องค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
คำสำคัญ:
ภาวะผู้นำ, ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม, การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ผู้บริหารของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย จำนวน 316 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แบบสอบถามเป็นแบบมาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามการวิจัยแสดงด้วยค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาคเท่ากับ 0.93 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน
ผลการวิจัย พบว่า องค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบเรียงลำดับความสำคัญดังนี้ (1) การมีบุคลิกภาพเชิงนวัตกรรม (2) การสร้างบรรยากาศองค์กรแห่งนวัตกรรม และ (3) การมีวิสัยทัศน์เชิงนวัตกรรม ซึ่งผลการตรวจเพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโครงสร้างเชิงองค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พบว่า ค่าวัดระดับความกลมกลืน คือ Chi-square (χ2) = 365.146, df =302, χ2/df (CMIN/DF) = 1.209, RMR = 0.016, RMSEA = 0.026, GFI = 0.992, AGFI = 0.930, TLI= 0.988 และ CFI=0.992 แสดงว่ารูปแบบโมเดลการวิเคราะห์องค์ประกอบภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยเชิงยืนยัน มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ดังนั้นผู้บริหารควรให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาผู้บริหารของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ให้มีทักษะการเป็นผู้นำเชิงนวัตกรรม ทั้งในปัจจุบันและในอนาคตเพื่อให้การดำเนินงานของของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยบรรลุผลตามเป้าหมายและมีความยั่งยืน
References
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย. (2563). ฝ่ายทรัพยากรบุคคลและพัฒนาองค์การ. สืบค้นจากhttp//www.hr.egat.co.th
กุลชลี จงเจริญ. (2561). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม. สืบค้นจาก https://thaitgri.org/?p=36172
จุรีวรรณ จันพลา. (2559). การเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้ประกอบการในธุรกิจแปรรูปอาหาร. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้, 9(1), 53-60.
ฐิตินันท์ นันทะศรี. (2563). การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, สกลนคร.
พระครูใบฎีกาอภิชาติ ธมฺมสุทฺโธ. (2559). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมการบริหารกิจการคณะสงฆ์ในทศวรรษหน้า. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 4(2), 313-325.
พิทักษ์ ทิพย์วารี. (2559). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางนวัตกรรมสำหรับผู้บริหารสถาบันการพละศึกษา. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 11(1), 57-70.
พูลพงศ์ สุขสว่าง. (2557). หลักการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 6(2), 136 – 145.
พิสิฐธวัฒน์ กลิ่นไธสงค์. (2559). การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา. วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 12(1), 60-75.
เวียงวิวรรธน์ ทำทูล. (2557). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารที่ส่งผลต่อองค์การขีดสมรรถนะสูงของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 37(3), 31-38.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2563). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่สิบสองฉบับที่ 12. สืบค้นจาก https://www.nesdc.go.th/ewt_news.php?nid=6420&filename=develop_issue
อรวรางค์ จันทร์เกษม. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารตามความคิดเห็นของพนักงานและพฤติกรรมมุ่งผลสัมฤทธ์ในการทำงานของพนังงานในอุตสาหกรรมการผลิต. วารสารวิชาการศิลปศาสตร์ประยุกต์, 8(1), 138-144.
อรอนงค์ โรจน์วัฒนบูลย์. (2553). การพัฒนาตัวแบบผู้นําเชิงนวัตกรรม. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, กรุงเทพ.
Ahmed. (1998). Culture and Climate for Innovation. European Journal of Innovation Management, 1(1), 30-43. Retrieved from https://doi.org/10.1108/14601069810199131
Carmeli, A., Gelbard, R., & Gefen, D. (2010). The importance of innovation leadership in cultivating strategic fit and enhancing firm performance. The Leadership Quarterly, 21, 339-349.
David G. Gliddon. (2006). Innovation Leadership. USA: Colorado Technical University.
Hooper, D., Coughlan, J., and Mullen, M. R. (2008). Structural Equation Modelling: Guidelines for Determining Model Fit. Electronic Journal of Business Research Methods, 6(1), 53-60.
Kriengsak and Others. (2008). Exploring leadership styles for innovation: an exploratory factor analysis. Engineering Management in Production and Services, 9(1), 7-17.
Jong, J. P. and Den Hartog, D. N. (2007). How Leaders Influence Employees’ Innovative Behaviour. European Journal of Innovation Management, 8(1), 41-64.
Likert, R. (1976). New Patterns of Management. New York: McGraw - Hill.
Taber. (2007). Leadership, Culture and Organizational Innovation: The Case of Commerce Bank. (Doctoral dissertation). Gonzage University, Washington (state).
Taro Yamane. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rdEd).New York: Harper and Row Publications.
Sununta Siengthai and Bechter, Clemens. (2001). Strategic Human Resource Management and Firm Innovation. Journal of Research and Practice in Human Resource Management. 9(1), 35-57.