การสำรวจเป้าหมายชีวิตของนักศึกษาพยาบาลทั่วประเทศ

ผู้แต่ง

  • ผลิดา หนุดหละ อาจารย์ประจำ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • ศิริมาศ ภูมิไชยา อาจารย์ประจำ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • พิศมัย บุติมาลย์ อาจารย์ประจำ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • ปิยะนุช จิตตนูนท์ รองศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

คำสำคัญ:

เป้าหมายในชีวิต, นักศึกษาพยาบาล, สถาบันพระบรมราชชนก, สถาบันอุดมศึกษา

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณแบบสำรวจ เพื่อศึกษาเป้าหมายในชีวิตของนักศึกษาพยาบาลในประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 1- 4 จำนวน 459 คน ของสถาบันการศึกษาที่ได้รับการรับรองจากสภาการพยาบาล ทั้งในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข และสถาบันอุดมศึกษา กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป และ 2) แบบประเมินเป้าหมายในชีวิตสำหรับเยาวชนไทย ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน และตรวจสอบความเที่ยงของแบบประเมินเป้าหมายในชีวิตสำหรับเยาวชนไทย ได้ค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค .92 วิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลโดยสถิติบรรยาย ความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยเป้าหมายในชีวิตด้วยการทดสอบที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว

          ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเป้าหมายในชีวิตโดยรวมอยู่ในระดับสูงมาก เมื่อเปรียบเทียบตามภูมิภาค พบว่า คะแนนเป้าหมายในชีวิตไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อแยกตามสังกัด พบว่า นักศึกษาพยาบาลสังกัดสถาบันพระบรมราชชนกมีคะแนนเฉลี่ยเป้าหมายในชีวิตสูงกว่านักศึกษาพยาบาลสังกัดสถาบันอุดมศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างชั้นปี พบว่า คะแนนเป้าหมายในชีวิตของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 สูงกว่านักศึกษาชั้นปีที่ 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05)

          จากผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า นักศึกษาพยาบาลในประเทศไทยมีคะแนนเป้าหมายในชีวิตอยู่ระดับสูงมาก ดังนั้นผู้ที่เกี่ยวข้องควรสนับสนุนและกำหนดนโยบายหรือแนวทางการจัดกิจกรรม เพื่อการพัฒนาและส่งเสริมเป้าหมายในชีวิตของนักศึกษาพยาบาลอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้คงไว้ซึ่งคะแนนเป้าหมายในชีวิตในระดับที่สูงมากต่อไป

References

กาญจน์สุนภัส บาลทิพย์ และบุญโรม สุวรรณพาหุ. (2562). รายงานการวิจัยการพัฒนาเครื่องมือวัดเป้าหมายชีวิตของเยาวชนไทย. (รายงานการวิจัย). สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

กาญจน์สุนภัส บาลทิพย์, อุษณีย์ เพชรรัชตะชาติ, ศิริวรรณ พิริยคุณธร, นฤมล ติระพัฒน์, และปราณี เลี่ยมพุทธทอง. (2559) การพัฒนารูปแบบการใช้แนวคิดเป้าหมายในชีวิตและปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพแบบองค์รวมของวัยรุ่นไทย. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 36(3), 111-30.

กมลชนก ทองเอียด และเดือนนภา ไชยพรหม. (2561). ความฉลาดทางอารมณ์และความเครียดของนักศึกษาพยาบาลคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี. วารสารราชภัฏสุราษฎร์ธานี, 5(2), 214-32.

ขวัญตา บาลทิพย์ และสิริลักษณ์ จันทร์มะ. (2556). กระบวนการสร้างเป้าหมายในชีวิตของเยาวชนไทยที่มีชีวิตอยู่กับเอชไอวี. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 33(3),1-15.

ขวัญตา บาลทิพย์, อุษณีย์ เพชรรัชตะชาติ, ศิริวรรณ พิริยคุณธร, ปราณี เลี่ยมพุทธทอง และนฤมล ติระพัฒน์ (2558). การใช้แนวคิดเป้าหมายในชีวิตและปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพแบบองค์รวมของวัยรุ่นไทย. สงขลา: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

ธนพล บรรดาศักดิ์, กนกอร ชาวเวียง, และนฤมล จันทรเกษม. (2560). ความสุขในการเรียนรู้ของนักศึกษาพยาบาล. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 5(1), 357-69.

เบญจวรรณ วงศ์ปราชญ์. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดและการเผชิญความเครียดของนักเรียนพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก. วารสารพยาบาลทหารบก, 19(2), 201-10.

ปานทิพย์ ปูรณานนท์. (2555). รูปแบบการเรียนรู้ของนักศึกษาพยาบาล. วารสารพยาบาล, 61(2), 11-17.

พัชรินทร์ นินทจันทร์, ทัศนา ทวีคูณ, จริยา วิทยะศุภรม และพิศสมัย อรทัย. (2554). ความแข็งแกร่งในชีวิตและความเครียดของนักศึกษาพยาบาลโรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 25(1), 1-13.

พูลสุข เจนพานิชย์ วิสุทธิพันธ์ และพรศรี ดิสรเตติวัตน์. (2558). รูปแบบการเรียนรู้ของนักศึกษาพยาบาล โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 25(1), 70-82.

ภาวรัตน์ ผาสุกสถาพร, กนิษฐา จำรูญสวัสดิ์, สุธรรม นันทมงคลชัย และศุภชัย ปิติกุลตัง. (2553). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตของวัยรุ่นตอนต้น จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารสาธารณสุขศาสตร์, 40(1), 29-39.

มณี อาภานันทิกุล, พรรณวดี พุธวัฒนะ และจริยา วิทยะศุภร. (2554). ภาวะสุขภาพและการปฏิบัติตัวด้านสุขภาพของนักศึกษาพยาบาลไทย. วารสารสภาการพยาบาล, 26(4), 123-136.

วรรณณิศา ปลอดโปร่ง. (2018). ปัจจัยที่ส่งผลต่อเป้าหมายในชีวิตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มศว, 13(1), 235-48.

สินาพร วิทยาวนิชชัย, อรพินทร์ ชูชม และอัจศรา ประเสร็ฐสิน, (2562). การศึกษาอัตลักษณ์แห่งตนและอัตลักษณ์ทางวิชาชีพของนักศึกษาพยาบาล. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 13(3), 125-36.

สิริทรัพย์ สีหะวงษ์, ณิชกานต์ ฝูงดี, ณัฐธิดา ยานะรมย์, ณัฐนรีน้อยนาง, ณัฐมล อาไนย์, ตุลาภรณ์ บุญเชิญ, ทริกา จอดนอก, ทัตติยา สุริสาร และธัญญาเรศ พ่อยันต์. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเครียดของนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัย อุบลราชธานี. วารสาร มฉก.วิชาการ, 21(42), 93-106.

สืบตระกูล ตันตลานุกุล และปราโมทย์ วงสวัสดิ์. (2560). ความเครียดและการจัดการความเครียดของนักศึกษาพยาบาล.วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์, 9(1), 81-92.

อมรรัตน์ ศรีคำสุข ไซโตะ, วิภาพร วรหาญ และวิพร เสนารักษ์. (2554). ความสุขของนักศึกษาพยาบาลหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.วารสารพยาบาลศาสตร์และสุขภาพ, 34(2), 70-79.

อ้อยทิพย์ บัวจันทร์, ธมลวรรณ สวัสดิ์สิงห์, ณัฐปภัสญ์ นวลสีทอง และเทพไทย โชติชัย. (2562). ความแข็งแกร่งในชีวิตและความเครียดของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัย ราชภัฏชัยภูมิ. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 6(4), 269-81.

Balthip Q. (2010). Achieving harmony of mind: a grounded theory study of people living with HIV/AIDS in the Thai context. (Unpublished doctoral dissertation). Massey University, Palmerston North, New Zealand.

Balthip, Q., Petchruschatachart, U., Piriyakoontorn, S. & Boddy, J. (2013). Achieving Peace and Harmony in Life: Thai Buddhists Living with HIV/AIDS. International Journal of Nursing Practice, 19(Suppl. 2), 7-14.

Balthip, Q. & Purnell, M. (2014). Pursuing meaning and purpose in life among Thai adolescents living with HIV: A grounded theory study. Journal of the Association of Nurses in AIDS Care, 25(4), e27-38.

Brassai, L., Piko, B. F., & Steger, M. F. (2011). Meaning in life: Is it a protective factor for adolescents’ psychological health?. International journal of behavioral medicine, 18(1), 44-51.

Bronk, K.C., Hill, P. L., Lapsley, D. K., Talib, T. L., & Finch, H. (2009). Purpose, hope, and life satisfaction in three age groups. The Journal of Positive Psychology, 4(6), 500-510.

Bronk, K. C., Holmes Finch, W., & Talib, T. L. (2010). Purpose in life among high ability adolescents. High Ability Studies, 21(2), 133-145.

Bronk, K. C., (2014). Purpose in Life: A Critical Component of Optimal Youth Development. New York: Springer Publishing Company.

Barnum, B. S. (2006). Spirituality in nursing: From traditional to new age. New York: Springer Publishing Company.

Burrow, A. L., Summer, R., & Netter, M. (2014). Purpose in Adolescence. New York: ACT for Youth Center of Excellence.

Chiu, L., Emblen, J. D., Van Hofwegen, L., Sawatzky, R., & Meyerhoff, H. (2004). An integrative review of the concept of spirituality in the health sciences. Western journal of nursing research, 26(4), 405-28.

Gonzalez, L. M., Stein, G. L., Shannonhouse, L. R., & Prinstein, M. J. (2012). Latina/o adolescents in an emerging immigrant community: A qualitative exploration of their future goals. Journal for Social Action in Counseling & Psychology, 4(1), 83-102.

Hill, P. L., Burrow, A. L., O’Dell, A. C., & Thornton, M. A. (2010). Classifying adolescents’ conceptions of purpose in life. The Journal of Positive Psychology, 5(6), 466-73.

Malin, H., Reilly, T. S., Quinn, B., & Moran, S. (2014). Adolescent purpose development: Exploring empathy, discovering roles, shifting priorities, and creating pathways. Journal of Research on Adolescence, 24(1), 186-199.

Park, J., & Baumeister, R. F. (2017). Meaning in life and adjustment to daily stressors. The Journal of Positive Psychology, 12(4), 333-41.

Rainey, L. (2014). The search for purpose in life: An exploration of purpose, the search process, and purpose anxiety. (Master of Applied Positive Psychology (MAPP) Capstone Projects. 60). University of Pennsylvania. Retrieved from https://repository.upenn.edu/cgi/viewcontent.cgi?article=1061&context=mapp_capstone

Singh AP, Dangmei J. (2016). Understanding the generation Z: the future workforce. South-Asian Journal of Multidisciplinary Studies, 3(3), 1-5.

Shapka, J. D., Domene, J. F., & Keating, D. P. (2012). Trajectories of Educational Aspirations through High School and beyond: A Gendered Phenomenon?. Canadian Journal of Education, 35(1), 239-258.

Steinberg L. (1993). Adolescence. (3rd ed). New York: McGraw-Hill, Inc.

Townsend, MC. (2011). Essentials of psychiatric mental health nursing: concepts of care in evidence-base practices (5th ed.). Philadelphia: F. A. Davis Company.

Williams, A. (2003). How to… Write and analyse a questionnaire. Journal of orthodontics, 30(3), 245-252.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-18