การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนด้วยระบบการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ ในกระบวนวิชาการพยาบาลผู้ใหญ่ 3 ของนิสิตพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยพะเยา

ผู้แต่ง

  • วรัทยา กุลนิธิชัย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • พรสวรรค์ คิดค้า อาจารย์ประจำ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • แววดาว คำเขียว ผู้ช่วยศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
  • วิมลทิพย์ พวงเข้ม อาจารย์ประจำ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนการสอน, ระบบการจัดการเรียนรู้ออนไลน์, การพยาบาลผู้ใหญ่

บทคัดย่อ

          การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและศึกษาประสิทธิภาพของบทเรียนออนไลน์ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในหัวข้อการพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาการผันแปรออกซิเจนที่มีสาเหตุหลักจากการแพร่ของอากาศและการขนส่งออกซิเจน และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการเรียนการสอนด้วยระบบการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ของนิสิตพยาบาล ADDIE Model (McGriff, 2000) เป็นกรอบแนวคิดการวิจัยประกอบด้วย 5 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การวิเคราะห์ปัญหาการเรียนรู้ออนไลน์ ระยะที่ 2 การออกแบบการจัดการเรียนการรู้ออนไลน์ ระยะที่ 3 การพัฒนาบทเรียนและแบบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังเรียนออนไลน์ ระยะที่ 4 การนำบทเรียนออนไลน์ไปใช้ และระยะที่ 5 การประเมินผลประสิทธิภาพของบทเรียนออนไลน์และความพึงพอใจของผู้เรียน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เป็นนิสิตพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 3 จำนวน 107 คน ซึ่งเรียนรู้บทเรียนออนไลน์ในระบบการจัดการเรียนรู้ออนไลน์ระยะเวลา 12 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติ Wilcoxon signed-ranks test 

          ผลการวิจัยพบว่า 1) บทเรียนออนไลน์มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.25/87.75 ซึ่งมีประสิทธิภาพมากกว่ามาตรฐานที่กำหนดคือ 80/80 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนด้วยระบบจัดการการเรียนรู้ออนไลน์สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.001)  และ 3) คะแนนความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยระบบการจัดการเรียนรู้ออนไลน์โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̄= 4.11, S.D. = 0.74) ดังนั้นผู้สอนจึงควรมีการพัฒนาบทเรียนออนไลน์ที่ครอบคลุมตลอดทั้งหลักสูตรซึ่งจะทำให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิตของผู้เรียน

References

เกรียงไกร พละสนธิ และ นรีรัตน์ สร้อยศรี. (2559). การพัฒนาบทเรียนออนไลน์แบบการเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วมในรายวิชาการเตรียมการก่อนการผลิต เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี. วารสารการอาชีวะและเทคนิคศึกษา, 6(11), 10-17.

จุไรรัตน์ ดวงจันทร์, บุญทิพย์ สิริธรังศรี, ทรงศรี สรณสถาพร และวันเพ็ญ ภิญโญภาสกุล. (2562). การพัฒนาสมรรถนะการสื่อสารเพื่อส่งต่อข้อมูลทางการพยาบาลโดยใช้บทเรียนออนไลน์สำ หรับนักศึกษาพยาบาล. วารสารพยาบาบาลสงขลานครินทร์, 39(2), 98-112.

ณัชชา ตระการจันทร์. (2558). ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี ปีการศึกษา 2558. การประชุมและการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ราชธานีวิชาการ ครั้งที่ 1 (น. 1726-1736). กรุงเทพฯ, ประเทศไทย.

ดรุณี ชุณหวัติ, ปราณี ทู้ไพเราะ และมุกดา หนุ่ยศรี. (2556). การพยาบาลผู้ป่วยที่มีการผันแปรของออกซิเจน.กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ทิศนา แขมมณี. (2562). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 14). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธัญญลักษณ์ วจนะวิศิษฐ. (2557). การพัฒนาบทเรียนอีเลิร์นนิงรายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศคณะพยาบาลศาสตร์เกื้อการุณย์. วารสารเกื้อการุณย์, 21(1), 100-113.

นันทชัย บุญบูธพงศ์. (2558). การบำบัดระบบหายใจในเวชปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: ปัญญมิตรการพิมพ์.

นันทิดา วัดยิ้ม, เสาวลักษณ์ หวังชม และอภัสริน มะโน. (2560). การจัดการเรียนการสอนทางการพยาบาลโดยใช้การเรียนรู้ด้วยสื่ออิเล็กทรอนิกส์. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีกรุงเทพ, 33(3), 146-156.

ประทุมา ฤทธิ์โพธิ์, ศิริกนก กลั่นขจร, พรรณทิพา บัวคล้าย, พรพรรณ อินต๊ะ และ มินตรา สีสังข. (2561). การพัฒนาเทคโนโลยีทางการเรียนการสอนทางการพยาบาลมารดาและทารกและการผดุงครรภ์. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์, 10(2), 194-208.

รักศักดิ์ เลิศคงคาไทย. (2551). ระบบการจัดการเรียนการสอน LMS (Learning Management System). วารสารบรรณสาร มศก.ท, 21-22 (1-2), 22-32.

วิจารณ์ พาณิช. (2555). วิถีการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21.กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรีสฤษดิ์วงค์.

ศูนย์การเรียนรู้ทางอิเล็กทรอนิกส์ มหาวิทยาลัยพะเยา. (2559). คู่มือการใช้งานระบบ LMS สำหรับผู้สอน.พะเยา: งานส่งเสริมนวัตกรรมและพัฒนาการจัดการเรียนการสอน (e-learning).

หรรษา เศรษฐบุปผา, สมบัติ สกุลพรรณ์ และสุวิท อินทอง. (2557). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดยการบูรณาการ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ (INTEGRATED E-LEARNING COURSE) สำหรับนักศึกษาพยาบาลในระดับปริญญาตรี. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 18(3), 1-11.

Back, D. A., Behringer, F., Haberstroh, N., Ehlers,J. P., Sostmann, K., & Peters, H. (2016). Learning Management System and e-learning tools: an experience of medical students’ usage and expectation. International Journal of Medical Education, 7, 267-273.

Barbara L. C. and Elaine O. K.. (2011). Adult Health Nursing. (6th ed). Elsevier: Mosby.

Cohen J. (1988). Statistical power analysis for the behavioral science. New York: Lawrence Erlbaum associates publishers.

Judge, D. S. , Murray, B. (2017). Student and Faculty Transition to a New Online Learning Management System. Teaching and Learning in Nursing, 12(1), 277–280.

Kitcharoen, S. (2018). User Satisfaction with Learning Management system (LMS): A case Assumption University. AU-GSB e-Journal, 11(2), 20-39.

McGriff, S. J. (2000). Conception of the instructional technology field [on-line]. Retrieved from http://www.personal.psu.edu/faculty/s/j/sjm256/portfolio/professional/Candidacy/ISDposition.pdf.

Saiz-Manzanares, M. C., Escolar-Llamazares, M. C., and González A. A. (2020). Effectiveness of Blended Learning in Nursing Education. International Journal of Environmental Research and Public Health, 17, 1589.

Sapeerak, S. (2016). From Electronic-Learning to Ubiquitous-learning from Electronic-Learning to Ubiquitus-learning. SDU Res. J, 12(1), 1-5.

Sheikhaboumasoudi, R., Bagheri, M., Hosseini,S, A., Ashouri, E., & Elahim, N. (2018). Improving Nursing Students' Learning Outcomes in Fundamentals of Nursing Course through Combination of Traditional and e-Learning Methods. Iran J Nurs Midwifery Res, 23(3), 217–221.

United Nations. (2012). The Sustainable Development Goals (SDGs). Retrieved from https://www.undp.org/content/undp/en/home/sustainable-development-goals/background/.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-09-17