การศึกษาแนวทางการพัฒนาสมรรถนะตามสายงานและสมรรถนะ ด้านการบริหารของอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • นราธิป ธีรธนาธร อาจารย์ประจำสาขาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
  • ธนวัฒน์ บุรีรัตน์ อาจารย์ประจำสาขานิติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช

คำสำคัญ:

สมรรถนะตามสายงาน, สมรรถนะการบริหาร

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับสมรรถนะโดยรวมและรายด้านของอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช เปรียบเทียบระดับสมรรถนะของอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราชจำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคล และศึกษาแนวทางการพัฒนาสมรรถนะของอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช กลุ่มตัวอย่าง คือ อาจารย์ที่สังกัดคณะและปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช จำนวน 200 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถาม ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามการวิจัยแสดงด้วยค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาคเท่ากับ 0.96 สถิติที่ใชในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) และทดสอบค่าเอฟ (F-test) และการทดสอบรายคู่ด้วยวิธีเชฟเฟ่ (Scheffe’s Method)

         ผลการวิจัย พบว่า (1) สมรรถนะตามสายงานและสมรรถนะการบริหารโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยที่สมรรถนะตามสายงานด้านการสอนมีค่าเฉลี่ยสูงสุด (x̄=4.27) สมรรถนะการบริหารด้านการทำงานเป็นทีมมีค่าเฉลี่ยสูงสุด (x̄=4.12) (2) ผลการเปรียบเทียบระดับสมรรถนะจำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคล พบว่า อายุ วุฒิการศึกษา ตำแหน่งทางวิชาการ สถานภาพการจ้างงาน ระยะเวลาการปฏิบัติงาน และคณะที่สังกัดแตกต่างกัน มีระดับสมรรถนะตามสายงานและสมรรถนะการบริหารแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ (3) แนวทางการสร้างสมรรถนะของอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช ควรจัดทำหลักสูตรที่มุ่งเน้นการเสริมสร้างและพัฒนาสมรรถนะด้านการสอน ด้านการวิจัย และด้านการบริการวิชาการแก่สังคม

References

กชกร ก้อนสมบัติ. (2556). การพัฒนาสมรรถนะของอาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏ กลุ่มภาคใต้ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี.

กฤษมันต์ วัฒนาณรงค์. (2554). นวัตกรรมและเทคโนโลยีเทคนิคการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: ศูนย์ผลิตตำราเรียนมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

ฐิติวัจน์ รุจิภาสวรเมธ. (2553). สมรรถนะหลักในการปฏิบัติงานของพนักงานประปานครหลวง: กรณีศึกษาโรงงานผลิตน้ำมหาสวัสดิ์และธนบุรี (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

ประสาร มาลากุล ณ อยุธยา และคณะ. (2554). ผลของการใช้โปรแกรมการเรียนการสอนตามแนวคิดการใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างเชาวน์อารมณ์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา. วารสารเกษมบัณฑิต, 12(1), 13-26.

ปัทมวรรณ สิงห์ศรี. (2560). รูปแบบความสัมพันธ์ระหว่าง ทุนทางปัญญา การจัดการความรู้ และองค์การที่เป็นเลิศของสถาบันอุดมศึกษาไทย. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 9(1), 187-203.

พันธิวา ชูศรีโสม และณัฎฐ์ชุดา วิจิตรจามรี. (2555). การศึกษาพฤติกรรมการสื่อสารและความพึงพอใจในการสื่อสารของข้าราชการทหาร กรมการทหารสื่อสาร กองทัพบก. ใน การประชุมวิชาการแห่งชาติ.มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ครั้งที่ 9. 6-7 ธ.ค. 2555, (น. 808-811). กำแพงแสน, นครปฐม.

มัลลิกา เกตุชรารัตน์ และคณะ. (2558). การศึกษาสมรรถนะที่พึงประสงค์ของอาจารย์ในมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์. วารสารครุศาสตร์, 43(1), 112-127.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา, กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). กรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปี ฉบับที่ 2 (2551-2565). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักนโยบายและแผนการอุดมศึกษา. (2556). แผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ฉบับที่ 11 พ.ศ. 2555-2559. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

สุทธิพร สายทอง. (2562). แนวทางการพัฒนาสมรรถนะด้านการวิจัยของอาจารย์มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐกลุ่มภาคเหนือตอนบน. วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย, 8(2), 129-139.

อัจฉรา หล่อตระกูล. (2560). การพัฒนาสมรรถนะของพนักงานมหาวิทยาลัยของรัฐ. วารสาร มจร.สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 6(1), 183-196.

Conbach, L. J. (1970). Essentials of psychological testing (3rd ed.). New York: Harper & Row.

McClelland, D. C. (1999). Testing for competence rather than intelligence. American Psychologist, 28(1), 1-14.

Yamane, T. (1973). Statistics; An Introductory Analysis. (3rd ed.). Tokyo: Harper International.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-11-26