ผลของโปรแกรมอาหารต่อการลดอาการปวดและความไม่สุขสบาย ในสตรีที่มีอาการปวดประจำเดือน

ผู้แต่ง

  • รัชนีกร สันติธรรม อาจารย์ประจำ คณะพยาบาลศาสตร์แมคคอร์มิค มหาวิทยาลัยพายัพ จังหวัดเชียงใหม่

คำสำคัญ:

โปรแกรมอาหาร, อาการปวดประจำเดือน, ความไม่สุขสบายขณะที่มีประจำเดือน

บทคัดย่อ

          อาการปวดประจำเดือนในสตรีวัยเจริญพันธุ์อาจทำให้เกิดความไม่สุขสบาย และเกิดผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน และพบว่าการรับประทานอาหารเป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งเสริมให้เกิดการสร้างพรอสต้าแกลนดิน ซึ่งทำให้เกิดอาการปวดและความไม่สุขสบายขณะมีประจำเดือน ดังนั้นการรับประทานอาหารที่ช่วยลดการสร้าง พรอสต้าแกลนดิน อาจส่งผลต่อการลดอาการปวดและความไม่สุขสบายขณะมีประจำเดือนได้

          การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) เปรียบเทียบอาการปวดประจำเดือนและความไม่สุขสบายของสตรีที่มีอาการปวดประจำเดือนระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม2) เปรียบเทียบอาการปวดประจำเดือนและความไม่สุขสบายของสตรีที่มีอาการปวดประจำเดือนภายในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมก่อนและหลังรับประทานอาหารตามโปรแกรมอาหาร กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาพยาบาลสตรีที่มีอาการปวดประจำเดือน คัดเลือกตามเกณฑ์ที่กำหนดโดยวิธีสุ่มอย่างง่ายจำนวน 64 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 32 คน กลุ่มทดลองจะรับประทานอาหารตามปกติในรอบประจำเดือนที่ 1 และรับประทานอาหารตามโปรแกรมอาหารในรอบประจำเดือนที่ 2 และ3 ส่วนกลุ่มควบคุมจะรับประทานอาหารตามปกติทั้ง 3 รอบประจำเดือน รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความปวดด้วยเครื่องมือ VRS (Visual  Rating  Scale) และแบบประเมินความไม่สุขสบายในขณะที่มีประจำเดือน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ Independent t-test และ Repeated measure of ANOVA

          ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มทดลองภายหลังได้รับโปรแกรมอาหารมีคะแนนเฉลี่ยของอาการปวดประจำเดือนและความไม่สุขสบายในขณะที่มีประจำเดือนน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ    (p<.001) และ (p< .001)  ภายในกลุ่มทดลองภายหลังได้รับประทานอาหารตามโปรแกรมอาหารมีคะแนนเฉลี่ยของอาการปวดประจำเดือนและความไม่สุขสบายน้อยกว่าก่อนรับประทานอาหารตามโปรแกรมอาหารอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) และ (p<.05) และภายในกลุ่มควบคุมมีคะแนนเฉลี่ยของอาการปวดประจำเดือนและความไม่สุขสบายก่อนและหลังการทดลองไม่แตกต่างกัน ผลการศึกษาครั้งนี้สามารถใช้เป็นแนวปฏิบัติแก่สตรีวัยเจริญพันธุ์ที่มีอาการปวดประจำเดือนและความไม่สุขสบายขณะมีประจำเดือน

References

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. (2002). ปวดประจำเดือน. สืบค้นจาก http://www.dmh.go.th/news/view.asp?id

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.(2555). กลไกการเปลี่ยนน้ำตาลกลูโคสเป็นไขมันไตรกลีเซอไรด์. สืบค้นจาก http://www.sc.mahidol.ac.th>webboard>view

พลลพัฏฐ์ ยงฤทธิปกรณ์. (2559). การวินิจฉัยและการรักษาอาการปวดประจำเดือนชนิดปฐมภูมิ. วารสารเทคนิคการแพทย์และกายภาพบำบัด, 28(2), 112 – 119.

เมธรุจี ทวีสุขศิริ และ ปัญจภรณ์ วาลีประโคน. (2556). กลุ่มอาการอารมณ์ผิดปกติก่อนมีประจำเดือนในผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่แผนกผู้ป่วยนอกจิตเวชโรงพยาบาลรามาธิบดี. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 58(2), 165-174.

วารุณี เพไร และ ภัทรพร อรัณยภาค. (2555). การศึกษาความชุกของการปวดประจำเดือนชนิดปฐมภูมิ พฤติกรรมการจัดการตนเองและความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยบางประการกับการปวดประจำเดือนชนิดปฐมภูมิ ของนักศึกษามหาวิทยาลัยสยาม (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ : สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยสยาม.

Bagga, D., Ashley, J. M., & Geffrey, S. P. (1995). Effects of a very low fat, high fiberdiet on serum hormones and menstrual function. Implication for breast cancer prevention. Cancer, 76(12), 2491–2496. doi: 10.1002/1097-0142(19951215)76:12<2491:aid-cncr 28207 61213>3.0.co;2-r

Bajalan, Z., Alimoradi, Z., & Moafi, F. (2019). Nutrition as a potential factor of primary dysmenorrhea: A systematic review of observational studies. Gynecologic and Obstetric Investigation, 84, 209-224.

Banikarim, C., Chacko, M. R., &Kelder, S. H. (2002). Prevalence and Impactof dysmenorrhea on Hispanic female adolescents. Archives of Pediatrics and Adolescent Medicine, 154(12), 1226–1229. doi:10.1001/archpedi.154.12.1226

Barnard, N. D., Scialliet, A. R., Hurlock, D., & Bertron, P. (2000). Diet and sex-hormone binding globulin, dysmenorrhea, and premenstrual symtoms. Obstetrics & Gynecology, 95(2), 245-249. doi:10.1016/s0029-7844(99)00525-6

Castracane, V. D., & Jordan, V. C. (1975). The effect of estrogen and progesterone on uterine prostaglandin biosynthesis in the ovariectomized rat. Biology of Reproduction, 13(5), 587–596.doi.org/10.1095/biolreprod13.5.587

Dawood, Y. M. (2008). Dysmenorrhea. Retrieved from http://www.glowm.com/section-view/heading/Dysmenorrhea/..../9

Fang, H., Tong, W., Shi, L. M., Blair, R., Perkins, R., Branham, W., Hass, B. S., Xie, Q., Dial, S. L., Moland, C. L., & Sheehan, D. M. (2001). Structure – activity relationships for a large diverse set of natural, synthetic, and environmental estrogens. Chemical Research in Toxicology, 14(3), 280–294. doi: 10.1021/tx000208y

Grandi, G., Ferrari, S., Xholli, A., Cannoletta, M., Palma, F., Romani, C. Volpe, A., & Cagnacci, A. (2012). Prevalence of menstrual pain in young women:Whatisdysmenorrhea? Journal of Pain Research, 5, 169–174. doi: 10.2147/JPR.S30602

Kolcaba, K. (2003). Comfort theory and practice a vision for holistic health care and research. New York: Springer publishing company.

Lundstrom, V., & Green, K. (1978). Endogenous levels of prostagland in F2a and its main metabolites in plasma and endometrium of normal and dysmenorrheic women. AJOG, 130(6), 640-646.

Mahvash, N., Eidy, A., Mehdi, K., Zahra, M.T., Mani, M., & Shahla, H. (2012). The effect of physical activity on primary dysmenorrhea of female university students. World Applied Sciences Journal, 17(10), 1246 – 1252.

Monday, I., Anthony, P., Olunu, E., Otohinoyi, D., Abiodun, S., Owolabi, A., Mobolaji, B., & Fakoya, A. O. J. (2019). Prevalence and correlation between diet and dysmenorrhea among high School and college students in Saint Vincent and Grenadines. Journal of Medical Sciences, 7(6), 920-924.

Najafi, N., Khalkhali, H., Tabrizi, F. M., & Zarrin, R. (2018). Major diet patterns in relation to menstrual pain: A nested case control study. BMC Women’s Health, 18, 69. doi.0rg/ 10.1186/s12905-018-0558-4

Physicians Committee for Responsible Medicine. (2007). Using foods against menstrual pain. Retrieved from https://www.pcrm.org/good-nutrition/nutrition-information/using-foods-against-menstrual-pain

Polit , D.F., & Hungler , B.P.,(1999). Nursing Research : Principles and Methods. (6 th ed.). Philadelphia:J.B.Lippincott.

Polit , D. F., & Hungler , B. P. (1999). Nursing Research : Principles and Methods. (6 th eds.). Philadelphia: J. B. Lippincott.

Saldanha, C. J., Duncan, K. A., & Walters, B. J. (2009). Neuroprotective actions of brain aromatase. Frontiers in Neuroendocrinology, 30, 106–118. doi.org/10.1016/j.yfrne.2009.04.016

Unsal, A., Ayranci, U., Tozun, M., Arslan, G., & Calik, E. (2010). Prevalence of dysmenorrhea and its effect on quality of life among a group of female university students. Upsala journal of medical sciences, 115(2), 138–145. doi:10.3109/03009730903457218

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-18