การสร้างความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการที่มีต่อเครื่องหมายรับรองมาตรฐาน การท่องเที่ยวไทย

ผู้แต่ง

  • ปริญญา นาคปฐม อาจารย์ประจำ วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • กฤษฏิพัทธ์ พิชญะเดชอนันต์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • ภัสสริน ผลิตนนท์เกียรติ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • ศิวพร คุณภาพดีเลิศ อาจารย์ประจำ วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

การสร้างความเชื่อมั่น, ผู้ประกอบการ, เครื่องหมายรับรองมาตรฐานการท่องเที่ยวไทย

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลทั่วไปของสถานประกอบการที่ได้รับเครื่องหมายรับรองมาตรฐานการท่องเที่ยวไทย 2) ศึกษาความต้องการของสถานประกอบการที่ได้รับเครื่องหมายรับรองมาตรฐานการท่องเที่ยวไทย และ 3) วิเคราะห์แนวทางการสร้างความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการที่มีต่อเครื่องหมายรับรองมาตรฐานการท่องเที่ยวไทย โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ จากแหล่งข้อมูลปฐมภูมิ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกผ่านแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างด้วยข้อคำถามปลายเปิด โดยมีการคัดเลือกแบบสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจากสถานประกอบการที่ได้รับเครื่องหมายรับรองมาตรฐานการท่องเที่ยวไทย ประจำปี พ.ศ. 2560 และ 2561 จำนวน 172 แห่ง รวมทั้งการสนทนากลุ่มร่วมกับผู้ทรงคุณวุฒิ และจากแหล่งข้อมูลทุติยภูมิ จากรายงานประจำปี งานวิจัย วารสารวิชาการ และเอกสารที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย ผลการศึกษาพบว่าสถานประกอบการที่ได้รับเครื่องหมายรับรองมาตรฐานการท่องเที่ยวไทย มีความต้องการรับการส่งเสริมจากหน่วยงานภาครัฐ เพื่อพัฒนาศักยภาพของสถานประกอบการ แบ่งออกเป็น 7 ประเด็น ได้แก่ การประชาสัมพันธ์, การสร้างเครือข่าย, งบประมาณ, การพัฒนาบุคลากร, การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน, สิทธิประโยชน์ และคุณค่าของการได้รับเครื่องหมายรับรองมาตรฐานการท่องเที่ยวไทย

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา, สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยว. (2553). หลักเกณฑ์และเงื่อนไขการรับรองสถานประกอบการตามมาตรฐานการท่องเที่ยวไทย. กรุงเทพฯ: กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา, กรมการท่องเที่ยว. (2557). เอกสารพิธีมอบเครื่องหมายรับรองมาตรฐานการท่องเที่ยวไทย ประจำปี พ.ศ. 2555-2556. สืบค้นจาก https://secretary.mots.go.th/ewtadmin/ewt/strategy/download/article/article_20170509103148.pdf

ขจรศักดิ์ บัวระพันธ์. (2554). วิจัยเชิงคุณภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: คอมม่าดีไซน์ แอนด์พริ้นท์.

จีระนันท์ ทองสมัคร, รุ่งรวี จิตภักดี และสมนึก เอื้อจิระพวษ์พันธ์. (2556). การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ : ทิศทางของการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย, 8(2), 91-140.

ทวีศักดิ์ นพเกษร. (2548). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ เล่ม 1. นครราชสีมา: โชคเจริญ มาร์เก็ตติ้ง.

ปริญญา นาคปฐม, ฤษฏิพัทธ์ พิชญะเดชอนันต์, ประสิทธิ์ชัย อักษรนิตย์, บุตรี ถิ่นกาญจน์ และวรรณวิภาหรูสกุล. (2562). การวิเคราะห์ยุทธศาสตร์องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของประเทศไทย เพื่อพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 27(54), 246-273.

พงศ์สันต์ สุวรรณะชฏ และทรรษนีย์ ลี้ตระกูล. (2551). มาตรฐานที่พักเพื่อการท่องเที่ยวไทย.วารสารวิชาการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สจล, 6, 31-46.

ยุทธศักดิ์ สุภสร. (2563). การนำเสนอทิศทาง การส่งเสริมการท่องเที่ยว ของ ททท. ปี 2563. สืบค้นจาก https://www.tatreviewmagazine.com/article/tourism-direction-2020/

ศูนย์วิจัยด้านการตลาดการท่องเที่ยว. (2563). คาดการณ์แนวโน้มสถานการณ์ท่องเที่ยว. TAT REVIEW MAGAZINE, 6(2), 35-41.

เอื้อมพร หลินเจริญ. (2555). เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ. วารสารการวัดผลการศึกษามหาวิทยาลัย มหาสารคาม, 17(1), 17-29.

Ahmed, J.U. (2010). Documentary research method: new dimensions. Indus Journal of Management & Social Science, 4(1), 1-14.

Brudvig S. (2015). Consumer-based brand trust scales: validation and assessment. Revolution in Marketing: Market Driving Changes Springer, Cham, 17-21. doi:10.1007/978-3-319-11761-4_12

Choovanichchannona, C. (2015). Satisfaction in Thai Standard of Tourism Quality. Procedia – Social and Behavioral Sciences, 197, 2110-2114.

Huang, H. (2019). The Tourism Industry Development Strategy in Bangkok of Thailand. (Master’s Thesis). Siam University, Bangkok.

Nongsiej, P. & Shimray, S., R. (2017). The Role of Entrepreneurship in Tourism Industry: An Overview. Retrieved from https://www.researchgate.net/publication/316240958_The_Role_of_Entrepreneurship_in_Tourism_Industry_An_Overview

Queensland Tourism Industry Council. (2020). Quality Tourism Accreditation. Retrieved from https://www.qtic.com.au/industry-development/accreditation/qtf/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-16