทวาพร ศุภรักษ์จินดา, วราภรณ์ สระมัจฉา, ปริญญา ขาววัฒน์, ชิษณุพงค์ ปินไชย, และรุ่งระพี มหาพรหม. (2561). รูปแบบการเสริมสร้างความเข้มแข็งในการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุกลุ่มติดสังคมตามวิถีชีวิตผู้สูงอายุชุมชนตำบลบ้านธิ อำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น.

มหาวิทยาลัยพายัพ. (2564). แผนปฏิบัติการประจำปีมหาวิทยาลัยพายัพ ปีการศึกษา 2564 (เอกสารอัดสำเนา). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยพายัพ.

มานิตย์ ไชยกิจ. (2557). แนวทางการบูรณาการการเรียนการสอนกับการวิจัยและการบริการวิชาการแก่สังคม ของสถาบันอุดมศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 16(2), 205-213.

เยาวลักษณ์ โพธิดารา. (2554). การจัดการศึกษาทางการพยาบาล: สำหรับนักศึกษาพยาบาล Generation Y. วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ, 34(2), 61-69.

วีณา เที่ยงธรรม, สุนีย์ ละกำปั่น, และ อาภาพร เผ่าวัฒนา. (2554). การพัฒนาศักยภาพชุมชน: แนวคิดและการประยุกต์ใช้. กรุงเทพฯ: แดเน็กช อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น.

สมจินดา ชมพูนุท และ วรรณเพ็ญ อินทร์แก้ว. (2560). การบูรณาการบริการวิชาการกับการเรียนการสอนวิชาปฏิบัติการพยาบาลเลือกสรร สาขาการพยาบาลอนามัยชุมชน. วารสารพยาบาลตำรวจ, 9(1), 24-36.

สายสมร เฉลยกิตติ, จุฑารัตน์ บันดาลสิน, กุสุมา กังหลี, และ พรนภา คำพราว (2557). การศึกษาการบูรณาการบริการวิชาการกับการจัดการเรียนการสอนรายวิชาการศึกษาทั่วไปเพื่อการพัฒนามนุษย์ต่อการมีจิตอาสาและความสุขในการเรียนของนักเรียนพยาบาลชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก. วารสารพยาบาลทหารบก, 15(3), 421-429.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2562). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562. สืบค้นจาก http://www. ratchakitcha.soc.go.th/ DATA/PDF/2562/A/057/T_0049.PDF

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2560). คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2557. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

สุปาณี เสนาดิสัย และ วัลลา ตันตโยทัย. (2563). คู่มือการรับรองสถาบันการศึกษา วิชาการพยาบาลและการผดุงครรภ์ สำหรับสถาบันการศึกษาที่มีผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2563. กรุงเทพฯ: จุดทอง.

Cohen, J. M., & Uphoff, N. T. (1980). Participation’s place in rural development: Seeking clarity through specificity. World Development, 8(3), 213-235. doi:10.1016/0305-750X(80)90011-X

Eyler, J. S., Giles, D. E., Stenson, C. M., & Gray, C. J. (2001). At a Glance: What we know about the effects of service-learning on college students, Faculty, Institutions and Communities, 1993-2000. (3rd ed.). Nashville: Vanderbilt University.

Freeman, N. K., & Swick, K. J. (2000). Early childhood teacher education students Strengthen this caring and competence through service-learning. In Anderson, J. B., Swick, K. J., & Yff, J. (Eds.). Service learning in teacher education: Enhancing the growth of new teachers, their students and communities. 2001. (pp. 1-357). New York: USA.

Olson, M. E. (2009). The “millennials”: first year in practice. Nursing Outlook, 57(1), 10-17.

Sandle, K. (2005). Service learning research at Ohio University. Retrieved from http://www. ohiou.edu/commserv/servlern/research.htm.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-19